วานนี้ (12 ส.ค.) พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ และผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) ในฐานะสมาชิสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายเรียกร้องให้ สนช. แสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณะ ว่า ทางสนช.พร้อมทำตามขั้นตอน หากมีการแจ้งให้ยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เพื่อดำเนินการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ ตนก็พร้อมดำเนินการ
ในส่วนที่มีความกังวลเรื่องการแบ่งเวลาทำหน้าที่ระหว่างสนช. คณะกรรมาธิการและภารกิจทางทหารนั้น ทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้าคสช. ได้มอบหมายแล้วว่า ใครที่เป็นสนช. ต้องเข้าร่วมประชุมสนช. ให้ครบทุกครั้ง รวมถึงแบ่งระบบ และจัดสรรเวลาการทำงานให้ดี เวลาราชการต้องไม่เสีย และเวลาการประชุมก็ต้องไม่เสียด้วย อย่างไรก็ตาม ทหารสามารถทำได้งานทุกอย่างไม่ว่าจะเวลาไหน เพราะทหารมีความพร้อมทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
ด้าน พล.ท.ธีรชัย นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะ สนช. กล่าวว่า ทางสนช.ในส่วนของทหาร หากจะให้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณะก็ยินดี เพราะไม่มีอะไรที่ต้องปกปิด ส่วนที่มีความเป็นห่วงการที่จะมาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการเพิ่ม แล้วจะมีเวลาเข้าประชุมหรือไม่นั้น ในส่วนของกองทัพบกทั้งหมด ขณะนี้ได้มีการแบ่งงานแต่ละส่วนมอบหมายให้บุคคลที่ไม่ได้เข้ามาเป็นสนช. ช่วยทำหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กองทัพได้มีการคิดอยู่แล้ว
ขณะที่ พล.ท.วลิต โรจนภักดี แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะ สนช. กล่าวว่า สนช.ทุกคนพร้อมดำเนินการตามระเบียบหากมีการแจ้งมาก็พร้อมเปิดเผยข้อมูลบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินต่อสาธารณะ ส่วนที่มีความกังวลเรื่องการทำหน้าที่ของสนช. ในส่วนของทหารที่ยังรับราชการและมีหน้าที่ทางทหารต้องปฏิบัติอยู่นั้น หากมีการเปิดประชุมสนช. และตั้งคณะกรรมาธิการจะมีเวลามาร่วมประชุมหรือไม่นั้น ในส่วนของตน หากไม่ติด
ภารกิจอื่นที่จำเป็น ก็จะเดินทางมาเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้หลังจากโปรดเกล้าฯ ประธานสนช.แล้ว ที่ประชุมสนช. คงจะมีการเรียกประชุมเพื่อกำหนดรายละเอียดกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตามหัวหน้าคสช.ได้กำชับให้นายทหาร ที่ยังอยู่ในราชการแล้วที่มาเป็นสนช. ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดและทำตามระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัดด้วย
พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายเรียกร้องให้ คสช. แสดงความบริสุทธิ์ใจเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะ ทั้งช่วงก่อนและหลังเข้ารับตำแหน่ง รวมทั้งระหว่างอยู่ในตำแหน่ง เพื่อให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตลอดเวลา ว่า ขณะนี้ตนยังไม่มีข้อมูล และยังไม่ทราบเรื่อง รวมถึงยังไม่มีองค์กร หรือหน่วยงานใดแจ้งเรื่องมายัง คสช. อย่างเป็นทางการ เพื่อขอให้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สนช. กล่าวถึง การยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ สนช. ว่า เรื่องนี้ไม่ต้องเถียงกันว่า กฎหมายกำหนดว่า ให้ยื่นหรือไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินฯ แต่ในฐานะที่ สนช.