รายงานข่าวจากกระทรวงมหาดไทย แจ้งว่า จากกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ตรวจสอบและพบความผิดปกติในการจัดซื้อปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช ที่แพงเกินจริงในพื้นที่หลายจังหวัดนั้น ซึ่ง สตง.ได้ชี้มูลความผิดทางแพ่งกับข้าราชการกระทรวงมหาดไทยในหลายจังหวัดแล้ว เนื่องจากทำให้รัฐเกิดความเสียหาย โดยงบประมาณการจัดซื้อเป็นงบภัยพิบัติ มีการจัดซื้อยาปราบศัตรูพืช มีการประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ แต่กลับไม่มีภัยเกิดขึ้นจริง และมีการใช้เงินงบประมาณอย่างสุรุ่ยสุร่าย โดยบางจังหวัดใช้งบประมาณในการดำเนินการสูงถึงพันล้านบาท ทั้งนี้การจัดซื้อดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงปี 2554-2555 ที่จังหวัดในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 22 จังหวัด
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับขั้นตอนต่อไป สตง.จะส่งข้อมูลไปให้ ป.ป.ช. ซึ่งบางกรณี ป.ป.ช.อยู่ในขั้นตอนการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ดำเนินการแก้ข้อกล่าวหา จากนั้นจึงจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ เมื่อมีการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว จึงจะส่งเรื่องมาที่ผู้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย โดยจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงมหาดไทย เพื่อลงโทษทางวินัยร้ายแรง เช่น ให้ออก หรือไล่ออก ภายใน 30 วัน
ทั้งนี้มีกระแสข่าวว่า ระหว่างกระบวนการสอบ และรอการลงโทษ กระทรวงมหาดไทย ได้ขอตำแหน่งในอัตราพิเศษจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อรองรับให้ย้ายกลุ่มคนที่จะถูกลงโทษทางวินัยก่อน เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนี้ ประมาณ 10 กว่าคน ที่ยังไม่เกษียณอายุราชการ เข้ามาประจำกระทรวง ดังนั้นเร็ว ๆ นี้จะมีการแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด แทนตำแหน่งที่ว่าง และสลับหมุนในระดับผู้บริหารระดับสูง (ซี 10 ) เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย อีกเป็นลอตใหญ่
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับขั้นตอนต่อไป สตง.จะส่งข้อมูลไปให้ ป.ป.ช. ซึ่งบางกรณี ป.ป.ช.อยู่ในขั้นตอนการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ดำเนินการแก้ข้อกล่าวหา จากนั้นจึงจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ เมื่อมีการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว จึงจะส่งเรื่องมาที่ผู้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย โดยจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงมหาดไทย เพื่อลงโทษทางวินัยร้ายแรง เช่น ให้ออก หรือไล่ออก ภายใน 30 วัน
ทั้งนี้มีกระแสข่าวว่า ระหว่างกระบวนการสอบ และรอการลงโทษ กระทรวงมหาดไทย ได้ขอตำแหน่งในอัตราพิเศษจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อรองรับให้ย้ายกลุ่มคนที่จะถูกลงโทษทางวินัยก่อน เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนี้ ประมาณ 10 กว่าคน ที่ยังไม่เกษียณอายุราชการ เข้ามาประจำกระทรวง ดังนั้นเร็ว ๆ นี้จะมีการแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด แทนตำแหน่งที่ว่าง และสลับหมุนในระดับผู้บริหารระดับสูง (ซี 10 ) เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย อีกเป็นลอตใหญ่