นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าแผนนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ว่า ขณะนี้ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) อยู่ระหว่างศึกษาแผนลงทุนดังกล่าว ซึ่งหากมีความชัดเจนก็จะทำให้ค่าบริหารจัดการและต้นทุนก๊าซฯของกลุ่ม กฟผ. ลดลง รวมทั้งสามารถควบคุมต้นทุนได้เอง โดยปัจจุบันกำลังการผลิตของกลุ่ม กฟผ. รวมอยู่ที่ประมาณ 1.4-1.5 หมื่นเมกะวัตต์ อย่างไรก็ตามในส่วนของแหล่งก๊าซฯก็อยู่ระหว่างการศึกษาทั้งอเมริกา แคนาดา และรัสเซีย
“ที่ผ่านมาบริษัทก็เคยคุยกับทาง ปตท.เรื่องนำเข้าแอลเอ็นจีเช่นกัน แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนออกมา แต่สิ่งที่กังวลหากร่วมกับ ปตท.นำเข้าแอลเอ็นจี ก็จะมีข้อครหาว่าเป็นการผูกขาดอีก ดังนั้นหาก กฟผ. ลงทุนเอง ก็ต้องหาพื้นที่สร้างคลังเก็บแอลเอ็นจี คาดว่าจะใช้ระยะเวลา 3 ปี”นายพงษ์ดิษฐ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนาด 200 เมกะวัตต์ ที่มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ คาดว่าจะยื่นซองประมูลได้ภายในเดือนกันยายนนี้ หลังจากรัฐบาลพม่าเลื่อนวันยื่นซอง เพราะข้อกำหนดหลายอย่านงในทีโออาร์ยังไม่นิ่ง และผู้ร่วมประมูบที่คาดว่าจะมี 9 ราย ยังคงต้องการความชัดเจนหลายประเด็น ซึ่งคาดว่าผลการประมูลจะสรุปภายในเดือนตุลาคมนี้
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินมะริด ขนาด 2,500 เมกะวัตต์ ที่ประเทศพม่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขอเอ็มโอยูเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในเดือนกันยายนนี้เช่นกัน อย่างไรก็ตามโอกาสในการพัฒนาโรงไฟฟ้าดังกล่าวขึ้นอยู่กับผลการศึกษาและความต้องการใช้ไฟฟ้าในพม่าด้วย โดยเบื้องต้นโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะป้อนให้กับพม่าไม่เกิน 200-500 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือ 2,000 เมกะวัตต์จะถูกส่งมายังไทย โดยประเมินมูลค่าลงทุน 5,000-6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (บริษัทถือหุ้น 45%)
“ที่ผ่านมาบริษัทก็เคยคุยกับทาง ปตท.เรื่องนำเข้าแอลเอ็นจีเช่นกัน แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนออกมา แต่สิ่งที่กังวลหากร่วมกับ ปตท.นำเข้าแอลเอ็นจี ก็จะมีข้อครหาว่าเป็นการผูกขาดอีก ดังนั้นหาก กฟผ. ลงทุนเอง ก็ต้องหาพื้นที่สร้างคลังเก็บแอลเอ็นจี คาดว่าจะใช้ระยะเวลา 3 ปี”นายพงษ์ดิษฐ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนาด 200 เมกะวัตต์ ที่มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ คาดว่าจะยื่นซองประมูลได้ภายในเดือนกันยายนนี้ หลังจากรัฐบาลพม่าเลื่อนวันยื่นซอง เพราะข้อกำหนดหลายอย่านงในทีโออาร์ยังไม่นิ่ง และผู้ร่วมประมูบที่คาดว่าจะมี 9 ราย ยังคงต้องการความชัดเจนหลายประเด็น ซึ่งคาดว่าผลการประมูลจะสรุปภายในเดือนตุลาคมนี้
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินมะริด ขนาด 2,500 เมกะวัตต์ ที่ประเทศพม่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขอเอ็มโอยูเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในเดือนกันยายนนี้เช่นกัน อย่างไรก็ตามโอกาสในการพัฒนาโรงไฟฟ้าดังกล่าวขึ้นอยู่กับผลการศึกษาและความต้องการใช้ไฟฟ้าในพม่าด้วย โดยเบื้องต้นโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะป้อนให้กับพม่าไม่เกิน 200-500 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือ 2,000 เมกะวัตต์จะถูกส่งมายังไทย โดยประเมินมูลค่าลงทุน 5,000-6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (บริษัทถือหุ้น 45%)