พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กล่าวถึง การเสนอยกร่างแก้ไขกฎหมาย 3 ฉบับ ของ ปปง. ว่า ปปง. เสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่างกฎหมายฟอกเงิน (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5) โดยมีสาระสำคัญ เพื่อควบคุมการขนเงินตราเข้า-ออกราชอาณาจักร เนื่องจากประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายในลักษณะนี้ ทำให้ FATF และประเทศในกลุ่มอียู กังวลว่าไทยอาจมีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินจากการก่อการร้าย แม้ว่าไทยจะมีกฎหมายศุลกากรกำหนดให้สำแดงการถือเงินสดเข้า-ออกประเทศได้ไม่เกิน 20,000 เหรียญสหรัฐ แต่ที่ผ่านมาหากไม่มีการสำแดงเงินตามที่กฎหมายกำหนด ศุลกากรจะลงโทษปรับเพียง 20,000 บาท และคืนเงินให้กับเจ้าของ แต่กฎหมายใหม่ จะระบุความผิดชัดเจน หลังจากนี้ ไม่มีการเปรียบเทียบปรับที่หน้าด่าน แต่เงินทั้งหมดจะถูกริบ และส่งฟ้องให้ศาลสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งถือเป็นกฎหมายมาตรฐานสากลที่ต้องปฏิบัติตาม
"ประเทศไทยอาจจะเล็กในแง่ของพื้นที่ แต่เราเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน ทั่วโลกมองไทยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการป้องกันการฟอกเงิน และการก่อการร้าย หากทำให้มีมาตรการตรวจสอบที่แข็งแรง ก็จะทำให้ประเทศในภูมิภาคมีความแข็งแกร่งตามไปด้วย โดยในปี 58-59 ไทยจะต้องถูกประเมินอีกครั้ง จาก FATF ซึ่งปรับเกณฑ์การประเมินใหม่ จากที่กำหนดให้ต้องผ่านไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ จาก 40 ข้อ โดยครั้งที่ไทยติดแบล็กลิสต์ประเทศเสี่ยงฟอกเงิน เพราะเรายังมีข้อบกพร่องร้ายแรงถึง 13 ข้อ แต่ในการประเมินรอบใหม่ FATF กำหนดให้ต้องผ่านไม่ต่ำกว่า 7 ข้อ ดังนั้นไทยจึงต้องเร่งแก้กฎหมาย เพราะถ้าสอบตก ไทยจะถูกตอบโต้ทางการเงินเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 55 ซึ่งผลกระทบแรงกว่าปัญหาค้ามนุษย์ ที่มีผลกระทบกับสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว แต่ถ้าติดแบล็กลิสต์ฟอกเงิน จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของไทย ที่ไม่สามารถทำธุรกรรมการเงินกับประเทศใดในโลกได้ ซึ่งถือเป็นกติกาโลกที่ไทยต้องปฏิบัติตาม" พ.ต.อ.สีหนาท กล่าว
