พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กล่าวว่า การเสนอยกร่างแก้ไขกฎหมาย 3 ฉบับของ ปปง.นั้น ขณะนี้ ปปง.ได้เตรียมเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่างกฎหมายฟอกเงิน (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5) โดยมีสาระสำคัญเพื่อควบคุมการขนเงินตราเข้า-ออกราชอาณาจักร เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายในลักษณะนี้ ทำให้ FATF และประเทศในกลุ่มอียู กังวัลว่าไทยอาจมีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินจากการก่อการร้าย แม้ว่าไทยจะมีกฎหมายศุลกากรกำหนดให้สำแดงการถือเงินสดเข้า-ออกประเทศได้ไม่เกิน 20,000เหรียญสหรัฐ แต่ที่ผ่านมาหากไม่มีการสำแดงเงินตามที่กฎหมายกำหนด ศุลกากรจะลงโทษปรับเพียง 20,000บาท และคืนเงินให้กับเจ้าของ แต่กฎหมายใหม่จะระบุความผิดชัดเจน หลังจากนี้ไม่มีการเปรียบเทียบปรับที่หน้าด่าน แต่เงินทั้งหมดจะถูกริบและส่งฟ้องให้ศาลสั่งให้ตกเป็นชองแผ่นดิน ซึ่งถือเป็นกฎหมายมาตรฐานสากลที่ต้องปฏิบัติตาม
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน ทั่วโลกมองไทยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการป้องกันการฟอกเงินและการก่อการร้าย หากทำให้มีมาตรการตรวจสอบที่แข็งแรงก็จะทำให้ประเทศในภูมิภาคมีความแข็งแกร่งตามไปด้วย โดยในปี 58-59 ไทยจะต้องถูกประเมินอีกครั้งจาก FATF ซึ่งปรับเกณฑ์การประเมินใหม่ จากที่กำหนดให้ต้องผ่านไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ จาก 40 ข้อ โดยครั้งที่ไทยติดแบล็กลิสต์ประเทศเสี่ยงฟอกเงิน เพราะยังมีข้อบกพร่องร้ายแรงถึง 13 ข้อ แต่ในการประเมินรอบใหม่ FATF กำหนดให้ต้องผ่านไม่ต่ำกว่า 7 ข้อ ดังนั้น ไทยจึงต้องเร่งแก้กฎหมาย เพราะถ้าสอบตกไทยจะถูกตอบโต้ทางการเงินเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 55 ซึ่งผลกระทบแรงกว่าปัญหาค้ามนุษย์ ที่มีผลกระทบกับสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว โดยหากติดแบล็กลิสต์ฟอกเงินจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของไทยที่ไม่สามารถทำธุรกรรมการเงินกับประเทศใดในโลกได้ ซึ่งถือเป็นกติกาโลกที่ไทยต้องปฏิบัติตาม
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน ทั่วโลกมองไทยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการป้องกันการฟอกเงินและการก่อการร้าย หากทำให้มีมาตรการตรวจสอบที่แข็งแรงก็จะทำให้ประเทศในภูมิภาคมีความแข็งแกร่งตามไปด้วย โดยในปี 58-59 ไทยจะต้องถูกประเมินอีกครั้งจาก FATF ซึ่งปรับเกณฑ์การประเมินใหม่ จากที่กำหนดให้ต้องผ่านไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ จาก 40 ข้อ โดยครั้งที่ไทยติดแบล็กลิสต์ประเทศเสี่ยงฟอกเงิน เพราะยังมีข้อบกพร่องร้ายแรงถึง 13 ข้อ แต่ในการประเมินรอบใหม่ FATF กำหนดให้ต้องผ่านไม่ต่ำกว่า 7 ข้อ ดังนั้น ไทยจึงต้องเร่งแก้กฎหมาย เพราะถ้าสอบตกไทยจะถูกตอบโต้ทางการเงินเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 55 ซึ่งผลกระทบแรงกว่าปัญหาค้ามนุษย์ ที่มีผลกระทบกับสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว โดยหากติดแบล็กลิสต์ฟอกเงินจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของไทยที่ไม่สามารถทำธุรกรรมการเงินกับประเทศใดในโลกได้ ซึ่งถือเป็นกติกาโลกที่ไทยต้องปฏิบัติตาม