เข้าสู่วงจรการเมือง ถือเป็นบุคคลสาธารณะ ทุกคนต้องถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินฯ ที่ผ่านมาบ้านเมืองวุ่นวาย และสังคมถกเถียงกันคือเรื่องการโกง คอร์รัปชัน ดังนั้นเพื่อตรวจสอบ และป้องกันเรื่องนี้ได้ วิธีการหนึ่งคือการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน และยิ่งมีที่มาจากคสช. ก็จำเป็นต้องเปิดเผย ไม่เช่นนั้น เราจะไปชี้หน้าว่านักการเมืองได้อย่างไร เพราะเราไม่ทำหรือยกเว้น ซึ่งส่วนตัวก็เตรียมไว้แล้ว เพราะไม่มีอะไรเสียหาย ส่วนกรณีการถือครองหุ้นเกินกำหนดที่อาจขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายนั้น ก็ไม่มีมาตราใด ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ หรือถ้ามีข้อกังวลตรงนี้ เชื่อว่าจะต้องให้กรอบเวลาไว้ดังนั้นจึงไม่มีปัญหา
นายวัลลภ กล่าวถึง การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ขณะนี้ต้องรอให้มีการโปรดเกล้าฯ ประธานและรองประธานสนช.ก่อน จากนั้นประธานสนช. จึงจะจัดระเบียบวาระและเรียกประชุม ซึ่งเท่าดูกรอบเวลาการประชุมสนช. น่าจะเป็นวันจันทร์ที่ 18 ส.ค. วันศุกร์นี้ ไม่น่าจะทัน โดยระเบียบวาระเร่งด่วนมี 2 เรื่อง คือ ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อร่างข้อบังคับการประชุม สนช. ก่อนที่จะนัดประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันถัดๆ ไป
**รับเงินเดือนหลายทางเอาเปรียบปชช.
นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท อดีต ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการดำรงตำแหน่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) และคณะรัฐมนตรีที่จะเกิดขึ้นว่า ควรมีการแสดงบัญชีทรัพย์สินเหมือนนักการเมืองด้วย เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจและตามกติกาทั่วไปที่พึงปฏิบัติ เพราะการกล่าวหาคนอื่นทุจริต แต่ตนเองไม่ยอมถูกตรวจสอบ มันไม่สง่างามการรับเงินเดือนตามระเบียบกระทรวงการคลังเท่าที่เคยปฏิบัติมา ควรรับเงินเดือนที่เดียว โดยให้เลือกที่มีรายได้สูงสุดที่เดียวเท่านั้น แม้จะมี่กี่ตำแหน่งก็ตามไม่ใช่คนเดียวรับหลายที่ เป็นการเอาเปรียบประชาชนเกินไป เงินเดือนทุกบาท คือภาษีประชาชน ยกตัวอย่างเช่นตนเป็น ส.ส. เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี ก็เลือกรับเงินเดือนของส.ส. ส่วนเงินเดือนที่ปรึกษารัฐมนตรี ก็ไม่รับคืนคลังไป ผู้ช่วยที่เป็นข้าราชการอยู่แล้ว ก็รับเงินเดือนเดิมแทนเงินอื่น ๆ ก็ลดลงตามระเบียบ จึงอยากให้กระทรวงการคลัง ยึดปฏิบัติโดยเคร่งครัดอย่าได้เลือกปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐาน รับทั้งเงินเดือนเดิม รับทั้งตำแหน่งใหม่ที่ตั้งขึ้นหลายตำแหน่ง จะมากเกินไปจนใช้ไม่หมด สงสารชาวบ้านบ้างไม่มีเงินเพียงพอต่อการดำรงชีพ
**คาด14 ส.ค.ถกเรื่องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวถึงกรณีที่ ป.ป.ช. เตรียมจะพิจารณาว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินต่อ ป.ป.ช. หรือไม่ว่า เบื้องต้นเห็นว่าสนช. ต้องยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สิน ถือเป็นประเพณีปฏิบัติมาเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2549 ก็ต้องเป็นแนวทางปฏิบัติตามนั้น แม้ว่าพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่ ระบุว่า ผู้ที่ต้องยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สิน คือ ส.ส. และ ส.ว. แต่ต้องเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2549 โดยสนช.ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินภายใน 30
วัน หลังเข้ารับตำแหน่ง และจะมีเจ้าหน้าที่ป.ป.ช.ไปทำความเข้าใจให้ สนช.ทราบถึงรายละเอียดการยื่นบัญชีทรัพย์สิน
ทั้งนี้ ในวันที่ 14 ส.ค.นี้ ป.ป.ช. จะนำเรื่องการพิจารณายื่นบัญชีทรัพย์สินของสนช. เสนอต่อที่ประชุมป.ป.ช.ชุดใหญ่ เพื่อให้ลงมติถึงความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า สนช.หลายคนเป็นห่วงเรื่องการถือครองหุ้นในรัฐวิสาหกิจที่เป็นคู่สัมปทานกับรัฐ ซึ่งเป็นคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำรงตำแหน่ง สนช. นายสรรเสริญ กล่าวว่า ต้องรอดูมติของที่ประชุมป.ป.ช.ในเรื่องนี้จะเห็นเป็นอย่างไร จะมีข้อยกเว้นอะไร หรือไม่ เพราะถ้ามีรายละเอียดข้อห้ามมากมาย ก็คงไม่มีใครอยากมาเป็น สนช.
**วิปสนช.ใช้ประสานงาน ไม่ใช่คุมเสียง
พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ อดีตส.ว.สรรหา และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง แนวทางการทำงานเบื้องต้นของ สนช.ว่า เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ ประธานและรองประธาน สนช.แล้ว ก็จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สนช. พ.ศ.2557 เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานว่า สนช. จะต้องมีคณะกรรมาธิการสามัญกี่คณะ ตลอดจนถึงการกำหนดข้อบังคับ เพื่อเป็นแนวทางการเลือกนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่ก็จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 19 ก็ได้ให้อำนาจสนช. ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีเอาไว้แล้ว
ดังนั้นการเลือกนายกรัฐมนตรี ก็อาจทำได้ก่อนการยกร่างข้อบังคับการประชุม ด้วยการขออนุโลมข้อบังคับการประชุมบางข้อ เพื่อให้ที่ประชุมเสนอชื่อ และลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้เลย ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่มีกำหนดการแน่ชัดว่า จะเลือกนายกรัฐมนตรีวันไหน แต่เชื่อว่าจะเป็นไปตามโรดแมป คสช. แน่นอน อย่างไรก็ตาม กระบวนการทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ ประธาน และรองประธาน สนช. ว่าจะเห็นเป็นอย่างไร
ส่วนการ ตั้งคณะกรรมการประสานงานกิจการ สนช. นั้นก็คาดว่า จะยึดรูปแบบ คณะกรรมการประสานกิจการวุฒิสภา หรือวิปวุฒิสภา เป็นหลัก ซึ่งจะประกอบด้วย ประธาน สนช. เป็นประธานวิป และคณะทำงานวิปมาจากตัวแทนของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละคณะ เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน และลำดับความสำคัญของกฎหมาย ที่เสนอมาจากรัฐบาลและสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ไม่ใช่มีวิปไว้ควบคุมคะแนนเสียงแบบสภาผู้แทนราษฎร เพราะสนช. ไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง สมาชิกทุกคนมี 1 เสียง ในการลงมติอย่างเป็นอิสระเท่ากัน
นายพีระศักดิ์ พอจิต สนช. และว่าที่รองประธาน สนช. คนที่สอง กล่าวว่า ในวันนี้ (13 ส.ค.) จะมีการหารือระหว่าง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ว่าที่ประธานสนช. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ รองประธานสนช. คนที่ 1 และตน ที่รัฐสภา เพื่อหารือถึงเรื่องระเบียบข้อบังคับการประชุมต่างๆ กรอบเวลาการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 และกรอบเวลาการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี
อย่างไรก็ตาม เท่าที่คาดการณ์เบื้องต้น น่าจะโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ในช่วงสัปดาห์หน้า ซึ่งคงต้องรีบดำเนินการโดยเร็ว เพื่อให้การบริหารบ้านเมืองเดินหน้าได้ เชื่อว่าคงมีการเสนอชื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นนายกรัฐมนตรีแน่นอน คงไม่มีการเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็นนายกรัฐมนตรีมาร่วมแข่งขันด้วย
