ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แถลงเปิดสำนวนคดีถอดถอนอดีต 38 ส.ว.กรณีร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. โดยมีนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แจ้งข้อกล่าวหาต่อที่ประชุมฯ ว่า อดีต ส.ว.ทั้ง 38 คนถูกชี้มูลความผิดใน 4 กรณี ประกอบด้วย กรณีที่ 1 ร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระที่ 3 กรณีที่ 2 ร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1-วาระ 3 กรณีที่ 3 ร่วมลงมือเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 และวาระ 3 กรณีที่ 4 ร่วมลงชื่อเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญและลงมติในวาระ 1 และวาระ 2
ทั้งนี้ ความรับผิดของอดีต ส.ว.เป็นความรับผิดทางการเมือง ไม่ใช่อาญาหรือแพ่ง เรื่องที่ต้องชั่งน้ำหนักคือพฤติกรรมที่ส่อใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยเฉพาะการลงมติในวาระ 1-วาระ 3 หรือลงมติในวาระใดวาระหนึ่ง เป็นไปไม่ได้ว่า ส.ว.ที่ร่วมลงชื่อในร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอ ไม่ใช่ร่างรัฐธรรมนูญเดิมหรือเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่มีการสอดไส้
ด้านนายกฤช อาทิตย์แก้ว ผู้ถูกกล่าวหาคนที่ 1 ชี้แจงว่า ประเด็นแรก คือการลงชื่อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อาจไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์มาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่กำหนดให้ผู้ร้องให้ถอดถอนจะต้องมีการลงชื่อพฤติกรรมของผู้ถูกร้อง การกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญและพยานหลักฐานที่เพียงพอต่อการวินิจฉัยของ ป.ป.ช เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับข้อบังคับการประชุมของที่ประชุม สนช.ข้อ 164 แต่เมื่อพิจารณาจากการลงชื่อของผู้ร้องกลับพบว่าไม่ได้มีองค์ประกอบครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ป.ป.ช. และข้อบังคับการประชุมพบเพียงการลงชื่อของผู้ร้องเท่านั้น กอปรกับขนาดของตัวอักษรในการลงชื่อในเอกสารต่างๆ ของผู้ร้อง เช่น การลงชื่อของนายอภิสิทธิ์ มีขนาดไม่เท่ากัน เป็นต้น
ประเด็นที่ 2 คือรายงานสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช.ที่ลงมติชี้มูลความผิดของอดีต ส.ว.ทั้ง 38 คน มิชอบ เพราะมีการลงชื่อของนายภักดี โภธิศิริ ที่พ้นจากการเป็นกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว แต่ยังพบว่ามีการลงชื่อในการไต่สวนและลงมติของกรรมการ ป.ป.ช. ฉะนั้นการที่ สนช.รับสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช.จึงไม่ชอบตั้งแต่ต้น
นอกจากนั้น ยังพบว่ามีการลงชื่อของนางสุภา ปิยะจิตติ ที่ร่วมลงชื่อในมติของกรรมการ ป.ป.ช.ในวันที่ 15 พฤษภาคม 57 ขณะที่มีการประกาศชื่อแต่งตั้งนางสุภาในพระราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 9 ก.ย.57 จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนว่ามติของกรรมการ ป.ป.ช.มิชอบ
ประการที่ 3 ตามมาตรา 130 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ซึ่งระบุว่าถ้อยคำของสมาชิกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการแถลงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียง ลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดไม่สามารนำไปเป็นเหตุในการฟ้องร้องได้ ฉะนั้นกระบวนการในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะไม่สามารถนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องให้ถอนถอดอดีต ส.ว.ทั้ง 38 คนได้
อย่างไรก็ตาม ยังเหลือการอภิปรายของผู้ถูกกล่าวหาอีก 5 คน ก่อนที่จะสิ้นสุดการแถลงเปิดคดีในวันนี้
ทั้งนี้ ความรับผิดของอดีต ส.ว.เป็นความรับผิดทางการเมือง ไม่ใช่อาญาหรือแพ่ง เรื่องที่ต้องชั่งน้ำหนักคือพฤติกรรมที่ส่อใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ โดยเฉพาะการลงมติในวาระ 1-วาระ 3 หรือลงมติในวาระใดวาระหนึ่ง เป็นไปไม่ได้ว่า ส.ว.ที่ร่วมลงชื่อในร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอ ไม่ใช่ร่างรัฐธรรมนูญเดิมหรือเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่มีการสอดไส้
ด้านนายกฤช อาทิตย์แก้ว ผู้ถูกกล่าวหาคนที่ 1 ชี้แจงว่า ประเด็นแรก คือการลงชื่อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อาจไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์มาตรา 61 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่กำหนดให้ผู้ร้องให้ถอดถอนจะต้องมีการลงชื่อพฤติกรรมของผู้ถูกร้อง การกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญและพยานหลักฐานที่เพียงพอต่อการวินิจฉัยของ ป.ป.ช เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับข้อบังคับการประชุมของที่ประชุม สนช.ข้อ 164 แต่เมื่อพิจารณาจากการลงชื่อของผู้ร้องกลับพบว่าไม่ได้มีองค์ประกอบครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ป.ป.ช. และข้อบังคับการประชุมพบเพียงการลงชื่อของผู้ร้องเท่านั้น กอปรกับขนาดของตัวอักษรในการลงชื่อในเอกสารต่างๆ ของผู้ร้อง เช่น การลงชื่อของนายอภิสิทธิ์ มีขนาดไม่เท่ากัน เป็นต้น
ประเด็นที่ 2 คือรายงานสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช.ที่ลงมติชี้มูลความผิดของอดีต ส.ว.ทั้ง 38 คน มิชอบ เพราะมีการลงชื่อของนายภักดี โภธิศิริ ที่พ้นจากการเป็นกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว แต่ยังพบว่ามีการลงชื่อในการไต่สวนและลงมติของกรรมการ ป.ป.ช. ฉะนั้นการที่ สนช.รับสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช.จึงไม่ชอบตั้งแต่ต้น
นอกจากนั้น ยังพบว่ามีการลงชื่อของนางสุภา ปิยะจิตติ ที่ร่วมลงชื่อในมติของกรรมการ ป.ป.ช.ในวันที่ 15 พฤษภาคม 57 ขณะที่มีการประกาศชื่อแต่งตั้งนางสุภาในพระราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 9 ก.ย.57 จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนว่ามติของกรรมการ ป.ป.ช.มิชอบ
ประการที่ 3 ตามมาตรา 130 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ซึ่งระบุว่าถ้อยคำของสมาชิกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการแถลงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียง ลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดไม่สามารนำไปเป็นเหตุในการฟ้องร้องได้ ฉะนั้นกระบวนการในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะไม่สามารถนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องให้ถอนถอดอดีต ส.ว.ทั้ง 38 คนได้
อย่างไรก็ตาม ยังเหลือการอภิปรายของผู้ถูกกล่าวหาอีก 5 คน ก่อนที่จะสิ้นสุดการแถลงเปิดคดีในวันนี้