นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคืบหน้าการยกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราในสัปดาห์ที่สองต่อจากนี้ว่า ในส่วนของเรื่องกระบวนการยุติธรรม จะมีการพิจารณาในส่วนกรอบกระบวนการยุติธรรมในวันที่ 19 มกราคมนี้ โดยในช่วงวันที่ 19-21 มกราคม จะเป็นการพิจารณาในหัวข้อเรื่องหลักนิติธรรมและศาล และต่อด้วยการพิจารณาตัวบทขององค์กรอิสระ ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เราจะเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามที่ กมธ.ได้เสนอมา ส่วนการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงการเข้าสู่ตำแหน่งในบุคคลในองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐนั้น น่าจะมีการปรับเปลี่ยนเรื่องระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง รวมถึงกระบวนการคัดสรรที่จะเขียนให้สามารถคัดสรรอย่างครอบคลุมและทั่วถึงทุกภาคส่วนมากขึ้น และที่สำคัญ บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งจะต้องเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง
นายคำนูณกล่าวว่า การคัดสรรบุคคลเข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรตรวจสอบฯ จะใช้หลักเกณฑ์และมาตรฐานเหมือนกันทุกองค์กร แต่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก คงต้อง รอการพิจารณาจากคณะอนุ กมธ.อีกครั้งภาย ใน 2 สัปดาห์ต่อจากนี้ ทั้งนี้ ในบททั่วไปของศาลและกระบวนการยุติธรรม จะมีการเขียนระบุชัดเจนในส่วนของหลักนิติธรรม ซึ่งจะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เขียนเรื่องหลักนิติธรรมไว้ในมาตรา 3 ให้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 รวมถึงทุกองค์กรต้องปฏิบัติตามหลักนิติ ธรรม แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ เราจะระบุให้ชัดเจนในภาคสามเลยว่าอะไรคือหลักนิติธรรม
ส่วนอำนาจหน้าที่และการคัดสรรบุคคลเข้าปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายคำนูณกล่าวว่า อาจจะมีการปรับเรื่องระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ที่เดิมจะอยู่ที่สมัยละ 9 ปี ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ใน กมธ.ด้านกฎหมายบอกว่ามากเกินไป จึงจะปรับให้สั้นลง และจำนวนตุลาการที่แต่เดิมมี 9 ตำแหน่ง อาจน้อยเกินไป จึงจะมีการเพิ่มจำนวนตุลาการให้มากขึ้น ทั้งนี้จำนวนที่จะปรับใหม่ต้องมีการหารือกันอีกครั้ง
เมื่อถามถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะมีการปรับเปลี่ยนอะไรหรือไม่นั้น นายคำนูณกล่าวว่า ในหลักการที่ตกลงกันไว้อาจจะให้ กกต.เป็นผู้กำกับควบคุมการเลือกตั้งในเต็มที่ โดยจะเพิ่มอำนาจให้ในเรื่องการกำกับควบคุมการเลือกตั้ง แต่ในส่วนของผู้ที่จัดการเลือกตั้ง อาจเป็นหน่วยงานอื่นเข้ามาจัดการเลือกตั้ง
นายคำนูณกล่าวว่า การคัดสรรบุคคลเข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรตรวจสอบฯ จะใช้หลักเกณฑ์และมาตรฐานเหมือนกันทุกองค์กร แต่ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก คงต้อง รอการพิจารณาจากคณะอนุ กมธ.อีกครั้งภาย ใน 2 สัปดาห์ต่อจากนี้ ทั้งนี้ ในบททั่วไปของศาลและกระบวนการยุติธรรม จะมีการเขียนระบุชัดเจนในส่วนของหลักนิติธรรม ซึ่งจะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เขียนเรื่องหลักนิติธรรมไว้ในมาตรา 3 ให้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 รวมถึงทุกองค์กรต้องปฏิบัติตามหลักนิติ ธรรม แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ เราจะระบุให้ชัดเจนในภาคสามเลยว่าอะไรคือหลักนิติธรรม
ส่วนอำนาจหน้าที่และการคัดสรรบุคคลเข้าปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายคำนูณกล่าวว่า อาจจะมีการปรับเรื่องระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ที่เดิมจะอยู่ที่สมัยละ 9 ปี ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ใน กมธ.ด้านกฎหมายบอกว่ามากเกินไป จึงจะปรับให้สั้นลง และจำนวนตุลาการที่แต่เดิมมี 9 ตำแหน่ง อาจน้อยเกินไป จึงจะมีการเพิ่มจำนวนตุลาการให้มากขึ้น ทั้งนี้จำนวนที่จะปรับใหม่ต้องมีการหารือกันอีกครั้ง
เมื่อถามถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะมีการปรับเปลี่ยนอะไรหรือไม่นั้น นายคำนูณกล่าวว่า ในหลักการที่ตกลงกันไว้อาจจะให้ กกต.เป็นผู้กำกับควบคุมการเลือกตั้งในเต็มที่ โดยจะเพิ่มอำนาจให้ในเรื่องการกำกับควบคุมการเลือกตั้ง แต่ในส่วนของผู้ที่จัดการเลือกตั้ง อาจเป็นหน่วยงานอื่นเข้ามาจัดการเลือกตั้ง