ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 15 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันล้างมือโลก เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วโลกล้างมือด้วยอย่างถูกวิธี เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค เพราะมือเป็นอวัยวะสำคัญที่นำเชื้อเข้าสู่ร่างกาย 3 ทาง ได้แก่ ทางปาก ทางจมูก และผิวหนัง นำไปสู่โรคติดต่อทางเดินอาหารหลายโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและนักเรียน โดยข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟพบว่า ในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิตจากโรคท้องร่วงถึง 3.5 ล้านคน และจากโรคปอดบวม 2 ล้านคน ซึ่งการล้างมืออย่างถูกวิธีจะสามารถลดการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงได้ถึง ร้อยละ 50 และโรคปอดบวม ร้อยละ 25
หลังจากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและใส่ใจเรื่องของการล้างมือมากขึ้นถึงร้อยละ 89 แต่ประชาชนบางส่วนยังล้างมือไม่ถูกต้องคือ ล้างด้วยน้ำเปล่าร้อยละ 41 ซึ่งการล้างมือให้สะอาดและถูกต้องควรปฏิบัติตามหลัก 7 ท่า 2 ก่อน 5 หลัง คือ ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ครบ 7 ท่า ได้แก่ 1) ฝ่ามือถูกัน 2) ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว 3) ฝ่ามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว 4) หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ 5) ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ 6) ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ และ 7) ถูรอบข้อมือ ส่วนการ ล้างมือ 2 ก่อน คือ ก่อนเตรียมปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และล้างมือ 5 หลัง คือ หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งปกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน เช่น กลับจากโรงเรียนหรือที่ทำงาน
"ในกรณีที่ไม่สะดวกล้างมือด้วยสบู่สามารถใช้เจลล้างมือซึ่งหาซื้อได้ง่ายและพกติดตัวได้ตลอดเวลา ซึ่งการ ให้ความสำคัญกับการล้างมือที่ถูกวิธี ไม่ใช่เฉพาะช่วงที่มีการระบาดของโรคต่างๆ เท่านั้น แต่ควรทำจนติดเป็นนิสัย เพราะการล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้ อาทิ โรคปอดบวม โรคท้องร่วง โรคอาหารเป็นพิษ และโรคพยาธิ เป็นต้น สำหรับในปี 2557 กรมอนามัยได้รับความร่วมมือจากสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และศูนย์อนามัยทุกแห่ง ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ล้างมือพร้อมกันทั่วประเทศในสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์อนามัย ศูนย์เด็กเล็ก และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
หลังจากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและใส่ใจเรื่องของการล้างมือมากขึ้นถึงร้อยละ 89 แต่ประชาชนบางส่วนยังล้างมือไม่ถูกต้องคือ ล้างด้วยน้ำเปล่าร้อยละ 41 ซึ่งการล้างมือให้สะอาดและถูกต้องควรปฏิบัติตามหลัก 7 ท่า 2 ก่อน 5 หลัง คือ ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ครบ 7 ท่า ได้แก่ 1) ฝ่ามือถูกัน 2) ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว 3) ฝ่ามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว 4) หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ 5) ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ 6) ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ และ 7) ถูรอบข้อมือ ส่วนการ ล้างมือ 2 ก่อน คือ ก่อนเตรียมปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และล้างมือ 5 หลัง คือ หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งปกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน เช่น กลับจากโรงเรียนหรือที่ทำงาน
"ในกรณีที่ไม่สะดวกล้างมือด้วยสบู่สามารถใช้เจลล้างมือซึ่งหาซื้อได้ง่ายและพกติดตัวได้ตลอดเวลา ซึ่งการ ให้ความสำคัญกับการล้างมือที่ถูกวิธี ไม่ใช่เฉพาะช่วงที่มีการระบาดของโรคต่างๆ เท่านั้น แต่ควรทำจนติดเป็นนิสัย เพราะการล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้ อาทิ โรคปอดบวม โรคท้องร่วง โรคอาหารเป็นพิษ และโรคพยาธิ เป็นต้น สำหรับในปี 2557 กรมอนามัยได้รับความร่วมมือจากสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และศูนย์อนามัยทุกแห่ง ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ล้างมือพร้อมกันทั่วประเทศในสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์อนามัย ศูนย์เด็กเล็ก และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด