รศ.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม (มนพ.) ชี้แจงกรณีที่สภา มนพ. มีมติให้พักงาน 90 วัน และตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง เนื่องจากพบหลักฐานการยักยอกเงิน 30 ล้านบาทของมหาวิทยาลัย ว่า ตนเห็นข่าวที่สภา มนพ. สั่งพักงานและตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงแล้ว รู้สึกหมดศรัทธาในตัวนายกสภา มนพ. ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้ทรงวุฒิทางการศึกษา ที่สำคัญยังมาเขียนเรื่องธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย แต่ตนเองกลับไม่มีธรรมาภิบาล โดยเฉพาะเรื่องที่มากล่าวหาว่าตนทุจริตก็ไม่เป็นความจริง และที่ผ่านมาสภามนพ.ก็ไม่เคยที่จะเรียกให้ไปชี้แจงเรื่องที่ถูกกล่าวหาเลย ซึ่งถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทตนมาก ดังนั้นจะฟ้องนายกสภา มนพ. และ กรรมการสภามนพ. ต่อศาลปกครอง และศาลอาญา เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเอง
ส่วนกรณีที่มหาวิทยาลัยจะไปแจ้งความดำเนินคดีในวันที่ 12 ม.ค.ที่กองปราบปราม กรณีที่พบหลักฐานว่ารศ.สุวิทย์ ยักยอกเงินมหาวิทยาลัยนั้น รศ.สุวิทย์ กล่าวว่า การที่สภามนพ. แจ้งความตนก็น่าจะเป็นเพราะไม่ต้องการให้กลับมาทำงานต่อ และเป็นการกลั่นแกล้งกัน แต่ตนไม่กลัวอะไรทั้งนั้น เพราะมั่นใจในความบริสุทธิ์ และพร้อมชี้แจ้งทุกเรื่องได้อยู่แล้ว
กรณีดังกล่าว ได้รับการเปิดเผยจากศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม (มนพ.) ที่ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมาว่าได้มีมติให้พักงาน รศ.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ อธิการบดี มนพ. เป็นเวลา 90 วัน และให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงว่า ตนยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง ทั้งนี้ สภามนพ. เคยมีมติให้ รศ.สุวิทย์ พ้นจากตำแหน่งอธิการบดีไปครั้งหนึ่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 เนื่องจากตามพ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัยกำหนดให้มีการประเมินผลการทำงานของอธิการบดีสองปีหลังจากดำรงตำแหน่ง ผลปรากฏว่า รศ.สุวิทย์ ไม่ผ่านการประเมิน แต่ต่อมา รศ.สุวิทย์ ได้ไปฟ้องศาลปกครองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จากนั้นวันที่ 17 ธ.ค. 2557 ศาลปกครองอุดรธานีได้มีคำสั่งให้ทุเลาการใช้คำสั่งสภามนพ.ในการปลดอธิการบดีไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ทำให้รศ.สุวิทย์ กลับเข้ามาทำหน้าที่อธิการบดีได้อีก
ศ.ดร.ภาวิช กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่รศ.สุวิทย์ ได้พ้นจากตำแหน่งไปเมื่อเดือนสิงหาคม57นั้น สภามนพ.ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและได้พบพฤติการณ์หลายอย่างที่สร้างความเสียหายให้แก่มหาวิทยาลัย ซึ่งเข้าข่ายความผิดทางวินัยและผิดกฎหมายทั้งอาญาและแพ่ง อาทิ การเปิดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตนอกสถานที่โดยไม่ขออนุมัติสภามหาวิทยาลัยและผิดหลักเกณฑ์ของคุรุสภาทำให้คุรุสภาไม่ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้แก่นักศึกษา 282 คน นอกจากนี้ยังมีการเปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตนอกสถานที่โดยไม่ขออนุมัติสภามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการให้บุคคลนอกมหาวิทยาลัยนำหลักสูตรไปเปิด โดยทางคณะซึ่งเป็นเจ้าของหลักสูตรไม่ได้รับรู้และมีการจัดเก็บเงินนอกระบบการเงินของมหาวิทยาลัย มีการใช้ใบเสร็จรับเงินของมหาวิทยาลัย แต่นำเงินเข้าฝากบัญชีที่เปิดไว้เองไม่นำส่งเข้างานคลังของมหาวิทยาลัย อีกทั้งมีการสั่งจ่ายเงินได้เองโดยผู้ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่การเงินของมหาวิทยาลัย ซึ่งเข้าข่ายการยักยอก โดยจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบความเสียหายเป็นยอดเงินกว่า 30 ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่ามีการปลอมแปลงเอกสารอีกหลายรายการซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลเสียหาย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะไปแจ้งความที่กองปราบปรามในวันที่ 12 มกราคม เวลา 14.00 น.
