สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของประชาชนทั่วประเทศเรื่อง ความเป็นห่วง วิตกกังวลของคนไทย ณ วันนี้ โดยสอบถามประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,254 คน ระหว่างวันที่ 9-14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยความเป็นห่วง วิตกกังวลในด้านการเมืองพบว่า เป็นเรื่องการบริหารประเทศของรัฐบาล เสถียรภาพทางการเมืองมากที่สุด ถึงร้อยละ 85.57 เพราะ มีเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข ส่งผลต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่น เหตุระเบิดที่พารากอน เป็นต้น
รองลงมาร้อยละ 78.55 คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาล เพราะหากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น จะต้องเกิดความวุ่นวายอีกครั้ง การไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญของคนบางกลุ่ม และร้อยละ 73.05 คือการทะเลาะเบาะแว้ง ความขัดแย้ง แตกแยกของนักการเมือง เพราะเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังแก้ไม่ได้ นักการเมืองไทยยังมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกอย่างชัดเจน
ส่วนความเป็นห่วง วิตกกังวลในด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 88.92 ระบุว่า ของแพง สินค้าและบริการต่างๆ ขึ้นราคา เพราะประชาชนต้องแบกรับภาระหนักขึ้น ส่งผลต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย รองลงมาร้อยละ 80.54 ระบุ การจ้างงาน เงินเดือน สวัสดิการ ว่างงาน เพราะเป็นเรื่องสำคัญ เกี่ยวกับความอยู่รอด ปากท้องและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในครอบครัว และร้อยละ 79.51 ระบุค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ราคาน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าก๊าซหุงต้ม เพราะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เป็นรายจ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับความเป็นห่วง วิตกกังวลในด้านสังคมอันดับ 1 ร้อยละ 83.25 ระบุภัยสังคมต่างๆ อาชญากรรม ปล้น ฆ่า ข่มขืน เพราะมีข่าวให้เห็นทุกวัน และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น สังคมไทยยังคงเสื่อมโทรม น่าเป็นห่วง รองลงมาร้อยละ 76.32 ระบุพฤติกรรมของวัยรุ่นและเยาวชน เพราะเป็นวัยที่ติดเพื่อน ไม่สนใจการเรียน ชอบมั่วสุม เที่ยวเตร่ ติดยาเสพติด พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแล และร้อยละ 72.01 ระบุการฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ยึดติดวัตถุนิยม ติดเทคโนโลยี เพราะทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างให้ความสำคัญและยึดติดเทคโนโลยี รับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามาก
เมื่อถามว่า ใคร หน่วยงานใดที่ประชาชนคิดว่า จะมาแก้ปัญหาความวิตกกังวลได้ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 87 ระบุ นายกรัฐมนตรี รองลงมาร้อยละ 81.10 คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทหาร และร้อยละ 79.11 ระบุ ทุกคน ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน
รองลงมาร้อยละ 78.55 คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาล เพราะหากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น จะต้องเกิดความวุ่นวายอีกครั้ง การไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญของคนบางกลุ่ม และร้อยละ 73.05 คือการทะเลาะเบาะแว้ง ความขัดแย้ง แตกแยกของนักการเมือง เพราะเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังแก้ไม่ได้ นักการเมืองไทยยังมีการแบ่งพรรคแบ่งพวกอย่างชัดเจน
ส่วนความเป็นห่วง วิตกกังวลในด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 88.92 ระบุว่า ของแพง สินค้าและบริการต่างๆ ขึ้นราคา เพราะประชาชนต้องแบกรับภาระหนักขึ้น ส่งผลต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย รองลงมาร้อยละ 80.54 ระบุ การจ้างงาน เงินเดือน สวัสดิการ ว่างงาน เพราะเป็นเรื่องสำคัญ เกี่ยวกับความอยู่รอด ปากท้องและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในครอบครัว และร้อยละ 79.51 ระบุค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ราคาน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าก๊าซหุงต้ม เพราะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เป็นรายจ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับความเป็นห่วง วิตกกังวลในด้านสังคมอันดับ 1 ร้อยละ 83.25 ระบุภัยสังคมต่างๆ อาชญากรรม ปล้น ฆ่า ข่มขืน เพราะมีข่าวให้เห็นทุกวัน และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น สังคมไทยยังคงเสื่อมโทรม น่าเป็นห่วง รองลงมาร้อยละ 76.32 ระบุพฤติกรรมของวัยรุ่นและเยาวชน เพราะเป็นวัยที่ติดเพื่อน ไม่สนใจการเรียน ชอบมั่วสุม เที่ยวเตร่ ติดยาเสพติด พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแล และร้อยละ 72.01 ระบุการฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ยึดติดวัตถุนิยม ติดเทคโนโลยี เพราะทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างให้ความสำคัญและยึดติดเทคโนโลยี รับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามาก
เมื่อถามว่า ใคร หน่วยงานใดที่ประชาชนคิดว่า จะมาแก้ปัญหาความวิตกกังวลได้ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 87 ระบุ นายกรัฐมนตรี รองลงมาร้อยละ 81.10 คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทหาร และร้อยละ 79.11 ระบุ ทุกคน ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน