นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว "Kamnoon Sidhisamarn" ระบุถึง "แบบแปลนโครงสร้างร่างรัฐธรรมนูญ" เมื่อเช้าวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 โดยมีรายละเอียดดังนี้
แบบแปลนโครงสร้างร่างรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว ๆ มาจัดโครงสร้างหมวดหมู่แบ่งออกเป็น 'หมวด', 'ส่วน' และ 'มาตรา' อย่างเช่นรัฐธรรมนูญ 2550 แบ่งเป็น 15 หมวด (และบทเฉพาะกาล) มีรวมทั้งสิ้น 309 มาตรา แต่มีแนวโน้มว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเริ่มวางแบบแปลนจัดโครงสร้างหมวดหมู่ใหม่โดยเพิ่มให้มี 'ภาค' ขึ้นมาก่อนจะแยกย่อยลงไป อาจจะมีเพียง 3 หรือ 4 ภาคเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อจัดลำดับความยากง่ายในการแก้ไขเพิ่มเติมให้แตกต่างกัน เพื่อให้สอดรับกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 35 (9)
"...กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทําลายหลักการสําคัญที่รัฐธรรมนูญจะได้วางไว้"
เท่าที่มีข้อเสนอแบบแปลนโครงสร้างเป็นตุ๊กตาออกมาเพื่อพิจารณากันแล้วโดยยังไม่มีข้อสรุปในช่วงนี้ พอประมวลได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจจะจัดโครงสร้างแบ่งออกเป็น 4 ภาค
1. พระมหากษัตริย์ และประชาชน
2. ศาล นิติธรรม และกระบวนการยุติธรรม
3. ผู้นำที่ดี และสถาบันการเมือง
4. การปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง
ภาค 1 และภาค 2 จะแก้ไขยากที่สุด ถ้าจะแก้ไขเพิ่มเติมต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภาบวกกับการทำประชามติ
ภาค 3 จะแก้ไขเพิ่มเติมได้ยากรองลงมา โดยอาจจะใช้เสียงกึ่งหนึ่งบวกกับการทำประชามติ
อันที่จริงนี่ก็ไม่ใช่แนวคิดใหม่เสียทีเดียว อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณเคยเสนอแนวคิด 'รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ' มาตั้งแต่ยุคคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) ปี 2537 - 2538 โน่นแล้ว
บทสรุปเบื้องต้นจะเป็นอย่างไร ภายในวันที่ 14 หรืออย่างช้าวันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 น่าจะมีคำตอบออกจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
โดยในวันนี้ตั้งแต่ 13.30 ถึงเย็นและอาจจะค่ำ จะเป็นการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่ออภิปรายทั่วไปถึงทิศทางของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าจะมุ่งไปสู่เป้าหมายใด
แบบแปลนโครงสร้างร่างรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว ๆ มาจัดโครงสร้างหมวดหมู่แบ่งออกเป็น 'หมวด', 'ส่วน' และ 'มาตรา' อย่างเช่นรัฐธรรมนูญ 2550 แบ่งเป็น 15 หมวด (และบทเฉพาะกาล) มีรวมทั้งสิ้น 309 มาตรา แต่มีแนวโน้มว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเริ่มวางแบบแปลนจัดโครงสร้างหมวดหมู่ใหม่โดยเพิ่มให้มี 'ภาค' ขึ้นมาก่อนจะแยกย่อยลงไป อาจจะมีเพียง 3 หรือ 4 ภาคเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อจัดลำดับความยากง่ายในการแก้ไขเพิ่มเติมให้แตกต่างกัน เพื่อให้สอดรับกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 35 (9)
"...กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทําลายหลักการสําคัญที่รัฐธรรมนูญจะได้วางไว้"
เท่าที่มีข้อเสนอแบบแปลนโครงสร้างเป็นตุ๊กตาออกมาเพื่อพิจารณากันแล้วโดยยังไม่มีข้อสรุปในช่วงนี้ พอประมวลได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจจะจัดโครงสร้างแบ่งออกเป็น 4 ภาค
1. พระมหากษัตริย์ และประชาชน
2. ศาล นิติธรรม และกระบวนการยุติธรรม
3. ผู้นำที่ดี และสถาบันการเมือง
4. การปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง
ภาค 1 และภาค 2 จะแก้ไขยากที่สุด ถ้าจะแก้ไขเพิ่มเติมต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภาบวกกับการทำประชามติ
ภาค 3 จะแก้ไขเพิ่มเติมได้ยากรองลงมา โดยอาจจะใช้เสียงกึ่งหนึ่งบวกกับการทำประชามติ
อันที่จริงนี่ก็ไม่ใช่แนวคิดใหม่เสียทีเดียว อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณเคยเสนอแนวคิด 'รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ' มาตั้งแต่ยุคคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) ปี 2537 - 2538 โน่นแล้ว
บทสรุปเบื้องต้นจะเป็นอย่างไร ภายในวันที่ 14 หรืออย่างช้าวันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 น่าจะมีคำตอบออกจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
โดยในวันนี้ตั้งแต่ 13.30 ถึงเย็นและอาจจะค่ำ จะเป็นการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่ออภิปรายทั่วไปถึงทิศทางของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าจะมุ่งไปสู่เป้าหมายใด