**เร่งถกงบปี 58 ให้เสร็จก่อน 30 ก.ย.
นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา กล่าวถึง การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ว่า ขณะนี้สำนักเลขาธิการวุฒิสภา เตรียมความพร้อมในการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ต้องรอการโปรดเกล้าฯ ประธาน และรองประธาน สนช.ให้เรียบร้อยก่อน เพื่อกำหนดวันนัดประชุมต่อไป รวมถึงต้องรอหนังสือจากหัวหน้าคสช. ที่จะส่งรายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2558 มาให้สำนักเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งคงมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ก่อนการโหวตเลือกตัวนายกรัฐมนตรี ดังนั้นผู้ที่จะทำหน้าที่เสนอ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้คือ หัวหน้า คสช. ที่จะทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
ส่วนขั้นตอนการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 นั้น จะเป็นการตั้งกรรมาธิการวิสามัญฯ ตามขั้นตอนปกติ มีตัวแทนจาก สนช. หน่วยงานราชการ และบุคคลภายนอกร่วมเป็นกรรมาธิการฯ เพียงแต่สัดส่วนกรรมาธิการจากหน่วยงานต่างๆ อาจจะไม่เหมือนเดิม เพราะไม่มีพรรคการเมืองร่วมเป็นกรรมาธิการในครั้งนี้
ทั้งนี้กรรมาธิการวิสามัญฯจะต้องเร่งรัดการพิจารณาเป็นพิเศษ ให้เสร็จก่อนวันที่ 30 ก.ย.นี้ เพื่อให้การใช้งบประมาณรายจ่ายปี 58 ที่จะเริ่มในวันที่ 1 ต.ค.57 ส่วนการกำหนดวันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น ยังไม่มีความชัดเจน ต้องรอการโปรดเกล้าฯ ประธาน และรองประธาน สนช. ลงมาก่อน
ในส่วนที่มีความกังวลเรื่องการแบ่งเวลาทำหน้าที่ระหว่างสนช. คณะกรรมาธิการและภารกิจทางทหารนั้น ทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้าคสช. ได้มอบหมายแล้วว่า ใครที่เป็นสนช. ต้องเข้าร่วมประชุมสนช. ให้ครบทุกครั้ง รวมถึงแบ่งระบบ และจัดสรรเวลาการทำงานให้ดี เวลาราชการต้องไม่เสีย และเวลาการประชุมก็ต้องไม่เสียด้วย อย่างไรก็ตาม ทหารสามารถทำได้งานทุกอย่างไม่ว่าจะเวลาไหน เพราะทหารมีความพร้อมทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
ด้าน พล.ท.ธีรชัย นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะ สนช. กล่าวว่า ทางสนช.ในส่วนของทหาร หากจะให้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณะก็ยินดี เพราะไม่มีอะไรที่ต้องปกปิด ส่วนที่มีความเป็นห่วงการที่จะมาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการเพิ่ม แล้วจะมีเวลาเข้าประชุมหรือไม่นั้น ในส่วนของกองทัพบกทั้งหมด ขณะนี้ได้มีการแบ่งงานแต่ละส่วนมอบหมายให้บุคคลที่ไม่ได้เข้ามาเป็นสนช. ช่วยทำหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กองทัพได้มีการคิดอยู่แล้ว
ขณะที่ พล.ท.วลิต โรจนภักดี แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะ สนช. กล่าวว่า สนช.ทุกคนพร้อมดำเนินการตามระเบียบหากมีการแจ้งมาก็พร้อมเปิดเผยข้อมูลบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินต่อสาธารณะ ส่วนที่มีความกังวลเรื่องการทำหน้าที่ของสนช. ในส่วนของทหารที่ยังรับราชการและมีหน้าที่ทางทหารต้องปฏิบัติอยู่นั้น หากมีการเปิดประชุมสนช. และตั้งคณะกรรมาธิการจะมีเวลามาร่วมประชุมหรือไม่นั้น ในส่วนของตน หากไม่ติด
ภารกิจอื่นที่จำเป็น ก็จะเดินทางมาเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้หลังจากโปรดเกล้าฯ ประธานสนช.แล้ว ที่ประชุมสนช. คงจะมีการเรียกประชุมเพื่อกำหนดรายละเอียดกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตามหัวหน้าคสช.ได้กำชับให้นายทหาร ที่ยังอยู่ในราชการแล้วที่มาเป็นสนช. ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดและทำตามระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัดด้วย
พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายเรียกร้องให้ คสช. แสดงความบริสุทธิ์ใจเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะ ทั้งช่วงก่อนและหลังเข้ารับตำแหน่ง รวมทั้งระหว่างอยู่ในตำแหน่ง เพื่อให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตลอดเวลา ว่า ขณะนี้ตนยังไม่มีข้อมูล และยังไม่ทราบเรื่อง รวมถึงยังไม่มีองค์กร หรือหน่วยงานใดแจ้งเรื่องมายัง คสช. อย่างเป็นทางการ เพื่อขอให้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สนช. กล่าวถึง การยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ สนช. ว่า เรื่องนี้ไม่ต้องเถียงกันว่า กฎหมายกำหนดว่า ให้ยื่นหรือไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินฯ แต่ในฐานะที่ สนช.เข้าสู่วงจรการเมือง ถือเป็นบุคคลสาธารณะ ทุกคนต้องถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินฯ ที่ผ่านมาบ้านเมืองวุ่นวาย และสังคมถกเถียงกันคือเรื่องการโกง คอร์รัปชัน ดังนั้นเพื่อตรวจสอบ และป้องกันเรื่องนี้ได้ วิธีการหนึ่งคือการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน และยิ่งมีที่มาจากคสช. ก็จำเป็นต้องเปิดเผย ไม่เช่นนั้น เราจะไปชี้หน้าว่านักการเมืองได้อย่างไร เพราะเราไม่ทำหรือยกเว้น ซึ่งส่วนตัวก็เตรียมไว้แล้ว เพราะไม่มีอะไรเสียหาย ส่วนกรณีการถือครองหุ้นเกินกำหนดที่อาจขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายนั้น ก็ไม่มีมาตราใด ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ หรือถ้ามีข้อกังวลตรงนี้ เชื่อว่าจะต้องให้กรอบเวลาไว้ดังนั้นจึงไม่มีปัญหา
นายวัลลภ กล่าวถึง การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ขณะนี้ต้องรอให้มีการโปรดเกล้าฯ ประธานและรองประธานสนช.ก่อน จากนั้นประธานสนช. จึงจะจัดระเบียบวาระและเรียกประชุม ซึ่งเท่าดูกรอบเวลาการประชุมสนช. น่าจะเป็นวันจันทร์ที่ 18 ส.ค. วันศุกร์นี้ ไม่น่าจะทัน โดยระเบียบวาระเร่งด่วนมี 2 เรื่อง คือ ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อร่างข้อบังคับการประชุม สนช. ก่อนที่จะนัดประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันถัดๆ ไป
