นายนิพนธ์ โชติบาล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุพืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีปัญหาความขัดแย้งเรื่องการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง ในเขตอุทยานฯ เขาคิฌชกูฏ อ.เขาคิฌชกูฏ จ.จันทบุรีว่า เรื่องนี้ทางจังหวัด และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าไปดูแลอยู่ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ซึ่งทางกรมได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ดูแลอย่างใกล้ชิดซึ่งปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหน่วยงานในพื้นที่ต้องพูดคุยกันว่าจะดำเนินการอย่างไร
“ทางกรมอุทยานฯ ดูอยู่ว่าถ้ามีปัญหามาก เราก็จะไม่อนุญาตให้จัดงานในพื้นที่อุทยานฯเขาคิฌชกูฎ เพราะที่ผ่านมามีคนขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทปีละเป็นล้านคน ซึ่งทางกรมอุทยานฯ ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้มาโดยตลอด กรมอุทยานฯไม่ได้อะไร เพราะถือว่าเป็นการทำบุญ เป็นงานเทศกาลประจำปี และเป็นประเพณีของจังหวัด แต่ก็มีในเรื่องพื้นที่ธรรมชาติที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันดูแล อย่างไรก็ตามเวลานี้ต้องให้ทางจังหวัดกับทหารเป็นหลักในการพูดคุยกับคณะผู้ จัดงานแต่ละฝ่ายให้รู้เรื่อง แต่หากคุยไม่รู้เรื่องทางจังหวัดคงเสนอเรื่องมาที่กรมอุทยานฯ ให้เราพิจารณาต่อไป กรณีที่เกิดขึ้นเราไม่อยากยุ่ง แต่บังเอิญว่าพื้นที่จัดงานอยู่ในเขตอุทยานฯ”
โดยก่อนหน้าที่ช่วงเช้าวันเดียวกัน ที่บริเวณวัดพลวง อ.เขาคิฌชกูฏ จ.จันทบุรี พระปลัด ฐาวะโร เจ้าคณะตำบลวัดทุ่งขนานและเจ้าอาวาสวัดทรัพย์ตาพุต พร้อมคณะสงฆ์ จาก 8 วัด ซึ่งเป็นกรรมการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง ประจำปี 58 นำชาวบ้านในพื้นที่ตลอดจนประชาชนผู้มีจิตศรัทธาที่จะเข้าร่วมบวชชีพราหมณ์ รักษาศีล ช่วงเทศกาลรอยพระพุทธบาทกว่า 1,000 คนจากทั่วสารทิศชุมนุมคัดค้านสมาคมแห่งหนึ่ง และวัดกระทิงที่ขึ้นไปจัดงานบวชชีพราหมณ์ และจัดเตรียมสถานที่จัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทำให้คณะสงฆ์ซึ่งเป็นคณะกรรมการจัดงานที่ได้รับสิทธิการอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งเป็นผู้จัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทประจำปี 58 ไม่สามารถนำคณะสงฆ์ และเจ้าหน้าที่ขึ้นไปดำเนินการจัดเตรียมสถานที่ได้
ขณะเดียวกัน น.ท.วิชณุ จันศิริรัตน์หัวหน้าชุดควบคุมทหารเรือที่ 7พร้อม นายนุกูลกิจ วิชกูล อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้นำเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองลงพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจพร้อมขอร้องให้ลงจากยอดเขา เนื่องจากเลยกำหนดเวลาที่ได้ขออนุญาตไว้กับอุทยานฯแล้ว ซึ่งหากเจ้าหน้าที่อนุญาตให้อยู่ต่อจนถึงวันที่ 9 ม.ค. จะนำไปสู่การร้องขอขึ้นมาปฏิบัติธรรมของวัดพลวงเช่นกัน จึงไม่อยากให้เกิดการปะทะของทั้ง 2 ฝ่าย แต่จากการพูดคุย ผู้ปฏิบัติธรรมยืนยันที่จะอยู่ปฏิบัติธรรมบนยอดเขาต่อไป ทางเจ้าหน้าที่จึงอนุญาตให้อยู่ต่อจนครบกำหนด โดยตั้งเงื่อนไขว่าต้องยอมให้อีกฝ่ายขึ้นมาปฏิบัติธรรมบนยอดเขาด้วย และต้องอยู่ร่วมกันอย่างสงบในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการเผชิญหน้าของทั้ง 2 ฝ่าย
จากนั้น น.ท.วิชณุ และนายนุกูลกิจ จึงลงมาชี้แจงทำความเข้าใจกับคณะเจ้าหน้าที่ของวัดพลวง พร้อมทั้งอนุญาตให้คณะสงฆ์ และเจ้าหน้าที่ตลอดจนประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธาที่จะเข้าร่วมบวชชีพราหมณ์ขึ้นไปดำเนินงาน และปฏิบัติธรรมบนยอดเขาพระบาทได้ โดยเน้นย้ำให้เป็นการปฏิบัติธรรม เพื่อสืบทอดประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างแท้จริง ส่วนการตกลงเจรจาเพื่อยุติธรรมหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของทั้งสองฝ่ายในเรื่องการจัดงานนมัสการรอยพระบาทพลวงที่เขาคิชฌกูฏ ที่กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 19 ม.ค.- 19 มี.ค. อยู่ในช่วงเจรจาหาข้อสรุปว่า ควรเป็นไปในทิศทางใดและใครจะเป็นผู้รับผิดชอบเพื่อความตรึงเครียดของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกันนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้และ อส. ได้ตรวจเข้มค้นอาวุธในรถทุกคันตลอดจนเจ้าหน้าที่และประชาชนที่จะขึ้นไปบนยอดเข้าพระบาท เพื่อป้องกันเหตุการณ์รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้
“ทางกรมอุทยานฯ ดูอยู่ว่าถ้ามีปัญหามาก เราก็จะไม่อนุญาตให้จัดงานในพื้นที่อุทยานฯเขาคิฌชกูฎ เพราะที่ผ่านมามีคนขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทปีละเป็นล้านคน ซึ่งทางกรมอุทยานฯ ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้มาโดยตลอด กรมอุทยานฯไม่ได้อะไร เพราะถือว่าเป็นการทำบุญ เป็นงานเทศกาลประจำปี และเป็นประเพณีของจังหวัด แต่ก็มีในเรื่องพื้นที่ธรรมชาติที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันดูแล อย่างไรก็ตามเวลานี้ต้องให้ทางจังหวัดกับทหารเป็นหลักในการพูดคุยกับคณะผู้ จัดงานแต่ละฝ่ายให้รู้เรื่อง แต่หากคุยไม่รู้เรื่องทางจังหวัดคงเสนอเรื่องมาที่กรมอุทยานฯ ให้เราพิจารณาต่อไป กรณีที่เกิดขึ้นเราไม่อยากยุ่ง แต่บังเอิญว่าพื้นที่จัดงานอยู่ในเขตอุทยานฯ”
โดยก่อนหน้าที่ช่วงเช้าวันเดียวกัน ที่บริเวณวัดพลวง อ.เขาคิฌชกูฏ จ.จันทบุรี พระปลัด ฐาวะโร เจ้าคณะตำบลวัดทุ่งขนานและเจ้าอาวาสวัดทรัพย์ตาพุต พร้อมคณะสงฆ์ จาก 8 วัด ซึ่งเป็นกรรมการจัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง ประจำปี 58 นำชาวบ้านในพื้นที่ตลอดจนประชาชนผู้มีจิตศรัทธาที่จะเข้าร่วมบวชชีพราหมณ์ รักษาศีล ช่วงเทศกาลรอยพระพุทธบาทกว่า 1,000 คนจากทั่วสารทิศชุมนุมคัดค้านสมาคมแห่งหนึ่ง และวัดกระทิงที่ขึ้นไปจัดงานบวชชีพราหมณ์ และจัดเตรียมสถานที่จัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทำให้คณะสงฆ์ซึ่งเป็นคณะกรรมการจัดงานที่ได้รับสิทธิการอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งเป็นผู้จัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทประจำปี 58 ไม่สามารถนำคณะสงฆ์ และเจ้าหน้าที่ขึ้นไปดำเนินการจัดเตรียมสถานที่ได้
ขณะเดียวกัน น.ท.วิชณุ จันศิริรัตน์หัวหน้าชุดควบคุมทหารเรือที่ 7พร้อม นายนุกูลกิจ วิชกูล อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้นำเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองลงพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจพร้อมขอร้องให้ลงจากยอดเขา เนื่องจากเลยกำหนดเวลาที่ได้ขออนุญาตไว้กับอุทยานฯแล้ว ซึ่งหากเจ้าหน้าที่อนุญาตให้อยู่ต่อจนถึงวันที่ 9 ม.ค. จะนำไปสู่การร้องขอขึ้นมาปฏิบัติธรรมของวัดพลวงเช่นกัน จึงไม่อยากให้เกิดการปะทะของทั้ง 2 ฝ่าย แต่จากการพูดคุย ผู้ปฏิบัติธรรมยืนยันที่จะอยู่ปฏิบัติธรรมบนยอดเขาต่อไป ทางเจ้าหน้าที่จึงอนุญาตให้อยู่ต่อจนครบกำหนด โดยตั้งเงื่อนไขว่าต้องยอมให้อีกฝ่ายขึ้นมาปฏิบัติธรรมบนยอดเขาด้วย และต้องอยู่ร่วมกันอย่างสงบในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการเผชิญหน้าของทั้ง 2 ฝ่าย
จากนั้น น.ท.วิชณุ และนายนุกูลกิจ จึงลงมาชี้แจงทำความเข้าใจกับคณะเจ้าหน้าที่ของวัดพลวง พร้อมทั้งอนุญาตให้คณะสงฆ์ และเจ้าหน้าที่ตลอดจนประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธาที่จะเข้าร่วมบวชชีพราหมณ์ขึ้นไปดำเนินงาน และปฏิบัติธรรมบนยอดเขาพระบาทได้ โดยเน้นย้ำให้เป็นการปฏิบัติธรรม เพื่อสืบทอดประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างแท้จริง ส่วนการตกลงเจรจาเพื่อยุติธรรมหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของทั้งสองฝ่ายในเรื่องการจัดงานนมัสการรอยพระบาทพลวงที่เขาคิชฌกูฏ ที่กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 19 ม.ค.- 19 มี.ค. อยู่ในช่วงเจรจาหาข้อสรุปว่า ควรเป็นไปในทิศทางใดและใครจะเป็นผู้รับผิดชอบเพื่อความตรึงเครียดของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกันนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้และ อส. ได้ตรวจเข้มค้นอาวุธในรถทุกคันตลอดจนเจ้าหน้าที่และประชาชนที่จะขึ้นไปบนยอดเข้าพระบาท เพื่อป้องกันเหตุการณ์รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้