คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวันพฤหัสบดี(12ก.พ.) มีมติที่มีเป้าหมายปิดกั้นเส้นทางรายได้ของพวกนักรบรัฐอิสลาม(ไอเอส) ผ่านการลอบขายน้ำมัน โบราณวัตถุและเรียกร้องนานาชาติอย่าจ่ายเงินค่าไถ่ตามคำข่มขู่ของพวกอิสลามิสต์หัวรุนแรงกลุ่มนี้
มตรการนี้เรียกร้องให้ลงโทษบุคคลหรือองค์กรใดก็ตามที่ซื้อขายน้ำมันกับไอเอสและเครือข่ายต่างๆของอัลกออิดะห์ อย่างเช่นกลุ่มอัล-นุสรา ฟรอนต์ ในซีเรีย นอกจากนี้ทางคณะมนตรีฯยังขอให้สมาชิกสหประชาชาติทั้ง 193 ประเทศ ใช้มาตรการต่างๆที่เหมาะสมในการป้องกันการค้าขายทรัพย์สินทางวัฒนธรรมจากอิรักและซีเรียด้วย
ขณะเดียวกันมตินี้ยังเตือนรัฐบาลต่างๆทั่วโลกว่าพวกเขาต้องขัดขวางไม่ให้พวกก่อการร้ายได้ประโยชน์ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากการเรียกค่าไถ่หรือยินยอมทางการเมืองใดๆเพื่อแลกกับการปล่อยตัวประกัน
ในเนื้อหาเบื้องต้นของมติที่ร่างโดยรัสเซีย พุ่งเป้าไปที่การลักลอบการค้าน้ำมันเป็นสำคัญ แต่มันถูกขยายขอบเขตออกไปกว้างขวางกว่าเดิมตามระหว่างการประชุมพิจารณา และครอบคลุมถึงแหล่งที่มารายได้อื่นๆของไอเอสด้วย พร้อมทั้งเจาะจงให้รัฐบาลชาติต่างๆต้องรายงานมาตรการที่นำมาใช้ปราบปรามการลักลอบค้าขายน้ำมันและสกัดแหล่งรายได้อื่นๆของไอเอสภายในเวลา 120 วัน
มาตรการนี้กระตุ้นให้ประเทศต่างๆต้องเพิ่มความพยายามก่อความยุ่งเหยิงแก่เรือหรือยานยนต์ที่ลักลอบบรรทุกน้ำมันเถื่อน และขอให้รายงานต่อคณะกรรมาธิการคว่ำบาตรในกรณีที่มีการตรวจยึดใดๆ และด้วยเหตุนี้มันจึงกลายเป็นแรงกดดันครั้งใหม่ต่อตุรกี ที่ถูกมองในฐานะจุดเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเถื่อน ขณะที่รถบรรทุกเหล่านั้นจะเดินทางกลับอิรักและซีเรียพร้อมกับผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผ่านการกลั่นแล้ว
มตรการนี้เรียกร้องให้ลงโทษบุคคลหรือองค์กรใดก็ตามที่ซื้อขายน้ำมันกับไอเอสและเครือข่ายต่างๆของอัลกออิดะห์ อย่างเช่นกลุ่มอัล-นุสรา ฟรอนต์ ในซีเรีย นอกจากนี้ทางคณะมนตรีฯยังขอให้สมาชิกสหประชาชาติทั้ง 193 ประเทศ ใช้มาตรการต่างๆที่เหมาะสมในการป้องกันการค้าขายทรัพย์สินทางวัฒนธรรมจากอิรักและซีเรียด้วย
ขณะเดียวกันมตินี้ยังเตือนรัฐบาลต่างๆทั่วโลกว่าพวกเขาต้องขัดขวางไม่ให้พวกก่อการร้ายได้ประโยชน์ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากการเรียกค่าไถ่หรือยินยอมทางการเมืองใดๆเพื่อแลกกับการปล่อยตัวประกัน
ในเนื้อหาเบื้องต้นของมติที่ร่างโดยรัสเซีย พุ่งเป้าไปที่การลักลอบการค้าน้ำมันเป็นสำคัญ แต่มันถูกขยายขอบเขตออกไปกว้างขวางกว่าเดิมตามระหว่างการประชุมพิจารณา และครอบคลุมถึงแหล่งที่มารายได้อื่นๆของไอเอสด้วย พร้อมทั้งเจาะจงให้รัฐบาลชาติต่างๆต้องรายงานมาตรการที่นำมาใช้ปราบปรามการลักลอบค้าขายน้ำมันและสกัดแหล่งรายได้อื่นๆของไอเอสภายในเวลา 120 วัน
มาตรการนี้กระตุ้นให้ประเทศต่างๆต้องเพิ่มความพยายามก่อความยุ่งเหยิงแก่เรือหรือยานยนต์ที่ลักลอบบรรทุกน้ำมันเถื่อน และขอให้รายงานต่อคณะกรรมาธิการคว่ำบาตรในกรณีที่มีการตรวจยึดใดๆ และด้วยเหตุนี้มันจึงกลายเป็นแรงกดดันครั้งใหม่ต่อตุรกี ที่ถูกมองในฐานะจุดเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเถื่อน ขณะที่รถบรรทุกเหล่านั้นจะเดินทางกลับอิรักและซีเรียพร้อมกับผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผ่านการกลั่นแล้ว