**รับเงินเดือนหลายทางเอาเปรียบปชช.
นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท อดีต ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการดำรงตำแหน่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) และคณะรัฐมนตรีที่จะเกิดขึ้นว่า ควรมีการแสดงบัญชีทรัพย์สินเหมือนนักการเมืองด้วย เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจและตามกติกาทั่วไปที่พึงปฏิบัติ เพราะการกล่าวหาคนอื่นทุจริต แต่ตนเองไม่ยอมถูกตรวจสอบ มันไม่สง่างามการรับเงินเดือนตามระเบียบกระทรวงการคลังเท่าที่เคยปฏิบัติมา ควรรับเงินเดือนที่เดียว โดยให้เลือกที่มีรายได้สูงสุดที่เดียวเท่านั้น แม้จะมี่กี่ตำแหน่งก็ตามไม่ใช่คนเดียวรับหลายที่ เป็นการเอาเปรียบประชาชนเกินไป เงินเดือนทุกบาท คือภาษีประชาชน ยกตัวอย่างเช่นตนเป็น ส.ส. เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี ก็เลือกรับเงินเดือนของส.ส. ส่วนเงินเดือนที่ปรึกษารัฐมนตรี ก็ไม่รับคืนคลังไป ผู้ช่วยที่เป็นข้าราชการอยู่แล้ว ก็รับเงินเดือนเดิมแทนเงินอื่น ๆ ก็ลดลงตามระเบียบ จึงอยากให้กระทรวงการคลัง ยึดปฏิบัติโดยเคร่งครัดอย่าได้เลือกปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐาน รับทั้งเงินเดือนเดิม รับทั้งตำแหน่งใหม่ที่ตั้งขึ้นหลายตำแหน่ง จะมากเกินไปจนใช้ไม่หมด สงสารชาวบ้านบ้างไม่มีเงินเพียงพอต่อการดำรงชีพ
**คาด14 ส.ค.ถกเรื่องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวถึงกรณีที่ ป.ป.ช. เตรียมจะพิจารณาว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินต่อ ป.ป.ช. หรือไม่ว่า เบื้องต้นเห็นว่าสนช. ต้องยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สิน ถือเป็นประเพณีปฏิบัติมาเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2549 ก็ต้องเป็นแนวทางปฏิบัติตามนั้น แม้ว่าพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่ ระบุว่า ผู้ที่ต้องยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สิน คือ ส.ส. และ ส.ว. แต่ต้องเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2549 โดยสนช.ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินภายใน 30
วัน หลังเข้ารับตำแหน่ง และจะมีเจ้าหน้าที่ป.ป.ช.ไปทำความเข้าใจให้ สนช.ทราบถึงรายละเอียดการยื่นบัญชีทรัพย์สิน
ทั้งนี้ ในวันที่ 14 ส.ค.นี้ ป.ป.ช. จะนำเรื่องการพิจารณายื่นบัญชีทรัพย์สินของสนช. เสนอต่อที่ประชุมป.ป.ช.ชุดใหญ่ เพื่อให้ลงมติถึงความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า สนช.หลายคนเป็นห่วงเรื่องการถือครองหุ้นในรัฐวิสาหกิจที่เป็นคู่สัมปทานกับรัฐ ซึ่งเป็นคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำรงตำแหน่ง สนช. นายสรรเสริญ กล่าวว่า ต้องรอดูมติของที่ประชุมป.ป.ช.ในเรื่องนี้จะเห็นเป็นอย่างไร จะมีข้อยกเว้นอะไร หรือไม่ เพราะถ้ามีรายละเอียดข้อห้ามมากมาย ก็คงไม่มีใครอยากมาเป็น สนช.
