พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยว่า ถือเป็นการเตรียมการฝ่ายไทยสำหรับการประชุมร่วมไทย - จีน เพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ครั้งที่ 1 ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 22 มกราคมนี้ โดยจะมีการหารือถึงภาพรวม และสรุปเนื้อหาแผนงานการก่อสร้างรถไฟทางมาตรฐาน (Standard gauge) 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย - โคราช - แก่งคอย - มาบตาพุด ระยะทาง 734 กิโลเมตร และเส้นทางแก่งคอย - กรุงเทพฯ 133 กิโลเมตร โดยแต่ละฝ่ายจะนำเสนอหัวข้อความร่วมมือในภาพรวม และจะสรุปเนื้อหาทั้งหมดในการประชุมครั้งที่ 2 วันที่ 5 - 7 กุมภาพันธ์ และครั้งที่ 3 วันที่ 25 - 27 กุมภาพันธ์ 2558
ทั้งนี้ หลังจากสรุปรายละเอียดแล้ว จะสามารถเริ่มทำงานโดยจัดทีมลงพื้นที่สำรวจออกแบบ ในวันที่ 1 มีนาคมนี้ โดยเบื้องต้นการก่อสร้างจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง 2 ระยะ โดยจะเริ่มก่อสร้าง 2 ช่วงแรก คือ ช่วงกรุงเทพฯ - แก่งคอย และแก่งคอย - มาบตาพุด ในเดือนกันยายน 2558 แล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2560 และระยะที่ 2 แก่งคอย - นครราชสีมา และนครราชสีมา - หนองคาย จะเริ่มการก่อสร้างในเดือนธันวาคม 2558 แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2561
อย่างไรก็ตาม ในการสำรวจออกแบบจะใช้เทคโนโลยี และเครื่องมือที่มันสมัยเข้ามาช่วย ซึ่งนอกจากจะลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังทำให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น ใช้เวลาลดลงจากการทำงานแบบเดิม 1 ใน 3 โดยเส้นทางเกือบ 1,000 กิโลเมตร จะใช้เวลาออกแบบ 6 - 7 เดือน จากวิธีเดิมจะใช้เวลา 1.5 ปี ส่วนการก่อสร้างจะแบ่งเป็นช่วง จะแล้วเสร็จใน 2.5 ปี จากเดิมไม่น้อยกว่า 4 ปี
ทั้งนี้ หลังจากสรุปรายละเอียดแล้ว จะสามารถเริ่มทำงานโดยจัดทีมลงพื้นที่สำรวจออกแบบ ในวันที่ 1 มีนาคมนี้ โดยเบื้องต้นการก่อสร้างจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง 2 ระยะ โดยจะเริ่มก่อสร้าง 2 ช่วงแรก คือ ช่วงกรุงเทพฯ - แก่งคอย และแก่งคอย - มาบตาพุด ในเดือนกันยายน 2558 แล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2560 และระยะที่ 2 แก่งคอย - นครราชสีมา และนครราชสีมา - หนองคาย จะเริ่มการก่อสร้างในเดือนธันวาคม 2558 แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2561
อย่างไรก็ตาม ในการสำรวจออกแบบจะใช้เทคโนโลยี และเครื่องมือที่มันสมัยเข้ามาช่วย ซึ่งนอกจากจะลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังทำให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น ใช้เวลาลดลงจากการทำงานแบบเดิม 1 ใน 3 โดยเส้นทางเกือบ 1,000 กิโลเมตร จะใช้เวลาออกแบบ 6 - 7 เดือน จากวิธีเดิมจะใช้เวลา 1.5 ปี ส่วนการก่อสร้างจะแบ่งเป็นช่วง จะแล้วเสร็จใน 2.5 ปี จากเดิมไม่น้อยกว่า 4 ปี