เปิดแผนเครือข่ายไร้รอยต่อ จ.น่าน 7 มาตรการ พบช่วยผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการ เน้น รพ.ชุมชน และ รพ.สต. ดูแลผู้ป่วยได้เอง อาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ลดการส่งต่อเข้าโรงพยาบาลระดับจังหวัดถึง 50%
วันนี้ (26 ม.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมสภาพปัญหาโรงพยาบาลตามแนวชายแดนและการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ จ.น่าน ว่า การดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิต จ.น่าน มีครบในโรงพยาบาลทุกแห่ง โดยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ 3,188 ราย คิดเป็นร้อยละ 35 แม้จะผ่านเกณฑ์มาตรฐานในการเข้าถึงบริการ แต่พบอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูง ติด 10 อันดับแรกของประเทศ จ.น่าน จึงตั้งเป้าหมายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านจิตเวชเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นและลดอัตราฆ่าตัวตาย รวมถึงให้ผู้ติดสุราได้รับการรักษาเพิ่มขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อเป็นเครือข่ายบริการไร้รอยต่อ ให้เข้าถึงพื้นที่และใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น การหมุนเวียนแพทย์ เป็นต้น โดยกลไกสำคัญคือ กระบวนการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมของแพทย์เชี่ยวชาญและพยาบาลเฉพาะทาง มีแผนปฏิบัติงานที่ครอบคลุมสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ โดยใช้ความร่วมมือของทุกฝ่ายในจังหวัด
ด้าน นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุข จ.น่าน กล่าวว่า สสจ.น่าน กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช และการเตรียมความพร้อมของบุคลากรไว้ ดังนี้ 1. พัฒนามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยทุกระดับ โดยจัดให้มีบริการคัดกรอง การรักษาและฟื้นฟู โดยให้จิตแพทย์ออกหน่วยบริการตรวจรักษาพร้อมเวชภัณฑ์ยารักษาโรคทางจิตเวช 2. บริหารจัดการข้อมูลต่างๆ ร่วมกันระหว่าง สสจ.น่าน และโรงพยาบาล 3. พัฒนาศักยภาพแพทย์จบใหม่เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวช 4. พัฒนาบุคลากรที่ให้บริการด้านจิตเวช และการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติ 1 - 2 เดือนต่อครั้ง และให้พยาบาลจิตเวชใน รพช. ขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์ รพ.น่าน ได้ 24 ชั่วโมง 5. พัฒนาเครือข่ายและการส่งต่อในชุมชนจนถึงสถานบริการทุกระดับ โดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น สร้างเครือข่ายผู้บกพร่องทางจิต 6. ใช้ระบบส่งต่อด้วยระบบสารสนเทศ เช่น ไลน์ อีเมล และ 7. สร้างมาตรการป้องกันเฝ้าระวังร่วมกับชุมชน เช่น กำหนดนโยบายการเลิกเหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติด
“ผลจากการร่วมมือกันทุกฝ่าย ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชและญาติ มีความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึงสถานบริการมากขึ้น โดยในปี 2554 - 2555 ปริมาณครั้งที่ผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาลจังหวัดลดลงกว่าร้อยละ 50 จาก 6,410 ครั้ง ลดลงเหลือ 3,117 ครั้ง ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลดลงจาก 771 ราย ลดลงเหลือ 367 ราย ส่วนการส่งต่อผู้ป่วยก็ลดลงอย่างชัดเจนจาก 78 ราย เหลือเพียง 28 ราย นอกจากนี้ ยังลดการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่ รพ.จิตเวชสวนปรุง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็น รพ. แม่ข่ายของภาคเหนือได้อีกด้วย เนื่องจาก รพ. ต่างๆ ทุกระดับใน จ.น่าน มีศักยภาพดูแลรักษาผู้ป่วยที่ดีขึ้น สามารถเข้ารับบริการได้ตั้งแต่ที่ รพ.