นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า การทำงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในปีนี้ จะมุ่งเน้นด้านการพัฒนาการศึกษาและการแก้ไขปัญหาการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมามักมีการพูดถึงเรื่องที่มีผลกระทบวงกว้าง ทั้งเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต (O-NET) แต่ประเด็นสำคัญ คือการแก้ไขปัญหาเรื่องการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ไปทำการบ้านสำรวจการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั่วประเทศ จำนวน 600,000 คน พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ จำนวน 35,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 5 อีกประมาณ 200,000 คน หรือ 1 ใน 3 ของนักเรียนทั้งหมด มีปัญหาอ่านไม่คล่อง และเขียนไม่คล่อง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง ที่ผ่านมาแต่ละเขตพื้นที่ได้พยายามจัดกิจกรรมและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาฯ สมัยนายชินภัทร ภูมิรัตน อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จัดสื่อการเรียนการสอนลงไปสนับสนุนเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียนด้วย
อย่างไรก็ตาม เพื่อการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง และยั่งยืน เร็วๆ นี้จะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เบื้องต้นวางแผนการทำงานใน 4 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรก จะขอให้ สพป.ทุกเขตพื้นที่ สำรวจการอ่านออกและเขียนได้ของนักเรียน มายัง สพฐ.อีกครั้ง เพื่อจะได้ข้อมูลที่ชัดเจน ขั้นตอนที่ 2 จะเชิญนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญและผลิตนวัตกรรมทางการศึกษามาแก้ไขปัญหาดังกล่าว และมีนวัตกรรมเด่นๆ มาร่วมประชุมกันเพื่อจะนำมาจัดกระบวนการนวัตกรรมใดที่เหมาะสมกับเด็ก
ขั้นตอนที่ 3 จะจัดอบรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับการอบรมพัฒนาผู้เรียนที่เหมาะสมในแต่ละเขตพื้นที่ และขั้นตอนสุดท้าย จัดส่งสื่อการเรียนการสอน และพัฒนการอ่านออกเขียนได้อย่างเต็มรูปแบบ
ทั้งนี้ ตั้งเป้าว่าจะเริ่มกระบวนการพัฒนาเด็กได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้ และทำเต็มรูปแบบ ในปี 2558
อย่างไรก็ตาม เพื่อการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง และยั่งยืน เร็วๆ นี้จะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เบื้องต้นวางแผนการทำงานใน 4 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรก จะขอให้ สพป.ทุกเขตพื้นที่ สำรวจการอ่านออกและเขียนได้ของนักเรียน มายัง สพฐ.อีกครั้ง เพื่อจะได้ข้อมูลที่ชัดเจน ขั้นตอนที่ 2 จะเชิญนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญและผลิตนวัตกรรมทางการศึกษามาแก้ไขปัญหาดังกล่าว และมีนวัตกรรมเด่นๆ มาร่วมประชุมกันเพื่อจะนำมาจัดกระบวนการนวัตกรรมใดที่เหมาะสมกับเด็ก
ขั้นตอนที่ 3 จะจัดอบรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับการอบรมพัฒนาผู้เรียนที่เหมาะสมในแต่ละเขตพื้นที่ และขั้นตอนสุดท้าย จัดส่งสื่อการเรียนการสอน และพัฒนการอ่านออกเขียนได้อย่างเต็มรูปแบบ
ทั้งนี้ ตั้งเป้าว่าจะเริ่มกระบวนการพัฒนาเด็กได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้ และทำเต็มรูปแบบ ในปี 2558