สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (27 ก.พ.) เนื่องจากแรงซื้อทำกำไร หลังจากที่ราคาร่วงลงอย่างหนักแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์เมื่อวันพฤหัสบดี ขณะที่นักลงทุนมองว่า ราคาน้ำมันที่ลดลงกำลังส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมพลังงานลดการลงทุนในการผลิตน้ำมัน
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ปรับตัวขึ้น 1.59 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 49.76 ดอลลาร์/บาร์เรล สำหรับตลอดสัปดาห์ ลดลง 2.1% และเพิ่มขึ้น 3.2% ในเดือนก.พ
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ดีดขึ้น 2.53 ดอลลาร์ หรือ 4.2% ปิดที่ 62.58 ดอลลาร์/บาร์เรล และเพิ่มขึ้น 3.9% ในรอบสัปดาห์ ขณะที่ตลอดทั้งเดือน สัญญาเบรนท์พุ่งขึ้น 18% มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2552
ทั้งนี้ หลังจากที่ลดลงในช่วงตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา สัญญาน้ำมันดิบก็กลับมาปรับตัวขึ้นได้เป็นครั้งแรกในเดือนก.พ. โดยเฉพาะสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่พุ่งสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี
ความกังวลเกี่ยวกับอุปทานที่มีอยู่สูงเกินไปได้ฉุดราคาน้ำมันให้ร่วงลงเมื่อวันพฤหัสบดี หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นกว่า 8 ล้านบาร์เรลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ด้านสัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (27 ก.พ.) หลังจากที่สหรัฐเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ที่ลดลงจากประมาณการเบื้องต้น ขณะที่นักลงทุนเชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะยังไม่รีบคุมเข้มนโยบายการเงิน
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 3.00 ดอลลาร์ หรือ 0.25% ปิดที่ระดับ 1,213.10 ดอลลาร์/ออนซ์
ขณะที่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 81.72 จุด หรือ 0.45% ปิดที่ 18,132.70 ดัชนี S&P 500 ลดลง 6.24 จุด หรือ 0.3% ปิดที่ 2,104.50 จุด และดัชนี Nasdaq ลบ 24.36 จุด หรือ 0.5% ปิดที่ 4,963.53 จุด
อย่างไรก็ดี ตลอดทั้งเดือนก.พ. ดัชนีหุ้นสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 5.6% ซึ่งมากที่สุดในรอบ 2 ปี ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้น 5.5% ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2554 พร้อมทำนิวไฮได้ถึง 4 ครั้งในเดือนนี้ และ Nasdaq ทะยาน 7.1% ในเดือนก.พ.
โดยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้นหลังจากที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดจะยังไม่รีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยนางเยลเลนได้กล่าวในระหว่างการเข้าแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎร ว่าคณะกรรมการเฟดมองว่าขณะนี้ยังไม่มีแนวโน้มที่ภาวะเศรษฐกิจจะหนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด อย่างน้อยในช่วงการประชุม 2 ครั้งข้างหน้า และเฟดจะพิจารณาปัจจัยที่หลากหลายทางเศรษฐกิจเพื่อประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในขณะนี้เงินเฟ้อและการขยายตัวของค่าแรงยังต่ำเกินไปสำหรับการที่ธนาคารจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย
สำหรับในวันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว โดยระบุว่ามีการขยายตัว 2.2% ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 2.6%
ขณะที่ผลสำรวจของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐขั้นสุดท้ายของเดือนก.พ.ขยับขึ้นสู่ระดับ 95.4 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 93.6 แต่ต่ำกว่าระดับ 98.1 ของเดือนม.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนม.ค.อยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2004 โดยได้แรงหนุนจากแนวโน้มการจ้างงานและค่าแรงที่ดีขึ้น
ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 94.0 ในเดือนก.พ.
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ปรับตัวขึ้น 1.59 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 49.76 ดอลลาร์/บาร์เรล สำหรับตลอดสัปดาห์ ลดลง 2.1% และเพิ่มขึ้น 3.2% ในเดือนก.พ
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย.ดีดขึ้น 2.53 ดอลลาร์ หรือ 4.2% ปิดที่ 62.58 ดอลลาร์/บาร์เรล และเพิ่มขึ้น 3.9% ในรอบสัปดาห์ ขณะที่ตลอดทั้งเดือน สัญญาเบรนท์พุ่งขึ้น 18% มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2552
ทั้งนี้ หลังจากที่ลดลงในช่วงตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา สัญญาน้ำมันดิบก็กลับมาปรับตัวขึ้นได้เป็นครั้งแรกในเดือนก.พ. โดยเฉพาะสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่พุ่งสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี
ความกังวลเกี่ยวกับอุปทานที่มีอยู่สูงเกินไปได้ฉุดราคาน้ำมันให้ร่วงลงเมื่อวันพฤหัสบดี หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นกว่า 8 ล้านบาร์เรลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ด้านสัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (27 ก.พ.) หลังจากที่สหรัฐเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ที่ลดลงจากประมาณการเบื้องต้น ขณะที่นักลงทุนเชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะยังไม่รีบคุมเข้มนโยบายการเงิน
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 3.00 ดอลลาร์ หรือ 0.25% ปิดที่ระดับ 1,213.10 ดอลลาร์/ออนซ์
ขณะที่ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 81.72 จุด หรือ 0.45% ปิดที่ 18,132.70 ดัชนี S&P 500 ลดลง 6.24 จุด หรือ 0.3% ปิดที่ 2,104.50 จุด และดัชนี Nasdaq ลบ 24.36 จุด หรือ 0.5% ปิดที่ 4,963.53 จุด
อย่างไรก็ดี ตลอดทั้งเดือนก.พ. ดัชนีหุ้นสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 5.6% ซึ่งมากที่สุดในรอบ 2 ปี ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้น 5.5% ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2554 พร้อมทำนิวไฮได้ถึง 4 ครั้งในเดือนนี้ และ Nasdaq ทะยาน 7.1% ในเดือนก.พ.
โดยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้นหลังจากที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดจะยังไม่รีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยนางเยลเลนได้กล่าวในระหว่างการเข้าแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎร ว่าคณะกรรมการเฟดมองว่าขณะนี้ยังไม่มีแนวโน้มที่ภาวะเศรษฐกิจจะหนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด อย่างน้อยในช่วงการประชุม 2 ครั้งข้างหน้า และเฟดจะพิจารณาปัจจัยที่หลากหลายทางเศรษฐกิจเพื่อประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในขณะนี้เงินเฟ้อและการขยายตัวของค่าแรงยังต่ำเกินไปสำหรับการที่ธนาคารจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย
สำหรับในวันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว โดยระบุว่ามีการขยายตัว 2.2% ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 2.6%
ขณะที่ผลสำรวจของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐขั้นสุดท้ายของเดือนก.พ.ขยับขึ้นสู่ระดับ 95.4 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 93.6 แต่ต่ำกว่าระดับ 98.1 ของเดือนม.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนม.ค.อยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2004 โดยได้แรงหนุนจากแนวโน้มการจ้างงานและค่าแรงที่ดีขึ้น
ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 94.0 ในเดือนก.พ.