**เตือนแนวคิดแจกเงินจะเหมือนรัฐบาลปชป.
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่จะช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย เพราะจะเป็นการลดช่องว่างระหว่างรายได้ของประชาชน แต่การที่ สศค. มีแนวคิดที่จะเสนอให้แจกเงินให้กับผู้มีรายน้อยโดยตรง โดยจะใช้ทะเบียนผู้เสียภาษีเป็นตัวกำหนด น่าจะเป็นแนวทางที่ผิด เพราะประชาชนจำนวนมาก ที่ยากจนอย่างแท้จริง เช่น ชาวนา และ เกษตรกร จะไม่ได้อยู่ในบัญชีนี้ อีกทั้งเป็นการให้แบบสูญเปล่า เหมือนกับสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่แจกเงินคนละ 2,000 บาท ซึ่งไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดการผลิต หรือก่อให้ผลดีต่อเศรษฐกิจเลย อีกทั้งยังไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ยากจน และมีความจำเป็นอย่างแท้จริง
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายอะไรที่จะพยายามหลีกเลี่ยงว่า ไม่ใช่ประชานิยม ก็อยากให้มีแนวคิดที่จะช่วยเหลือประชาชนที่มีรายน้อยอย่างแท้จริง และอยากให้ส่งเสริมให้มีการผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับประเทศด้วย ในอดีตที่ผ่านมาขนาดมีนโยบายที่ถูกเรียกว่าเป็นประชานิยม ช่องว่างระหว่างรายได้ประชาชนกลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งในอดีตถึงปัจจุบัน ก็ไม่ได้สร้างหนี้สาธารณะมากมาย ถึงจะทำให้ประเทศล้มละลายแต่อย่างใด หนี้สาธารณะต่อรายได้ประชาชาติยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้มาโดยตลอด
"ประเทศไทยอาจจะเล็กในแง่ของพื้นที่ แต่เราเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน ทั่วโลกมองไทยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการป้องกันการฟอกเงิน และการก่อการร้าย หากทำให้มีมาตรการตรวจสอบที่แข็งแรง ก็จะทำให้ประเทศในภูมิภาคมีความแข็งแกร่งตามไปด้วย โดยในปี 58-59 ไทยจะต้องถูกประเมินอีกครั้ง จาก FATF ซึ่งปรับเกณฑ์การประเมินใหม่ จากที่กำหนดให้ต้องผ่านไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ จาก 40 ข้อ โดยครั้งที่ไทยติดแบล็กลิสต์ประเทศเสี่ยงฟอกเงิน เพราะเรายังมีข้อบกพร่องร้ายแรงถึง 13 ข้อ แต่ในการประเมินรอบใหม่ FATF กำหนดให้ต้องผ่านไม่ต่ำกว่า 7 ข้อ ดังนั้นไทยจึงต้องเร่งแก้กฎหมาย เพราะถ้าสอบตก ไทยจะถูกตอบโต้ทางการเงินเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 55 ซึ่งผลกระทบแรงกว่าปัญหาค้ามนุษย์ ที่มีผลกระทบกับสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว แต่ถ้าติดแบล็กลิสต์ฟอกเงิน จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของไทย ที่ไม่สามารถทำธุรกรรมการเงินกับประเทศใดในโลกได้ ซึ่งถือเป็นกติกาโลกที่ไทยต้องปฏิบัติตาม" พ.ต.อ.สีหนาท กล่าว
**เตือนแนวคิดแจกเงินจะเหมือนรัฐบาลปชป.
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่จะช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย เพราะจะเป็นการลดช่องว่างระหว่างรายได้ของประชาชน แต่การที่ สศค. มีแนวคิดที่จะเสนอให้แจกเงินให้กับผู้มีรายน้อยโดยตรง โดยจะใช้ทะเบียนผู้เสียภาษีเป็นตัวกำหนด น่าจะเป็นแนวทางที่ผิด เพราะประชาชนจำนวนมาก ที่ยากจนอย่างแท้จริง เช่น ชาวนา และ เกษตรกร จะไม่ได้อยู่ในบัญชีนี้ อีกทั้งเป็นการให้แบบสูญเปล่า เหมือนกับสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่แจกเงินคนละ 2,000 บาท ซึ่งไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดการผลิต หรือก่อให้ผลดีต่อเศรษฐกิจเลย อีกทั้งยังไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ยากจน และมีความจำเป็นอย่างแท้จริง
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายอะไรที่จะพยายามหลีกเลี่ยงว่า ไม่ใช่ประชานิยม ก็อยากให้มีแนวคิดที่จะช่วยเหลือประชาชนที่มีรายน้อยอย่างแท้จริง และอยากให้ส่งเสริมให้มีการผลิตหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับประเทศด้วย ในอดีตที่ผ่านมาขนาดมีนโยบายที่ถูกเรียกว่าเป็นประชานิยม ช่องว่างระหว่างรายได้ประชาชนกลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งในอดีตถึงปัจจุบัน ก็ไม่ได้สร้างหนี้สาธารณะมากมาย ถึงจะทำให้ประเทศล้มละลายแต่อย่างใด หนี้สาธารณะต่อรายได้ประชาชาติยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้มาโดยตลอด