พวกผู้โดยสารในสนามบินต่างประเทศหลายแห่งที่มีเที่ยวบินตรงสู่สหรัฐฯ ต้องสามารถปิดใช้งานโทรศัพท์สมาร์ตโฟนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ของพวกเขาได้ จึงจะได้รับอนุญาตให้ขึ้นเครื่องบิน ทั้งนี้ตามมาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมที่เปิดเผยโดยหน่วยงานรับผิดชอบของอเมริกาเมื่อวันอาทิตย์ (6 ก.ค.) โดยที่มีรายงานว่า สมาร์ตโฟนซึ่งถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษได้แก่ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมจากค่ายแอปเปิลและซัมซุง แถมนอกจากพวกผลิตภัณฑ์ไฮเทคแล้ว ข้าวของของผู้โดยสารอีกอย่างหนึ่งที่ถูกเน้นตรวจสอบเป็นพิเศษก็คือรองเท้า
สำนักงานความปลอดภัยในการขนส่งของสหรัฐฯ (TSA) ออกคำแถลงระบุว่า ได้เรียกร้องขอความร่วมมือจากสนามบินที่อยู่นอกสหรัฐฯบางแห่ง ซึ่งมีเที่ยวบินตรงสู่เมืองต่างๆ ในอเมริกา ให้เพิ่มมาตรการตรวจสอบด้วยการขอให้ผู้โดยสารเปิดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ ของพวกเขาให้เจ้าหน้าที่ดู ก่อนอนุญาตให้ขึ้นเครื่องบิน หากอุปกรณ์ดังกล่าวไม่มีพลังงานแบตเตอรี่เหลืออยู่ จะไม่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่อง และผู้โดยสารผู้นั้นต้องได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติม
ทางด้านสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า โทรศัพท์มือถือที่ได้รับการเพ่งเล็งเป็นพิเศษคือ ผลิตภัณฑ์สมาร์ตโฟนจากค่ายแอปเปิลและซัมซุง ขณะที่สำนักข่าวเอเอฟพีกล่าวว่าผู้โดยสารที่ประสบกับมาตรการรักษาความปลอดภัยใหม่ๆ คราวนี้ คือผู้ที่มุ่งเดินทางสู่สหรัฐฯจากสนามบินในแถบยุโรปและตะวันออกกลาง
คำแถลงของ TSA ชี้ด้วยว่า อาจมีการ “ปรับเปลี่ยน” มาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมขึ้นอีก ทั้งนี้ก็เพื่อคุ้มครองให้ความปลอดภัยของนักเดินทางในระดับสูงสุด
เอเอฟพีรายงานว่า หน่วยงานรับผิดชอบในฝรั่งเศสและในอังกฤษ ได้เรียกร้องผู้โดยสารเผื่อเวลาเพิ่มเติมเป็นพิเศษสำหรับการผ่านมาตรการตรวจสอบใหม่ๆ นี้ ซึ่งไม่ได้มีการแถลงอย่างเฉพาะเจาะจงแต่เป็นที่เชื่อกันว่ามุ่งโฟกัสไปที่รองเท้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้โดยสาร
ส่วน เอบีซีนิวส์ หรือ ฝ่ายข่าวของเครือข่ายโทรทัศน์เอบีซีของสหรัฐฯ ระบุว่า กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ (DHS) ซึ่งเป็นต้นสังกัดของ TSA ยังกำลังขอให้สนามบินและสายการบินทั้งในยุโรปและภูมิภาคอื่นๆ ตรวจรองเท้าของผู้โดยสารที่มีจุดหมายปลายทางสู่อเมริกา รวมทั้งเพิ่มการสุ่มตรวจค้นตัวนักเดินทาง