**วิปสนช.ใช้ประสานงาน ไม่ใช่คุมเสียง
พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ อดีตส.ว.สรรหา และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง แนวทางการทำงานเบื้องต้นของ สนช.ว่า เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ ประธานและรองประธาน สนช.แล้ว ก็จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สนช. พ.ศ.2557 เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานว่า สนช. จะต้องมีคณะกรรมาธิการสามัญกี่คณะ ตลอดจนถึงการกำหนดข้อบังคับ เพื่อเป็นแนวทางการเลือกนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่ก็จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 19 ก็ได้ให้อำนาจสนช. ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีเอาไว้แล้ว
ดังนั้นการเลือกนายกรัฐมนตรี ก็อาจทำได้ก่อนการยกร่างข้อบังคับการประชุม ด้วยการขออนุโลมข้อบังคับการประชุมบางข้อ เพื่อให้ที่ประชุมเสนอชื่อ และลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้เลย ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่มีกำหนดการแน่ชัดว่า จะเลือกนายกรัฐมนตรีวันไหน แต่เชื่อว่าจะเป็นไปตามโรดแมป คสช. แน่นอน อย่างไรก็ตาม กระบวนการทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ ประธาน และรองประธาน สนช. ว่าจะเห็นเป็นอย่างไร
ส่วนการ ตั้งคณะกรรมการประสานงานกิจการ สนช. นั้นก็คาดว่า จะยึดรูปแบบ คณะกรรมการประสานกิจการวุฒิสภา หรือวิปวุฒิสภา เป็นหลัก ซึ่งจะประกอบด้วย ประธาน สนช. เป็นประธานวิป และคณะทำงานวิปมาจากตัวแทนของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละคณะ เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน และลำดับความสำคัญของกฎหมาย ที่เสนอมาจากรัฐบาลและสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ไม่ใช่มีวิปไว้ควบคุมคะแนนเสียงแบบสภาผู้แทนราษฎร เพราะสนช. ไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง สมาชิกทุกคนมี 1 เสียง ในการลงมติอย่างเป็นอิสระเท่ากัน
นายพีระศักดิ์ พอจิต สนช. และว่าที่รองประธาน สนช. คนที่สอง กล่าวว่า ในวันนี้ (13 ส.ค.) จะมีการหารือระหว่าง นายพรเพชร วิชิตชลชัย ว่าที่ประธานสนช. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ รองประธานสนช. คนที่ 1 และตน ที่รัฐสภา เพื่อหารือถึงเรื่องระเบียบข้อบังคับการประชุมต่างๆ กรอบเวลาการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 และกรอบเวลาการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี
อย่างไรก็ตาม เท่าที่คาดการณ์เบื้องต้น น่าจะโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ในช่วงสัปดาห์หน้า ซึ่งคงต้องรีบดำเนินการโดยเร็ว เพื่อให้การบริหารบ้านเมืองเดินหน้าได้ เชื่อว่าคงมีการเสนอชื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นนายกรัฐมนตรีแน่นอน คงไม่มีการเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็นนายกรัฐมนตรีมาร่วมแข่งขันด้วย
**เร่งถกงบปี 58 ให้เสร็จก่อน 30 ก.ย.
นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา กล่าวถึง การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ว่า ขณะนี้สำนักเลขาธิการวุฒิสภา เตรียมความพร้อมในการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ต้องรอการโปรดเกล้าฯ ประธาน และรองประธาน สนช.ให้เรียบร้อยก่อน เพื่อกำหนดวันนัดประชุมต่อไป รวมถึงต้องรอหนังสือจากหัวหน้าคสช. ที่จะส่งรายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2558 มาให้สำนักเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งคงมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ก่อนการโหวตเลือกตัวนายกรัฐมนตรี ดังนั้นผู้ที่จะทำหน้าที่เสนอ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้คือ หัวหน้า คสช. ที่จะทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
ส่วนขั้นตอนการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 นั้น จะเป็นการตั้งกรรมาธิการวิสามัญฯ ตามขั้นตอนปกติ มีตัวแทนจาก สนช. หน่วยงานราชการ และบุคคลภายนอกร่วมเป็นกรรมาธิการฯ เพียงแต่สัดส่วนกรรมาธิการจากหน่วยงานต่างๆ อาจจะไม่เหมือนเดิม เพราะไม่มีพรรคการเมืองร่วมเป็นกรรมาธิการในครั้งนี้
ทั้งนี้กรรมาธิการวิสามัญฯจะต้องเร่งรัดการพิจารณาเป็นพิเศษ ให้เสร็จก่อนวันที่ 30 ก.ย.นี้ เพื่อให้การใช้งบประมาณรายจ่ายปี 58 ที่จะเริ่มในวันที่ 1 ต.ค.57 ส่วนการกำหนดวันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น ยังไม่มีความชัดเจน ต้องรอการโปรดเกล้าฯ ประธาน และรองประธาน สนช. ลงมาก่อน