นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สปช. กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการฯ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา มีการหารือการปฏิรูป กกต.ได้ข้อสรุปว่าจะให้ กกต.มีจำนวน 5 คนเท่าเดิม มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี เป็นได้วาระเดียว แต่จะให้มีอำนาจหน้าที่เฉพาะเรื่องการจัดการเลือกตั้งและรวบรวมหลักฐานความผิดในกรณีการทุจริตเลือกตั้งเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจการแจกใบเหลือง-ใบแดงเหมือนที่ผ่านมา โดยอำนาจการแจกใบเหลือง-ใบแดงให้เป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรมแทน เนื่องจากเห็นว่า หากให้ กกต.มีอำนาจทั้งการจัดการเลือกตั้ง การสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน การตัดสินแจกใบเหลือง-ใบแดง จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จเกินไป ทำให้ถูกวิจารณ์เรื่องความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอำนาจการแจกใบเหลือง-ใบแดงมีส่วนทำให้เกิดความแตกแยกทางการเมือง ช่วงที่ผ่านมา เกิดความไม่สงบ วุ่นวาย เพราะไม่เห็นด้วยกับการตัดสินของ กกต.จึงควรให้ศาลยุติธรรมมาทำหน้าที่ดังกล่าวแทน
นอกจากนี้ กรณีมีผู้มาร้องเรื่องการทุจริตเลือกตั้งให้มีกรอบเวลากระบวนการพิจารณาคดี ตั้งแต่ กกต.รับเรื่องร้องเรียน หาพยานหลักฐานจนถึงกระบวนการที่ศาลตัดสินให้ใบเหลือง-ใบแดง ต้องใช้เวลาไม่เกิน 2 เดือน ไม่ควรยืดเยื้อพิจารณาคดีเป็นปีๆ เหมือนที่ผ่านมา ส่วนอำนาจของ ป.ป.ช.นั้น คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าควรมี 9 คนเช่นเดิม แต่ลดวาระการดำรงตำแหน่งจาก 9 ปี เหลือ 6 ปี และให้มีหน้าที่พิจารณาคดีเฉพาะโทษทางคดีอาญาที่เกี่ยวกับการทุจริตของข้าราชการและนักการเมืองเพียงอย่างเดียว ส่วนการพิจารณาโทษทางวินัยของข้าราชการ ให้เป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ของแต่ละกระทรวงเป็นผู้พิจารณาลงโทษแทน
นอกจากนี้ จะเสนอให้ข้าราชการทุกระดับต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ในตอนเข้ารับราชการครั้งแรก เพื่อแสดงความโปร่งใสว่ามีจำนวนทรัพย์สินเท่าใด ให้ ป.ป.ช.เก็บเป็นข้อมูลไว้เปรียบเทียบ หากมีปัญหาเรื่องความผิดปกติทางบัญชีทรัพย์สินในอนาคต จะได้ติดตามตรวจสอบได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ กรณีมีผู้มาร้องเรื่องการทุจริตเลือกตั้งให้มีกรอบเวลากระบวนการพิจารณาคดี ตั้งแต่ กกต.รับเรื่องร้องเรียน หาพยานหลักฐานจนถึงกระบวนการที่ศาลตัดสินให้ใบเหลือง-ใบแดง ต้องใช้เวลาไม่เกิน 2 เดือน ไม่ควรยืดเยื้อพิจารณาคดีเป็นปีๆ เหมือนที่ผ่านมา ส่วนอำนาจของ ป.ป.ช.นั้น คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าควรมี 9 คนเช่นเดิม แต่ลดวาระการดำรงตำแหน่งจาก 9 ปี เหลือ 6 ปี และให้มีหน้าที่พิจารณาคดีเฉพาะโทษทางคดีอาญาที่เกี่ยวกับการทุจริตของข้าราชการและนักการเมืองเพียงอย่างเดียว ส่วนการพิจารณาโทษทางวินัยของข้าราชการ ให้เป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ของแต่ละกระทรวงเป็นผู้พิจารณาลงโทษแทน
นอกจากนี้ จะเสนอให้ข้าราชการทุกระดับต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ในตอนเข้ารับราชการครั้งแรก เพื่อแสดงความโปร่งใสว่ามีจำนวนทรัพย์สินเท่าใด ให้ ป.ป.ช.เก็บเป็นข้อมูลไว้เปรียบเทียบ หากมีปัญหาเรื่องความผิดปกติทางบัญชีทรัพย์สินในอนาคต จะได้ติดตามตรวจสอบได้ง่ายขึ้น