เอบีซีนิวส์ได้อ้างอิงการเปิดเผยของแหล่งข่าวผู้หนึ่งที่กล่าวว่า ภัยคุกคามที่ไม่ได้มีการระบุเฉพาะเจาะจงคราวนี้ มีความแตกต่างและมีความสลับซับซ้อนยิ่งกว่ากโลบายก่อวินาศกรรมเครื่องบินในอดีตที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ข่าวกรองอเมริกันกำลังวิตกกังวลว่า เครือข่ายอัล-กออิดะห์กำลังพยายามพัฒนาระเบิดที่สามารถเล็ดรอดระบบตรวจสอบในสนามบินได้ แม้ยังไม่มีข้อมูลระบุว่า มีการพัฒนาระเบิดดังกล่าวแล้วหรือมีภัยคุกคามเฉพาะเจาะจงต่ออเมริกาก็ตาม
สำนักงานความปลอดภัยในการขนส่งของสหรัฐฯ (TSA) ออกคำแถลงระบุว่า ได้เรียกร้องขอความร่วมมือจากสนามบินที่อยู่นอกสหรัฐฯบางแห่ง ซึ่งมีเที่ยวบินตรงสู่เมืองต่างๆ ในอเมริกา ให้เพิ่มมาตรการตรวจสอบด้วยการขอให้ผู้โดยสารเปิดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ ของพวกเขาให้เจ้าหน้าที่ดู ก่อนอนุญาตให้ขึ้นเครื่องบิน หากอุปกรณ์ดังกล่าวไม่มีพลังงานแบตเตอรี่เหลืออยู่ จะไม่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่อง และผู้โดยสารผู้นั้นต้องได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติม
ทางด้านสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า โทรศัพท์มือถือที่ได้รับการเพ่งเล็งเป็นพิเศษคือ ผลิตภัณฑ์สมาร์ตโฟนจากค่ายแอปเปิลและซัมซุง ขณะที่สำนักข่าวเอเอฟพีกล่าวว่าผู้โดยสารที่ประสบกับมาตรการรักษาความปลอดภัยใหม่ๆ คราวนี้ คือผู้ที่มุ่งเดินทางสู่สหรัฐฯจากสนามบินในแถบยุโรปและตะวันออกกลาง
คำแถลงของ TSA ชี้ด้วยว่า อาจมีการ “ปรับเปลี่ยน” มาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมขึ้นอีก ทั้งนี้ก็เพื่อคุ้มครองให้ความปลอดภัยของนักเดินทางในระดับสูงสุด
เอเอฟพีรายงานว่า หน่วยงานรับผิดชอบในฝรั่งเศสและในอังกฤษ ได้เรียกร้องผู้โดยสารเผื่อเวลาเพิ่มเติมเป็นพิเศษสำหรับการผ่านมาตรการตรวจสอบใหม่ๆ นี้ ซึ่งไม่ได้มีการแถลงอย่างเฉพาะเจาะจงแต่เป็นที่เชื่อกันว่ามุ่งโฟกัสไปที่รองเท้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้โดยสาร
ส่วน เอบีซีนิวส์ หรือ ฝ่ายข่าวของเครือข่ายโทรทัศน์เอบีซีของสหรัฐฯ ระบุว่า กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ (DHS) ซึ่งเป็นต้นสังกัดของ TSA ยังกำลังขอให้สนามบินและสายการบินทั้งในยุโรปและภูมิภาคอื่นๆ ตรวจรองเท้าของผู้โดยสารที่มีจุดหมายปลายทางสู่อเมริกา รวมทั้งเพิ่มการสุ่มตรวจค้นตัวนักเดินทาง
เอบีซีนิวส์ได้อ้างอิงการเปิดเผยของแหล่งข่าวผู้หนึ่งที่กล่าวว่า ภัยคุกคามที่ไม่ได้มีการระบุเฉพาะเจาะจงคราวนี้ มีความแตกต่างและมีความสลับซับซ้อนยิ่งกว่ากโลบายก่อวินาศกรรมเครื่องบินในอดีตที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ข่าวกรองอเมริกันกำลังวิตกกังวลว่า เครือข่ายอัล-กออิดะห์กำลังพยายามพัฒนาระเบิดที่สามารถเล็ดรอดระบบตรวจสอบในสนามบินได้ แม้ยังไม่มีข้อมูลระบุว่า มีการพัฒนาระเบิดดังกล่าวแล้วหรือมีภัยคุกคามเฉพาะเจาะจงต่ออเมริกาก็ตาม