นางสาวปวีณา ศรีโพธิ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ใน ตลท. จำนวน 482 บริษัท หรือ 92.87%จากทั้งหมด 519 บริษัท (ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC และบริษัทที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด หรือ NPG) ได้นำส่งผลการดำเนินงานงวดสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2557 แล้ว โดยงวดไตรมาส 2 มี บจ. ที่มีกำไรสุทธิ 392 บริษัท หรือคิดเป็น 81.32% ของ บจ. ที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด
โดยไตรมาส 2 ปีนี้มียอดขายรวมอยู่ที่ 2,849,436 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.69% และมีกำไรสุทธิ 203,710 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.62% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่งวด6 เดือนแรกของปี 2557 มียอดขาย 5,635,018 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.00% และกำไรสุทธิรวม 426,482 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.88% จากงวดเดียวกันของปีก่อน
“ในไตรมาส 2 บจ. ได้รับปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ บจ. ในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น รวมถึงกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน บจ. ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในต่างประเทศและการส่งออก เช่น อาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุก่อสร้าง มียอดขายเติบโตต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วตามความต้องการของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักที่เริ่มขยายตัว ในขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศ มีการเติบโตของรายได้ที่ชะลอตัวลง
อย่างไรก็ตามภาพรวม บจ. ยังคงรักษาความสามารถในการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการบริหารได้ดีส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นในไตรมาส 2 อยู่ที่ 18.82% ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีที่แล้ว และมีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 7.15% เพิ่มขึ้นจาก 6.38% ในงวดเดียวกันของปีที่แล้ว” นางสาวปวีณากล่าว
“แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองมีความชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของไตรมาส 2 แต่ยอดขายของ บจ. ยังคงทรงตัวและมีกำไรสุทธิที่ไม่นับรวมรายการพิเศษลดลง6.00% จากไตรมาสก่อนหน้า โดย บจ. สามารถควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้นแต่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสูงขึ้น ทั้งนี้ธุรกิจที่ยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องได้แก่ กลุ่มขนส่ง กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ ในขณะที่กลุ่มธุรกิจอื่นๆ มีการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 1” นางสาวปวีณากล่าวเสริม
สำหรับหมวดธุรกิจที่มียอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นทั้งงวดไตรมาส 2 และ 6 เดือนเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค ธนาคาร พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยทั้ง 3 หมวดมีกำไรสุทธิงวด 6 เดือนรวม 244,437 ล้านบาท คิดเป็น 57.32% ของกำไรสุทธิรวมทั้งหมด
ทั้งนี้ บจ. ที่มีกำไรงวดสะสม 6 เดือนสูงสุด 5 อันดับแรก คือ บมจ. ปตท. (PTT) บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) บมจ. ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) และ ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
โดยในงวด 6 เดือนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มทรัพยากร กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มเทคโนโลยี
โดยไตรมาส 2 ปีนี้มียอดขายรวมอยู่ที่ 2,849,436 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.69% และมีกำไรสุทธิ 203,710 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.62% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่งวด6 เดือนแรกของปี 2557 มียอดขาย 5,635,018 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.00% และกำไรสุทธิรวม 426,482 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.88% จากงวดเดียวกันของปีก่อน
“ในไตรมาส 2 บจ. ได้รับปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ บจ. ในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น รวมถึงกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน บจ. ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในต่างประเทศและการส่งออก เช่น อาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุก่อสร้าง มียอดขายเติบโตต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วตามความต้องการของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักที่เริ่มขยายตัว ในขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศ มีการเติบโตของรายได้ที่ชะลอตัวลง
อย่างไรก็ตามภาพรวม บจ. ยังคงรักษาความสามารถในการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการบริหารได้ดีส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นในไตรมาส 2 อยู่ที่ 18.82% ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีที่แล้ว และมีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 7.15% เพิ่มขึ้นจาก 6.38% ในงวดเดียวกันของปีที่แล้ว” นางสาวปวีณากล่าว
“แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองมีความชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของไตรมาส 2 แต่ยอดขายของ บจ. ยังคงทรงตัวและมีกำไรสุทธิที่ไม่นับรวมรายการพิเศษลดลง6.00% จากไตรมาสก่อนหน้า โดย บจ. สามารถควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้นแต่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสูงขึ้น ทั้งนี้ธุรกิจที่ยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องได้แก่ กลุ่มขนส่ง กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ ในขณะที่กลุ่มธุรกิจอื่นๆ มีการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 1” นางสาวปวีณากล่าวเสริม
สำหรับหมวดธุรกิจที่มียอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นทั้งงวดไตรมาส 2 และ 6 เดือนเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค ธนาคาร พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยทั้ง 3 หมวดมีกำไรสุทธิงวด 6 เดือนรวม 244,437 ล้านบาท คิดเป็น 57.32% ของกำไรสุทธิรวมทั้งหมด
ทั้งนี้ บจ. ที่มีกำไรงวดสะสม 6 เดือนสูงสุด 5 อันดับแรก คือ บมจ. ปตท. (PTT) บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) บมจ. ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) และ ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
โดยในงวด 6 เดือนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มทรัพยากร กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มเทคโนโลยี