ราคาน้ำมันในวันจันทร์(1ธ.ค.) ฟื้นตัวแรงจากระดับต่ำสุดรอบ5ปี แต่นักวิเคราะห์มองเป็นแค่การปรับฐานหลังร่วงลงหนักราว10ดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 2.85 ดอลลาร์ ปิดที่ 69.00 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากวันศุกร์(28พ.ย.) แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กันยายน 2009 ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 2.39 ดอลลาร์ ปิดที่ 72.54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นในวันจันทร์ หลังจากที่ได้ร่วงลงไปกว่า 10% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อันเนื่องมาจากการที่โอเปคมีมติคงเพดานการผลิตน้ำมันเอาไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าโอเปคจะปรับลดเพดานการผลิต โดยบีเอ็นพี พาริบาส์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าโอเปคอาจจะลดเพดานการผลิตลงราว 1-1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่มอร์แกน สแตนลีย์ ก็คาดว่าโอเปคจะเพดานการผลิตเช่นกัน
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง หลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตของสหรัฐชะลอตัวลง โดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ย.ลดลงสู่ระดับ 58.7 จาก 59.0 ในเดือนต.ค. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตของสหรัฐขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย
ขณะเดียวกัน มาร์กิตเปิดเผยผลสำรวจที่ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐในเดือนพ.ย.ลดลงแตะ 54.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน จาก 55.9 ในเดือนต.ค.
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 2.85 ดอลลาร์ ปิดที่ 69.00 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากวันศุกร์(28พ.ย.) แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กันยายน 2009 ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 2.39 ดอลลาร์ ปิดที่ 72.54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นในวันจันทร์ หลังจากที่ได้ร่วงลงไปกว่า 10% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อันเนื่องมาจากการที่โอเปคมีมติคงเพดานการผลิตน้ำมันเอาไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าโอเปคจะปรับลดเพดานการผลิต โดยบีเอ็นพี พาริบาส์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าโอเปคอาจจะลดเพดานการผลิตลงราว 1-1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่มอร์แกน สแตนลีย์ ก็คาดว่าโอเปคจะเพดานการผลิตเช่นกัน
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง หลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตของสหรัฐชะลอตัวลง โดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ย.ลดลงสู่ระดับ 58.7 จาก 59.0 ในเดือนต.ค. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตของสหรัฐขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย
ขณะเดียวกัน มาร์กิตเปิดเผยผลสำรวจที่ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐในเดือนพ.ย.ลดลงแตะ 54.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน จาก 55.9 ในเดือนต.ค.