พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ เป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามคำแนะนำของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 18 พ.ย.2557 ซึ่งพล.อ.วิทวัส ได้กำหนดเข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยเข้าดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินแทน นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา
โดย พล.อ.วิทวัส กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานในฐานะผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่า ต้องมุ่งเน้น 3 เรื่องสำคัญ คือ 1.ผู้ตรวจการแผ่นดินต้องเป็นที่พึ่งของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาค เพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาทุกข์ร้อนของประชาชน กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการแก้ไขปัญหาต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง เที่ยงธรรม ไม่ล่าช้า เพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง เน้นการเข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่อย่างเท่าเทียม ปรับช่องทางการยื่นเรื่องร้องเรียน เพิ่มความสะดวกโดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ประโยชน์ นอกจากนั้นต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเชิงระบบที่กระทบต่อประชาชนในวงกว้าง เพื่อสร้างสังคมที่สงบและมีความสุข
พล.อ.วิทวัส กล่าวต่อว่า 2.มุ่งสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม วางรากฐานสร้างเครือข่าย ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม เน้นการสร้างจิตสำนึกแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ตระหนักถึงการปฏิบัติหน้าที่บนพื้นฐานของคุณธรรม ปลูกฝังค่านิยมคนไทยให้เคารพกฎหมาย และเข้าใจในขอบเขตสิทธิและเสรีภาพที่แต่ละฝ่ายพึงมี ประชาชนแต่ละภาคส่วนก็ต้องมีจริยธรรมด้วยเช่นกัน เพื่อให้บ้านเมืองมีความมั่นคง และอยู่บนพื้นฐานแห่งประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ
และ 3.ผู้ตรวจการแผ่นดินจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสามารถให้ข้อพิจารณา และข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลและรัฐสภาได้เป็นอย่างดีและถูกต้อง รวมถึงการใช้อำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินต้องคำนึงถึงผลกระทบที่ อาจเกิดขึ้นต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน และผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนย้ำบทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินไทยให้ก้าวสู่เวทีโลก โดยในปี 2559 ผู้ตรวจการแผ่นดินประเทศไทยได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินระดับโลก(The 11th International Ombudsman Institute (IOI) World Conference) ครั้งที่ 11 ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารของสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินนานาประเทศเข้าร่วมกว่า 150 คณะ ซึ่งการจัดประชุมดังกล่าวจะเป็นการสร้างและส่งเสริมบทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินไทยให้ได้รับความเชื่อมั่นในระดับสากลยิ่งขึ้น
โดย พล.อ.วิทวัส กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานในฐานะผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่า ต้องมุ่งเน้น 3 เรื่องสำคัญ คือ 1.ผู้ตรวจการแผ่นดินต้องเป็นที่พึ่งของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาค เพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาทุกข์ร้อนของประชาชน กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการแก้ไขปัญหาต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง เที่ยงธรรม ไม่ล่าช้า เพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง เน้นการเข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่อย่างเท่าเทียม ปรับช่องทางการยื่นเรื่องร้องเรียน เพิ่มความสะดวกโดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ประโยชน์ นอกจากนั้นต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเชิงระบบที่กระทบต่อประชาชนในวงกว้าง เพื่อสร้างสังคมที่สงบและมีความสุข
พล.อ.วิทวัส กล่าวต่อว่า 2.มุ่งสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม วางรากฐานสร้างเครือข่าย ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม เน้นการสร้างจิตสำนึกแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ตระหนักถึงการปฏิบัติหน้าที่บนพื้นฐานของคุณธรรม ปลูกฝังค่านิยมคนไทยให้เคารพกฎหมาย และเข้าใจในขอบเขตสิทธิและเสรีภาพที่แต่ละฝ่ายพึงมี ประชาชนแต่ละภาคส่วนก็ต้องมีจริยธรรมด้วยเช่นกัน เพื่อให้บ้านเมืองมีความมั่นคง และอยู่บนพื้นฐานแห่งประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ
และ 3.ผู้ตรวจการแผ่นดินจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสามารถให้ข้อพิจารณา และข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลและรัฐสภาได้เป็นอย่างดีและถูกต้อง รวมถึงการใช้อำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินต้องคำนึงถึงผลกระทบที่ อาจเกิดขึ้นต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน และผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนย้ำบทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินไทยให้ก้าวสู่เวทีโลก โดยในปี 2559 ผู้ตรวจการแผ่นดินประเทศไทยได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินระดับโลก(The 11th International Ombudsman Institute (IOI) World Conference) ครั้งที่ 11 ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารของสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินนานาประเทศเข้าร่วมกว่า 150 คณะ ซึ่งการจัดประชุมดังกล่าวจะเป็นการสร้างและส่งเสริมบทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินไทยให้ได้รับความเชื่อมั่นในระดับสากลยิ่งขึ้น