สต. นอกจากนี้ ในการบำบัดรักษาผู้เสพยาบ้า พบว่า มีผู้เข้ารับการบำบัดแบบสมัครใจและรับการบำบัดจนครบขั้นตอนมากขึ้นด้วย” นพ.ปิยะ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 ม.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมสภาพปัญหาโรงพยาบาลตามแนวชายแดนและการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ จ.น่าน ว่า การดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิต จ.น่าน มีครบในโรงพยาบาลทุกแห่ง โดยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ 3,188 ราย คิดเป็นร้อยละ 35 แม้จะผ่านเกณฑ์มาตรฐานในการเข้าถึงบริการ แต่พบอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูง ติด 10 อันดับแรกของประเทศ จ.น่าน จึงตั้งเป้าหมายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านจิตเวชเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นและลดอัตราฆ่าตัวตาย รวมถึงให้ผู้ติดสุราได้รับการรักษาเพิ่มขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อเป็นเครือข่ายบริการไร้รอยต่อ ให้เข้าถึงพื้นที่และใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น การหมุนเวียนแพทย์ เป็นต้น โดยกลไกสำคัญคือ กระบวนการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมของแพทย์เชี่ยวชาญและพยาบาลเฉพาะทาง มีแผนปฏิบัติงานที่ครอบคลุมสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ โดยใช้ความร่วมมือของทุกฝ่ายในจังหวัด
ด้าน นพ.ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุข จ.น่าน กล่าวว่า สสจ.น่าน กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช และการเตรียมความพร้อมของบุคลากรไว้ ดังนี้ 1. พัฒนามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยทุกระดับ โดยจัดให้มีบริการคัดกรอง การรักษาและฟื้นฟู โดยให้จิตแพทย์ออกหน่วยบริการตรวจรักษาพร้อมเวชภัณฑ์ยารักษาโรคทางจิตเวช 2. บริหารจัดการข้อมูลต่างๆ ร่วมกันระหว่าง สสจ.น่าน และโรงพยาบาล 3. พัฒนาศักยภาพแพทย์จบใหม่เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวช 4. พัฒนาบุคลากรที่ให้บริการด้านจิตเวช และการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติ 1 - 2 เดือนต่อครั้ง และให้พยาบาลจิตเวชใน รพช. ขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์ รพ.น่าน ได้ 24 ชั่วโมง 5. พัฒนาเครือข่ายและการส่งต่อในชุมชนจนถึงสถานบริการทุกระดับ โดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น สร้างเครือข่ายผู้บกพร่องทางจิต 6. ใช้ระบบส่งต่อด้วยระบบสารสนเทศ เช่น ไลน์ อีเมล และ 7. สร้างมาตรการป้องกันเฝ้าระวังร่วมกับชุมชน เช่น กำหนดนโยบายการเลิกเหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติด
“ผลจากการร่วมมือกันทุกฝ่าย ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชและญาติ มีความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึงสถานบริการมากขึ้น โดยในปี 2554 - 2555 ปริมาณครั้งที่ผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาลจังหวัดลดลงกว่าร้อยละ 50 จาก 6,410 ครั้ง ลดลงเหลือ 3,117 ครั้ง ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลดลงจาก 771 ราย ลดลงเหลือ 367 ราย ส่วนการส่งต่อผู้ป่วยก็ลดลงอย่างชัดเจนจาก 78 ราย เหลือเพียง 28 ราย นอกจากนี้ ยังลดการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่ รพ.จิตเวชสวนปรุง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็น รพ. แม่ข่ายของภาคเหนือได้อีกด้วย เนื่องจาก รพ. ต่างๆ ทุกระดับใน จ.น่าน มีศักยภาพดูแลรักษาผู้ป่วยที่ดีขึ้น สามารถเข้ารับบริการได้ตั้งแต่ที่ รพ.สต. นอกจากนี้ ในการบำบัดรักษาผู้เสพยาบ้า พบว่า มีผู้เข้ารับการบำบัดแบบสมัครใจและรับการบำบัดจนครบขั้นตอนมากขึ้นด้วย” นพ.ปิยะ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่