นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้แจงสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสอีโบลา ว่า ประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำ แต่จะมีการเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้วางมาตรการไว้ 3 ด้าน คือ เฝ้าระวัง คัดกรองผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน ซึ่งมีการแพร่ระบาดในโรคนี้ โดยเฉพาะการตรวจที่สนามบินทั้ง 5 แห่ง คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ อุดรธานี และหาดใหญ่ การให้แต่ละโรงพยาบาลมีการเตรียมความพร้อมทุกด้านไว้ในการดูแลผู้ป่วย และเตรียมความพร้อม ด้านกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ โดยประสานงานกับต่างประเทศเกี่ยวกับการวิจัยในโรคนี้อย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ซึ่งล่าสุดบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการติดเชื้อ เดินทางมาประเทศไทย ที่ต้องเฝ้าระวังขณะนี้มี 21 ราย ซึ่งหากพ้นช่วง 21 วัน หากไม่พบอาการป่วย ก็ถือว่าปลอดภัย ส่วนวิธีการรักษา ยังไม่มีวัคซีน หรือยารักษาโรคโดยเฉพาะ แต่จะรักษาตามอาการ โดยมีมาตรการเทียบเคียงกับต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดของเชื้ออีโบลาทั่วโลก จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม พบว่ามีผู้ป่วยแล้ว 1,603 ราย เสียชีวิต 887 ราย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ซึ่งล่าสุดบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการติดเชื้อ เดินทางมาประเทศไทย ที่ต้องเฝ้าระวังขณะนี้มี 21 ราย ซึ่งหากพ้นช่วง 21 วัน หากไม่พบอาการป่วย ก็ถือว่าปลอดภัย ส่วนวิธีการรักษา ยังไม่มีวัคซีน หรือยารักษาโรคโดยเฉพาะ แต่จะรักษาตามอาการ โดยมีมาตรการเทียบเคียงกับต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดของเชื้ออีโบลาทั่วโลก จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม พบว่ามีผู้ป่วยแล้ว 1,603 ราย เสียชีวิต 887 ราย