“ธนาคารโลก” ปรับลดคาดการณ์อัตราเติบโตของ “เอเชียตะวันออก” ทั้งปีนี้และปีหน้า สืบเนื่องจากการขยายตัวของจีนเริ่มอ่อนแรง ขณะที่นโยบายการเงินทั่วโลกกำลังปรับเปลี่ยนสู่แนวทางการคุมเข้มมากขึ้น สำหรับไทยนั้น รายงานของเวิลด์แบงก์ฉบับนี้ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองฉุดจีดีพีปีนี้อยู่ที่แค่ 1.5% ก่อนจะกระเตื้องขึ้นเป็น 3.5% ในปีหน้า นอกจากนั้นรายงานยังเรียกร้องให้ภูมิภาคนี้ปรับปรุงเงื่อนไขสำหรับการลงทุนและการส่งออก รวมทั้งสานต่อการปฏิรูปเชิงโครงสร้างให้แล้วเสร็จ
รายงาน “อีสต์ เอเชีย แปซิฟิก อีโคโนมิก อัปเดต” ของธนาคารโลกฉบับนี้ ที่เผยแพร่ออกมาในวันจันทร์ (6 ต.ค.) ระบุว่า การเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย-แปซิฟิกมีแนวโน้มอยู่ในระดับ 6.9% ในปีนี้และปีหน้า ตัวเลขนี้ปรับลดลงมาจาก 7.1% ที่คาดการณ์ไว้ในรายงานฉบับก่อนของเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
สำหรับเศรษฐกิจจีน ถูกคาดหมายว่า จะขยายตัว 7.4% และ 7.2% ในปีนี้และปีถัดไป เทียบกับตัวเลขคาดการณ์เดิม 7.6% และ 7.5% ตามลำดับ และเทียบกับอัตราเติบโต 7.7% ในปีที่ผ่านมา โดยเหตุผลสำคัญคือเนื่องจากทางการปักกิ่งกำลังดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อจัดการกับความเสี่ยงทางการเงินและข้อจำกัดด้านโครงสร้าง จึงส่งผลทำให้เศรษฐกิจโตช้าลง
อย่างไรก็ดี ซูเดียร์ เช็ตตี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำเอเชียของธนาคารโลก ขยายความว่า การชะลอตัวของจีนไม่มีแนวโน้มว่าจะอยู่ในระดับ “รุนแรง” กระทั่งทำให้เกิดผลกระทบใหญ่โตต่อภูมิภาค และเสริมว่า ความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจแดนมังกรกับประเทศที่เหลือในเอเชียไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะส่วนอุปสงค์ ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะซบเซาลงตามการชะลอตัวเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการลงทุน โดยที่ในบางส่วนของภูมิภาคอาจจะเกิดการลงทุนเพิ่มมากขึ้นในช่วงระยะเวลานี้ เนื่องจากบริษัทจีนขนเงินออกไปลงทุนนอกประเทศ
สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกโดยรวมที่ไม่รวมจีนนั้น มีแนวโน้มเติบโต 4.8% และ 5.3% ในปีปัจจุบันและปี 2015 จากที่เคยทำได้ในอัตรา 5.2% ในปี 2013
สำหรับไทย รายงานคาดว่า จะเติบโตเพียง 1.5% และ 3.5% ในปี 2014 และ 2015 จาก 2.9% เมื่อปีที่แล้ว สืบเนื่องจากความไร้เสถียรภาพทางการเมือง
เช็ตตี้สำทับว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเอเชียตะวันออกคือ นโยบายการเงินคุมเข้มอย่างชนิด “ไร้ระบบ” ในอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ที่อาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้นรุนแรง กล่าวคือแม้มีแนวโน้มสูงว่า ประเทศพัฒนาแล้วจะคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงกะทันหันได้
ทั้งนี้ การขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ อาจทำให้เงินทุนเคลื่อนไหวน้อยลง และส่งผลต่อพวกประเทศที่พึ่งพิงเงินทุนเหล่านี้เพื่อชำระหนี้ รวมทั้งยังกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในหลายประเทศ
รายงาน “อีสต์ เอเชีย แปซิฟิก อีโคโนมิก อัปเดต” ของธนาคารโลกฉบับนี้ ที่เผยแพร่ออกมาในวันจันทร์ (6 ต.ค.) ระบุว่า การเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย-แปซิฟิกมีแนวโน้มอยู่ในระดับ 6.9% ในปีนี้และปีหน้า ตัวเลขนี้ปรับลดลงมาจาก 7.1% ที่คาดการณ์ไว้ในรายงานฉบับก่อนของเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
สำหรับเศรษฐกิจจีน ถูกคาดหมายว่า จะขยายตัว 7.4% และ 7.2% ในปีนี้และปีถัดไป เทียบกับตัวเลขคาดการณ์เดิม 7.6% และ 7.5% ตามลำดับ และเทียบกับอัตราเติบโต 7.7% ในปีที่ผ่านมา โดยเหตุผลสำคัญคือเนื่องจากทางการปักกิ่งกำลังดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อจัดการกับความเสี่ยงทางการเงินและข้อจำกัดด้านโครงสร้าง จึงส่งผลทำให้เศรษฐกิจโตช้าลง
อย่างไรก็ดี ซูเดียร์ เช็ตตี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำเอเชียของธนาคารโลก ขยายความว่า การชะลอตัวของจีนไม่มีแนวโน้มว่าจะอยู่ในระดับ “รุนแรง” กระทั่งทำให้เกิดผลกระทบใหญ่โตต่อภูมิภาค และเสริมว่า ความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจแดนมังกรกับประเทศที่เหลือในเอเชียไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะส่วนอุปสงค์ ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะซบเซาลงตามการชะลอตัวเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการลงทุน โดยที่ในบางส่วนของภูมิภาคอาจจะเกิดการลงทุนเพิ่มมากขึ้นในช่วงระยะเวลานี้ เนื่องจากบริษัทจีนขนเงินออกไปลงทุนนอกประเทศ
สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกโดยรวมที่ไม่รวมจีนนั้น มีแนวโน้มเติบโต 4.8% และ 5.3% ในปีปัจจุบันและปี 2015 จากที่เคยทำได้ในอัตรา 5.2% ในปี 2013
สำหรับไทย รายงานคาดว่า จะเติบโตเพียง 1.5% และ 3.5% ในปี 2014 และ 2015 จาก 2.9% เมื่อปีที่แล้ว สืบเนื่องจากความไร้เสถียรภาพทางการเมือง
เช็ตตี้สำทับว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเอเชียตะวันออกคือ นโยบายการเงินคุมเข้มอย่างชนิด “ไร้ระบบ” ในอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ที่อาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้นรุนแรง กล่าวคือแม้มีแนวโน้มสูงว่า ประเทศพัฒนาแล้วจะคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงกะทันหันได้
ทั้งนี้ การขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ อาจทำให้เงินทุนเคลื่อนไหวน้อยลง และส่งผลต่อพวกประเทศที่พึ่งพิงเงินทุนเหล่านี้เพื่อชำระหนี้ รวมทั้งยังกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในหลายประเทศ