นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท. คาดการณ์ถึงการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกของไทยที่ร้อยละ 1.0 โดยได้นำปัจจัยจากการที่ไทยถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) เนื่องจากมองว่าสินค้าส่งออกภายใต้ GSP ถูกตัดสิทธิทั้งหมดในวันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา น่าจะเริ่มเห็นผลกระทบตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2558
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อการส่งออกไทยน่าจะมีขนาดไม่มากนัก เนื่องจากสัดส่วนของสินค้าส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ที่ไปสหภาพยุโรป (อียู) มีเพียงร้อยละ 4.0 ของการส่งออกรวมของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เสียภาษีเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2-6 ยกเว้นสับปะรดกระป๋อง อาหารทะเลแปรรูปที่เสียภาษีเพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งสินค้าบางส่วนเป็นสินค้าที่ยุโรปยังจำเป็นต้องนำเข้าจากไทย อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในรุ่นที่ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต
โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงภาพรวมด้านการแข่งขันของไทย โดยมองว่าค่อนข้างเสียเปรียบประเทศคู่แข่งที่ยังได้รับสิทธิ GSP ทั้งเวียดนาม อินโดนีเซีย ในขณะที่ประเทศคู่แข่งที่ถูกตัดสิทธิ GSP ไปแล้ว เช่น มาเลเซีย และบราซิล สามารถใช้ประโยชน์ผ่านช่องทางข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ซึ่งปัจจุบันไทยยังไม่บรรลุข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับยุโรป
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อการส่งออกไทยน่าจะมีขนาดไม่มากนัก เนื่องจากสัดส่วนของสินค้าส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ที่ไปสหภาพยุโรป (อียู) มีเพียงร้อยละ 4.0 ของการส่งออกรวมของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เสียภาษีเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2-6 ยกเว้นสับปะรดกระป๋อง อาหารทะเลแปรรูปที่เสียภาษีเพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งสินค้าบางส่วนเป็นสินค้าที่ยุโรปยังจำเป็นต้องนำเข้าจากไทย อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในรุ่นที่ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต
โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงภาพรวมด้านการแข่งขันของไทย โดยมองว่าค่อนข้างเสียเปรียบประเทศคู่แข่งที่ยังได้รับสิทธิ GSP ทั้งเวียดนาม อินโดนีเซีย ในขณะที่ประเทศคู่แข่งที่ถูกตัดสิทธิ GSP ไปแล้ว เช่น มาเลเซีย และบราซิล สามารถใช้ประโยชน์ผ่านช่องทางข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ซึ่งปัจจุบันไทยยังไม่บรรลุข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับยุโรป