เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และโฆษกกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค ระบุว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นอย่างไรเสียก็จะต้องมี 2 กลไกสำคัญที่รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 35 บัญญัติบังคับไว้ใน (7) และ (8)
"กลไกที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน และป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมือง ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว"
"กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อ ประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนโดยสอดคล้องกับสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ และกลไก การตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ"
นักการเมืองคนใดไม่ใส่ใจ ก็ขึ้นศาลวินัยการเงินการคลังและงบประมาณเป็นอย่างต่ำ
การปฏิรูปการเมืองในเชิงปฏิรูประบบการเงินการคลังภาครัฐจึงจะเกิดขึ้นแน่ คณะอนุกรรมาธิการสารัตถะคณะที่ 4 ที่มีอ.จรัส สุวรรณมาลา เป็นประธานทำงานคืบหน้าไปมาก คณะนี้ยังมีดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม และผู้เชี่ยวชาญอีกหลายท่านอยู่ร่วมด้วย อะไรที่หละหลวมอยู่ในรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 8 มาตรา 166 - 170 คราวนี้ก็จะได้ขันเกลียวให้แน่นขึ้น
โดยเฉพาะการนิยามคำว่า 'เงินแผ่นดิน' ไว้ให้ชัดเจน
และการกำหนดให้การใช้เงินกู้ของหน่วยงานรัฐแม้จะนอกงบประมาณก็ต้องรายงานต่อรัฐสภา
รวมทั้งการเร่งตราพ.ร.บ.การเงินการคลังภาครัฐและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้ลุล่วงพร้อม ๆ รัฐธรรมนูญใหม่
นี่ก็เป็นอีกมิติสำคัญที่หวังได้
"กลไกที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน และป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมือง ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว"
"กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อ ประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนโดยสอดคล้องกับสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ และกลไก การตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ"
นักการเมืองคนใดไม่ใส่ใจ ก็ขึ้นศาลวินัยการเงินการคลังและงบประมาณเป็นอย่างต่ำ
การปฏิรูปการเมืองในเชิงปฏิรูประบบการเงินการคลังภาครัฐจึงจะเกิดขึ้นแน่ คณะอนุกรรมาธิการสารัตถะคณะที่ 4 ที่มีอ.จรัส สุวรรณมาลา เป็นประธานทำงานคืบหน้าไปมาก คณะนี้ยังมีดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม และผู้เชี่ยวชาญอีกหลายท่านอยู่ร่วมด้วย อะไรที่หละหลวมอยู่ในรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 8 มาตรา 166 - 170 คราวนี้ก็จะได้ขันเกลียวให้แน่นขึ้น
โดยเฉพาะการนิยามคำว่า 'เงินแผ่นดิน' ไว้ให้ชัดเจน
และการกำหนดให้การใช้เงินกู้ของหน่วยงานรัฐแม้จะนอกงบประมาณก็ต้องรายงานต่อรัฐสภา
รวมทั้งการเร่งตราพ.ร.บ.การเงินการคลังภาครัฐและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้ลุล่วงพร้อม ๆ รัฐธรรมนูญใหม่
นี่ก็เป็นอีกมิติสำคัญที่หวังได้