นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวถึงกรณีเกิดเหตุคนร้ายลอบวางเพลิงโรงเรียนในพื้นที่ จ.ปัตตานี 6 แห่ง เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 12 ตุลาคม ที่ผ่านมา ว่า ก่อนเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ทราบถึงความเคลื่อนไหวผิดปกติในพื้นที่ จึงได้มีการแจ้งเตือนไปทั้ง 37 อำเภอ โดยเฉพาะการทำหน้าที่ของ ชรบ.ปรากฏว่าการทำหน้าที่เกิดความเสียหาย โรงเรียนถูกเผาไป 6 โรงเรียน ในส่วนของโรงเรียนในพื้นที่อื่น พบว่ามีการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนร้ายจริง แต่ ชรบ.มีความเข้มแข็ง คนร้ายไม่สามารถลงมือก่อเหตุได้ ตนเองจึงได้ชมเชย ชรบ.ในพื้นที่ที่สามารถป้องกันเหตุเอาไว้ได้ เป็นกรณีพิเศษ และอยากให้ขวัญกำลังใจกับบุคคลเหล่านี้ เพื่อเป็นตัวอย่างกับ ชรบ.ในพื้นที่อื่น โดยหลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ได้มีการตรวจสอบ พบว่า โรงเรียน 6 แห่งที่เกิดเหตุ อุปกรณ์การแจ้งเหตุยังขาดแคลน ดังนั้น ศอ.บต. และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า จึงได้ร่วมกับสนับสนุนอุปกรณ์ในการป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ จึงเกิดเป็น "ทุ่งยางแดงโมเดล" ขึ้น ในการเฝ้าระวังพื้นที่โรงเรียนต่างๆ และเป็นการขยายผลการทำงาน ได้มีการแจ้งเตือนไปยังลูกข่าย ศูนย์รวมเฝ้าระวัง
ในส่วนที่เกิดเหตุการณ์นั้น อาจจะเกิดจากการทำงานไม่เต็มที่ เช่น กลับก่อนเวลา หรือบางพื้นที่คนน้อยเกินไป หรือมาตรการในการเฝ้าระวังยังบกพร่องอยู่ จึงถือเป็นบทเรียนให้นำมาแก้ไข และวิเคราะห์สถานการณ ให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในขณะนี้ชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน จ.ปัตตานี ได้ใช้กลไกของชมรมในการสร้างเครือข่าย ให้ข้อมูล และความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ในการจับกุมผู้ต้องหา เพราะหลังจากเกิดเหตุก็มีการคลี่คลายปัญหาถึงตัวผู้ก่อเหตุ คาดว่าเป็นคนในพื้นที่ จ.ปัตตานี จะทราบผลชัดเจนภายใน 3 วัน โดยจะมีการเชิญผู้ต้องหาเข้ารับการสอบสวนคดีต่อไป
เลขาธิการ ศอ.บต.กล่าวเพิ่มเติมว่า จากบทเรียนดังกล่าวจะต้องมีมาตรการในการเฝ้าระวังให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ชรบ.มีความเข้มแข็งมากขึ้น ดังนั้น การจัดทำทุ่งยางแดงโมเดล ในการผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วม และมีมาตรการด้านการดูแลรักษาความปลอดภัยที่เป็นระบบ ควบคู่กับการพัฒนา ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน โดยจะมีการประชุมในรายละเอียดว่าการขับเคลื่อนดำเนินการอย่างไร อะไรที่เป็นปัญหาก็ทำให้มีความเข้มแข็งขึ้น ซึ่งสิ่งหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ความร่วมมือของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งตนคิดว่าจะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหา
ในส่วนที่เกิดเหตุการณ์นั้น อาจจะเกิดจากการทำงานไม่เต็มที่ เช่น กลับก่อนเวลา หรือบางพื้นที่คนน้อยเกินไป หรือมาตรการในการเฝ้าระวังยังบกพร่องอยู่ จึงถือเป็นบทเรียนให้นำมาแก้ไข และวิเคราะห์สถานการณ ให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในขณะนี้ชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน จ.ปัตตานี ได้ใช้กลไกของชมรมในการสร้างเครือข่าย ให้ข้อมูล และความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ในการจับกุมผู้ต้องหา เพราะหลังจากเกิดเหตุก็มีการคลี่คลายปัญหาถึงตัวผู้ก่อเหตุ คาดว่าเป็นคนในพื้นที่ จ.ปัตตานี จะทราบผลชัดเจนภายใน 3 วัน โดยจะมีการเชิญผู้ต้องหาเข้ารับการสอบสวนคดีต่อไป
เลขาธิการ ศอ.บต.กล่าวเพิ่มเติมว่า จากบทเรียนดังกล่าวจะต้องมีมาตรการในการเฝ้าระวังให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ชรบ.มีความเข้มแข็งมากขึ้น ดังนั้น การจัดทำทุ่งยางแดงโมเดล ในการผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วม และมีมาตรการด้านการดูแลรักษาความปลอดภัยที่เป็นระบบ ควบคู่กับการพัฒนา ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน โดยจะมีการประชุมในรายละเอียดว่าการขับเคลื่อนดำเนินการอย่างไร อะไรที่เป็นปัญหาก็ทำให้มีความเข้มแข็งขึ้น ซึ่งสิ่งหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ความร่วมมือของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งตนคิดว่าจะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหา