ในวันพรุ่งนี้ (18 พ.ย.) พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเสนอโครงการความร่วมมือสร้างรถไฟรางคู่ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยจะเสนอหลักการความร่วมมือที่จะดำเนินการกับประเทศจีน หลังจากนั้นจึงจะร่วมมือกับจีนกำหนดกรอบความร่วมมือให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตั้งเป้าเดินทางไปลงนามเอ็มโอยู (บันทึกความเข้าใจ) ในเดือนธันวาคมนี้ที่ประเทศจีนจากนั้นไทย และจีนจะเริ่มเดินหน้าโครงการภายใต้ความร่วมมืออย่างจริงจังต่อไป
สำหรับโครงการดังกล่าว จะเป็นการลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ใน 3 ช่วง คือ ช่วงหนองคายนครราชสีมา-แก่งคอย ช่วงแก่งคอย-กรุงเทพฯ และช่วงแก่งคอย-ชลบุรี-มาบตาพุด รวมระยะทางประมาณ 867 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟจากจีนผ่านลาวเข้ามาในไทย หลังตั้งคณะทำงานเจรจากำหนดรายละเอียดเส้นทางในปี 2558 แล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2559
เบื้องต้นจะใช้เงินลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้าที่สามารถวิ่งให้บริการได้ด้วยความเร็ว 160-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความร่วมมือจะเป็นแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ส่วนรูปแบบการลงทุนพิจารณาไว้ 3 รูปแบบคือ พีพีพี คือ รัฐเอกชนร่วมดำเนินการ แต่ พล.อ.อ.ประจิน ระบุว่า จะไม่ใช่ทางเลือกแรกแน่นอน บีโอที หรือสร้างและเดินรถแล้วยกให้รัฐถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง และอีซีพีแอนด์เอฟ คือ การที่จีนเข้ามาลงทุนก่อสร้างแล้วทางไทยเป็นผู้บริหารจัดการเอง โดยไทยชำระเงินคืนให้กับจีนในระยะยาว หรือเป็นการให้จีนลงทุนก่อสร้าง และไทยบริหารจัดการ และชำระเงินคืน ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกดีที่สุดสำหรับสัดส่วนการลงทุนอาจจะกำหนดให้จีนลงทุน 85% ไทย 15% หรือไทย 20% จีน 80% หรือจีน 100% ไทย 0%
สำหรับโครงการดังกล่าว จะเป็นการลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ใน 3 ช่วง คือ ช่วงหนองคายนครราชสีมา-แก่งคอย ช่วงแก่งคอย-กรุงเทพฯ และช่วงแก่งคอย-ชลบุรี-มาบตาพุด รวมระยะทางประมาณ 867 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟจากจีนผ่านลาวเข้ามาในไทย หลังตั้งคณะทำงานเจรจากำหนดรายละเอียดเส้นทางในปี 2558 แล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2559
เบื้องต้นจะใช้เงินลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้าที่สามารถวิ่งให้บริการได้ด้วยความเร็ว 160-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความร่วมมือจะเป็นแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ส่วนรูปแบบการลงทุนพิจารณาไว้ 3 รูปแบบคือ พีพีพี คือ รัฐเอกชนร่วมดำเนินการ แต่ พล.อ.อ.ประจิน ระบุว่า จะไม่ใช่ทางเลือกแรกแน่นอน บีโอที หรือสร้างและเดินรถแล้วยกให้รัฐถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง และอีซีพีแอนด์เอฟ คือ การที่จีนเข้ามาลงทุนก่อสร้างแล้วทางไทยเป็นผู้บริหารจัดการเอง โดยไทยชำระเงินคืนให้กับจีนในระยะยาว หรือเป็นการให้จีนลงทุนก่อสร้าง และไทยบริหารจัดการ และชำระเงินคืน ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกดีที่สุดสำหรับสัดส่วนการลงทุนอาจจะกำหนดให้จีนลงทุน 85% ไทย 15% หรือไทย 20% จีน 80% หรือจีน 100% ไทย 0%