นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวข้อถกเถียงกรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.หรือไม่ ว่า ต้องตีความข้อกฎหมาย เพราะปกติตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 ระบุให้ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ได้แก่ ส.ส. ส.ว.และคณะรัฐมนตรี แต่ สนช.เป็นตำแหน่งกรณีพิเศษที่ทำหน้าที่เหมือน ส.ส.และ ส.ว. ซึ่งกฎหมาย ป.ป.ช.ไม่ได้ระบุว่าต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน คงต้องมีการนำมาเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2549 ซึ่งขณะนั้นกำหนดให้ สนช.ต้องยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.หลังจากเข้ารับตำแหน่งภายใน30 วัน
ดังนั้น หากยึดถือตามธรรมเนียมปฏิบัติเหมือนปี 2549 ที่ผ่านมา สนช.ก็มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน ทั้งนี้ เชื่อว่าที่ประชุม ป.ป.ช.คงยึดถือตามแนวปฏิบัติเดิมที่เคยมีมา ส่วนเมื่อยื่นบัญชีทรัพย์สินแล้วจะต้องเปิดเผยให้สาธารณชนทราบเหมือนกรณี ส.ส.และ ส.ว.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเห็นของที่ประชุม ป.ปช.ในวันที่ 14 สิงหาคมนี้
รวมถึงกรณีที่ สนช.หลายคนเป็นห่วงเรื่องการถือครองหุ้นในรัฐวิสาหกิจที่เป็นคู่สัมปทานกับรัฐ ซึ่งเป็นคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำรงตำแหน่ง สนช. นายสรรเสริญ กล่าวว่า ต้องรอดูมติของที่ประชุม ป.ป.ช.ในเรื่องนี้จะเห็นเป็นอย่างไรจะมีข้อยกเว้นอะไรหรือไม่ เพราะถ้ามีรายละเอียดข้อห้ามมากมายก็คงไม่มีใครอยากมาเป็น สนช.
ดังนั้น หากยึดถือตามธรรมเนียมปฏิบัติเหมือนปี 2549 ที่ผ่านมา สนช.ก็มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน ทั้งนี้ เชื่อว่าที่ประชุม ป.ป.ช.คงยึดถือตามแนวปฏิบัติเดิมที่เคยมีมา ส่วนเมื่อยื่นบัญชีทรัพย์สินแล้วจะต้องเปิดเผยให้สาธารณชนทราบเหมือนกรณี ส.ส.และ ส.ว.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเห็นของที่ประชุม ป.ปช.ในวันที่ 14 สิงหาคมนี้
รวมถึงกรณีที่ สนช.หลายคนเป็นห่วงเรื่องการถือครองหุ้นในรัฐวิสาหกิจที่เป็นคู่สัมปทานกับรัฐ ซึ่งเป็นคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำรงตำแหน่ง สนช. นายสรรเสริญ กล่าวว่า ต้องรอดูมติของที่ประชุม ป.ป.ช.ในเรื่องนี้จะเห็นเป็นอย่างไรจะมีข้อยกเว้นอะไรหรือไม่ เพราะถ้ามีรายละเอียดข้อห้ามมากมายก็คงไม่มีใครอยากมาเป็น สนช.