“ เมื่อผลการตรวจสอบเป็นเช่นนี้สภามหาวิทยาลัยก็จำเป็นที่จะต้องดำเนินการต่อไปไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อย่างไรก็ตามรศ.สุวิทย์ สามารถมาแสดงหลักฐานตามความเป็นจริงได้ที่คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ที่มีนายบุญปลูก ชายเกตุ อดีตเลขาธิการ กพ. และนายกสภาม.ราชภัฏจันทรเกษม เป็นประธาน “ศ.ดร.ภาวิช กล่าว
ส่วนกรณีที่มหาวิทยาลัยจะไปแจ้งความดำเนินคดีในวันที่ 12 ม.ค.ที่กองปราบปราม กรณีที่พบหลักฐานว่ารศ.สุวิทย์ ยักยอกเงินมหาวิทยาลัยนั้น รศ.สุวิทย์ กล่าวว่า การที่สภามนพ. แจ้งความตนก็น่าจะเป็นเพราะไม่ต้องการให้กลับมาทำงานต่อ และเป็นการกลั่นแกล้งกัน แต่ตนไม่กลัวอะไรทั้งนั้น เพราะมั่นใจในความบริสุทธิ์ และพร้อมชี้แจ้งทุกเรื่องได้อยู่แล้ว
กรณีดังกล่าว ได้รับการเปิดเผยจากศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม (มนพ.) ที่ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมาว่าได้มีมติให้พักงาน รศ.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ อธิการบดี มนพ. เป็นเวลา 90 วัน และให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงว่า ตนยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง ทั้งนี้ สภามนพ. เคยมีมติให้ รศ.สุวิทย์ พ้นจากตำแหน่งอธิการบดีไปครั้งหนึ่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 เนื่องจากตามพ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัยกำหนดให้มีการประเมินผลการทำงานของอธิการบดีสองปีหลังจากดำรงตำแหน่ง ผลปรากฏว่า รศ.สุวิทย์ ไม่ผ่านการประเมิน แต่ต่อมา รศ.สุวิทย์ ได้ไปฟ้องศาลปกครองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จากนั้นวันที่ 17 ธ.ค. 2557 ศาลปกครองอุดรธานีได้มีคำสั่งให้ทุเลาการใช้คำสั่งสภามนพ.ในการปลดอธิการบดีไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ทำให้รศ.สุวิทย์ กลับเข้ามาทำหน้าที่อธิการบดีได้อีก
ศ.ดร.ภาวิช กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่รศ.สุวิทย์ ได้พ้นจากตำแหน่งไปเมื่อเดือนสิงหาคม57นั้น สภามนพ.ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและได้พบพฤติการณ์หลายอย่างที่สร้างความเสียหายให้แก่มหาวิทยาลัย ซึ่งเข้าข่ายความผิดทางวินัยและผิดกฎหมายทั้งอาญาและแพ่ง อาทิ การเปิดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตนอกสถานที่โดยไม่ขออนุมัติสภามหาวิทยาลัยและผิดหลักเกณฑ์ของคุรุสภาทำให้คุรุสภาไม่ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้แก่นักศึกษา 282 คน นอกจากนี้ยังมีการเปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตนอกสถานที่โดยไม่ขออนุมัติสภามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการให้บุคคลนอกมหาวิทยาลัยนำหลักสูตรไปเปิด โดยทางคณะซึ่งเป็นเจ้าของหลักสูตรไม่ได้รับรู้และมีการจัดเก็บเงินนอกระบบการเงินของมหาวิทยาลัย มีการใช้ใบเสร็จรับเงินของมหาวิทยาลัย แต่นำเงินเข้าฝากบัญชีที่เปิดไว้เองไม่นำส่งเข้างานคลังของมหาวิทยาลัย อีกทั้งมีการสั่งจ่ายเงินได้เองโดยผู้ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่การเงินของมหาวิทยาลัย ซึ่งเข้าข่ายการยักยอก โดยจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบความเสียหายเป็นยอดเงินกว่า 30 ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่ามีการปลอมแปลงเอกสารอีกหลายรายการซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลเสียหาย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะไปแจ้งความที่กองปราบปรามในวันที่ 12 มกราคม เวลา 14.00 น.
“ เมื่อผลการตรวจสอบเป็นเช่นนี้สภามหาวิทยาลัยก็จำเป็นที่จะต้องดำเนินการต่อไปไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อย่างไรก็ตามรศ.สุวิทย์ สามารถมาแสดงหลักฐานตามความเป็นจริงได้ที่คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ที่มีนายบุญปลูก ชายเกตุ อดีตเลขาธิการ กพ. และนายกสภาม.ราชภัฏจันทรเกษม เป็นประธาน “ศ.ดร.ภาวิช กล่าว