ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เรื่องความเชื่อมั่นต่อการเปลี่ยนแปลงหลังมีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.9 มีความสนใจมากถึงมากที่สุดที่จะติดตามข่าวความคืบหน้าการปฏิรูปประเทศ โดย สปช.ที่กำลังจะเกิดขึ้น ขณะที่ร้อยละ 34.1 สนใจและติดตามน้อยถึงน้อยที่สุด
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อ สปช.ว่า จะสามารถปฏิรูปประเทศไทยให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ชัดเจนมากน้อยเพียงใดพบว่า ในภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.6 เชื่อว่าหลังการปฏิรูปปัญหาต่างๆ จะยังคงมีเหมือนเดิม หรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะที่ร้อยละ 37.4 เชื่อว่าจะเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงด้านที่ประชาชนเชื่อมั่นว่าจะเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนมากที่สุดพบว่า เป็นด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองร้อยละ 45.9 รองลงมาเป็นด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันร้อยละ 44.3 และด้านการศึกษา การเรียนรู้ และภูมิปัญญาร้อยละ 35.5 ส่วนด้านที่ประชาชนเห็นว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างชัดเจนน้อยที่สุดคือ ด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมร้อยละ 29.7 และด้านการสร้างระบบการเลือกตั้งที่ดี ไม่มีนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง ไม่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงร้อยละ 31.6
เมื่อถามต่อว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่พรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วม สปช.ร้อยละ 45.2 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 39.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 15.4 ไม่แน่ใจ
นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 90.4 ยังเห็นว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สปช.ควรยื่นและเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณชน มีเพียงร้อยละ 4.1 ที่เห็นว่าไม่ควร และร้อยละ 5.5 ไม่แน่ใจ
สุดท้ายเมื่อถามว่า เชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าคณะกรรมการสรรหา สปช. จะสามารถคัดเลือกผู้สมัครสมาชิก สปช. อย่างยุติธรรมและโปร่งใส ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 บอกว่า เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 36.4 เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อ สปช.ว่า จะสามารถปฏิรูปประเทศไทยให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ชัดเจนมากน้อยเพียงใดพบว่า ในภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.6 เชื่อว่าหลังการปฏิรูปปัญหาต่างๆ จะยังคงมีเหมือนเดิม หรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะที่ร้อยละ 37.4 เชื่อว่าจะเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงด้านที่ประชาชนเชื่อมั่นว่าจะเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนมากที่สุดพบว่า เป็นด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองร้อยละ 45.9 รองลงมาเป็นด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันร้อยละ 44.3 และด้านการศึกษา การเรียนรู้ และภูมิปัญญาร้อยละ 35.5 ส่วนด้านที่ประชาชนเห็นว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นอย่างชัดเจนน้อยที่สุดคือ ด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมร้อยละ 29.7 และด้านการสร้างระบบการเลือกตั้งที่ดี ไม่มีนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง ไม่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงร้อยละ 31.6
เมื่อถามต่อว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่พรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วม สปช.ร้อยละ 45.2 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 39.4 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 15.4 ไม่แน่ใจ
นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 90.4 ยังเห็นว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สปช.ควรยื่นและเปิดเผยทรัพย์สินต่อสาธารณชน มีเพียงร้อยละ 4.1 ที่เห็นว่าไม่ควร และร้อยละ 5.5 ไม่แน่ใจ
สุดท้ายเมื่อถามว่า เชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าคณะกรรมการสรรหา สปช. จะสามารถคัดเลือกผู้สมัครสมาชิก สปช. อย่างยุติธรรมและโปร่งใส ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 บอกว่า เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 36.4 เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด