นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยว่า การตรวจสอบการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ หรือ 15,000 บาทต่อครัวเรือนนั้น เบื้องต้นพบฐานการขึ้นทะเบียนช่วยเหลือเป็นข้อมูลเดียวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรของรัฐบาลในอดีต ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลไม่ถูกต้อง เช่น เกษตรกรแจ้งพื้นที่เพาะปลูกมากกว่าพื้นที่เพาะปลูกจริง เกษตรกรไม่มีพื้นที่เพาะปลูกแต่แจ้งว่ามี จนถึงกรณีแบ่งที่ดินให้บุตร หรือญาติถือครอง เพื่อให้เข้าหลักเกณฑ์ได้รับเงินช่วยเหลือ ซึ่ง สตง.ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการ ที่สามารถตรวจสอบได้อย่างรอบคอบ และได้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรต่อต้านการทุจริต กำหนดแผนตรวจสอบพื้นที่ที่จ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาตามนโยบาย โดยจัดแบ่งการตรวจสอบและซักซ้อมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน เบื้องต้น ลงพื้นที่ภาคกลาง 25 จังหวัด เพื่อตรวจสอบทันที รวมทั้งการนำระบบจีพีเอส ช่วยให้ทราบพื้นที่เพาะปลูกแท้จริง และเป็นปัจจุบันมากที่สุด
ทั้งนี้ สตง.ยังเดินหน้าตรวจสอบอีกหลายโครงการ เช่น การจัดซื้อหัวรถจักร ซึ่งส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีคมนาคมแล้ว ขอให้ตรวจสอบการประกวดราคาที่ผ่านมา ที่ สตง. ตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทที่ได้ทั้งชื่อและประวัติไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านเครื่องกล
ทั้งนี้ สตง.ยังเดินหน้าตรวจสอบอีกหลายโครงการ เช่น การจัดซื้อหัวรถจักร ซึ่งส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีคมนาคมแล้ว ขอให้ตรวจสอบการประกวดราคาที่ผ่านมา ที่ สตง. ตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทที่ได้ทั้งชื่อและประวัติไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านเครื่องกล