นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงว่า ธปท.จะนำธนบัตรชนิดราคา 100 บาทแบบใหม่ ออกใช้ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ โดยธนบัตรชนิดราคานี้มุ่งเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงออกแบบให้แสดงถึงพระราชกรณียกิจอันสำคัญของพระองค์
นอกจากนี้ ยังพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงาม และมีเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงที่ทันสมัยมากขึ้น เพื่อให้ประชาชน ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน รวมถึงผู้บกพร่องทางสายตา สามารถตรวจสอบได้โดยง่าย ทั้งด้วยตนเองและด้วยเครื่องจักรนับคัดธนบัตร ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท แบบใหม่ (แบบ 16) มีขนาดและสีเช่นเดียวกับแบบที่ใช้ในปัจจุบัน(แบบ 15) คือ ความกว้าง 72 มิลลิเมตร และความยาว 150 มิลลิเมตร และสีโดยรวมเป็นสีแดง
ทั้งนี้ ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท แบบใหม่นี้ มีลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่สำคัญ ประกอบด้วย ลายน้ำ ลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และตัวเลข "๑๐๐" มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง
ตัวเลขแฝง ลายประดิษฐ์สีทองแดง ภายในมีตัวเลข "100" ซ่อนไว้ ซึ่งมองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตร
หมึกพิมพ์พิเศษสีเหลือบเขียว เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมอง จะเห็นแถวตัวเลข "100" สลับกับลายประดิษฐ์ในแนวตั้ง เป็นสีเหลือบเขียว
แถบฟอยล์ 3 มิติ ผนึกไว้ตามแนวตั้ง ภายในมีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ภายในตราสัญลักษณ์ฯ มีตัวเลข "100" เมื่อพลิกเอียงธนบัตรจะเปลี่ยนเป็นตัวเลข "๑๐๐" และเปลี่ยนสีสะท้อนแสงวาววับ
แถบสีม่วงแดง ฝังในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง โดยมีบางส่วนของแถบสีม่วงแดงปรากฏให้เห็นเป็นระยะที่ด้านหลัง และจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อเปลี่ยนมุมมอง ภายในปรากฏ "100 บาท 100 BAHT" ขนาดเล็กสามารถอ่านได้ทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรขึ้นส่องกับแสงสว่าง
สัญลักษณ์สำหรับผู้บกพร่องทางสายตา เส้นนูนแนวนอนสีแดงเข้มเรียงลดหลั่นกันลงมา นำสู่สัญลักษณ์แจ้งชนิดราคา รูปดอกไม้สีแดงเข้ม 3 ดอก แทนอักษร "H”"ที่ย่อจาก Hundred
ธนบัตรชนิดราคา 100 บาทแบบใหม่นี้ สามารถแลกได้ที่สาขาธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ทั่วประเทศ และธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบันรวมทั้งแบบที่ใช้ก่อนหน้านี้ ยังคงชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงาม และมีเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงที่ทันสมัยมากขึ้น เพื่อให้ประชาชน ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน รวมถึงผู้บกพร่องทางสายตา สามารถตรวจสอบได้โดยง่าย ทั้งด้วยตนเองและด้วยเครื่องจักรนับคัดธนบัตร ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท แบบใหม่ (แบบ 16) มีขนาดและสีเช่นเดียวกับแบบที่ใช้ในปัจจุบัน(แบบ 15) คือ ความกว้าง 72 มิลลิเมตร และความยาว 150 มิลลิเมตร และสีโดยรวมเป็นสีแดง
ทั้งนี้ ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท แบบใหม่นี้ มีลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่สำคัญ ประกอบด้วย ลายน้ำ ลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และตัวเลข "๑๐๐" มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง
ตัวเลขแฝง ลายประดิษฐ์สีทองแดง ภายในมีตัวเลข "100" ซ่อนไว้ ซึ่งมองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง โดยมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตร
หมึกพิมพ์พิเศษสีเหลือบเขียว เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมอง จะเห็นแถวตัวเลข "100" สลับกับลายประดิษฐ์ในแนวตั้ง เป็นสีเหลือบเขียว
แถบฟอยล์ 3 มิติ ผนึกไว้ตามแนวตั้ง ภายในมีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ภายในตราสัญลักษณ์ฯ มีตัวเลข "100" เมื่อพลิกเอียงธนบัตรจะเปลี่ยนเป็นตัวเลข "๑๐๐" และเปลี่ยนสีสะท้อนแสงวาววับ
แถบสีม่วงแดง ฝังในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง โดยมีบางส่วนของแถบสีม่วงแดงปรากฏให้เห็นเป็นระยะที่ด้านหลัง และจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อเปลี่ยนมุมมอง ภายในปรากฏ "100 บาท 100 BAHT" ขนาดเล็กสามารถอ่านได้ทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรขึ้นส่องกับแสงสว่าง
สัญลักษณ์สำหรับผู้บกพร่องทางสายตา เส้นนูนแนวนอนสีแดงเข้มเรียงลดหลั่นกันลงมา นำสู่สัญลักษณ์แจ้งชนิดราคา รูปดอกไม้สีแดงเข้ม 3 ดอก แทนอักษร "H”"ที่ย่อจาก Hundred
ธนบัตรชนิดราคา 100 บาทแบบใหม่นี้ สามารถแลกได้ที่สาขาธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ทั่วประเทศ และธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบันรวมทั้งแบบที่ใช้ก่อนหน้านี้ ยังคงชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย