รศ.นวลน้อย ตรีรัตน์ นักวิชาการคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวคิดการดำเนินนโยบายภาษีช่วยคนจนว่า สภาพความเป็นจริงระบบจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ใช้แรงงานยังน้อยกว่าเกณฑ์ค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลให้การทำงานมีรายได้ไม่เพียงพอต่อสภาพเศรษฐกิจจริง จึงยังเข้าข่ายเป็นคนจน แนวคิดการช่วยเหลือคนกลุ่มนี้จึงเป็นแนวทางที่ประเทศพัฒนาแล้วให้สวัสดิการแก่ประชาชนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งแตกต่างจากการดำเนินนโยบายประชานิยมที่ไม่ช่วยเหลือคนจนตัวจริง อีกทั้งสร้างภาระทางการคลัง
รศ.นวลน้อย ตั้งข้อสังเหตุว่า แม้โดยหลักการและวิธีดำเนินนโยบายนี้จะเป็นเรื่องดีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม แต่ไม่แน่ใจว่าระบบการขึ้นภาษีคนจน หรือฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบภาษีของไทยจะมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ เพราะฐานข้อมูลเหล่านี้จะเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของนโยบาย
ปัจจุบันไทยมีแรงงานในระบบภาษีประมาณ 10 ล้านคน และนอกระบบภาษีประมาณ 20 ล้านคน ก่อนหน้านี้นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า จะผลักดันนโยบายนี้ภายในปีงบประมาณ 2558 โดยจะจ่ายคนละ 2,500 บาท แต่ไม่เกิน 6,000 บาท คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 55,000 ล้านบาท
รศ.นวลน้อย ตั้งข้อสังเหตุว่า แม้โดยหลักการและวิธีดำเนินนโยบายนี้จะเป็นเรื่องดีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม แต่ไม่แน่ใจว่าระบบการขึ้นภาษีคนจน หรือฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบภาษีของไทยจะมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ เพราะฐานข้อมูลเหล่านี้จะเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของนโยบาย
ปัจจุบันไทยมีแรงงานในระบบภาษีประมาณ 10 ล้านคน และนอกระบบภาษีประมาณ 20 ล้านคน ก่อนหน้านี้นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า จะผลักดันนโยบายนี้ภายในปีงบประมาณ 2558 โดยจะจ่ายคนละ 2,500 บาท แต่ไม่เกิน 6,000 บาท คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 55,000 ล้านบาท