ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คสช. กับ การปฏิรูปการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 18 มิถุนายน 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับการเร่งดำเนินการปฏิรูปการเมืองในด้านต่าง ๆ ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเร่งดำเนินการปฏิรูปการเมืองในด้านต่าง ๆ ของ คสช. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 23.43 ระบุว่า ควรปฏิรูประบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองและข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 20.24 ระบุว่า ควรแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักการเมือง ร้อยละ 17.63 ระบุว่า ควรแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ร้อยละ 16.36 ระบุว่า ควรปฏิรูประบบการเลือกตั้ง ร้อยละ 5.76 ระบุว่า ควรพิจารณาคุณสมบัติและที่มาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว. ร้อยละ 4.67 ระบุว่า ควรเพิ่มช่องทางในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจสาธารณะ ร้อยละ 4.06 ระบุว่า ควรเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ร้อยละ 3.40 ระบุว่า ควรป้องกันไม่ให้กลุ่มทุนเข้าครอบงำพรรคการเมือง ร้อยละ 2.61 ระบุว่า ควรสร้างระบบการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร้อยละ 0.14 ระบุว่า อื่น ๆ เช่น การเคารพสิทธิและเสียงในระบอบประชาธิปไตย การเปิดโอกาสให้นักการเมืองรุ่นใหม่ ๆ ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น และควรปฏิรูปไปพร้อม ๆ กันในทุก ๆ เรื่อง และร้อยละ 1.70 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับคุณสมบัติและที่มาของนายกรัฐมนตรีพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.57 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน รองลงมา ร้อยละ 9.74 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 7.50 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. และได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 2.87 ระบุว่า อื่น ๆ เช่น นายกรัฐมนตรี ควรมาจากการแต่งตั้ง และเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และที่สำคัญต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้ และร้อยละ 2.31 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรูปแบบการเลือกตั้ง ส.ส. ที่เหมาะสมกับประเทศไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.04 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบเขตละหนึ่งคน (One Man One Vote) รองลงมา ร้อยละ 25.59 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ ร้อยละ 11.32 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบเขตใหญ่หลายคนแต่ไม่เกิน 3 คนต่อหนึ่งเขต (ระบบพวงใหญ่) ร้อยละ 10.45 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. ตามกลุ่มอาชีพ ร้อยละ 6.36 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อรายจังหวัด ร้อยละ 2.61 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อรายภาค ร้อยละ 0.13 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบอื่น ๆ เช่น การเลือกตั้งแบบสหรัฐอเมริกา และร้อยละ 5.49 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายสุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความจำเป็นของการสังกัดพรรคการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พบว่า ประชาชนเกินครึ่ง หรือร้อยละ 54.27 ระบุว่า ส.ส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ขณะที่ ร้อยละ 40.86 ระบุว่า ส.ส. จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง และร้อยละ 4.87 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.92 เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.92 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 7.02 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 31.21 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 47.09 มีอายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 14.68 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.45 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมา ร้อยละ 4.07 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.48 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 24.26 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.98 สถานภาพสมรสแล้ว และร้อยละ 1.76 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 27.77 ระบุว่าจบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.53 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.50 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.50 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 6.70 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่าง ร้อยละ 13.01 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.09ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.38 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.40 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.96 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 15.64 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 3.51 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 15.24 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.62 มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.05 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.77 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.54 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.62 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.15 ไม่ระบุ
จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเร่งดำเนินการปฏิรูปการเมืองในด้านต่าง ๆ ของ คสช. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 23.43 ระบุว่า ควรปฏิรูประบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองและข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 20.24 ระบุว่า ควรแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักการเมือง ร้อยละ 17.63 ระบุว่า ควรแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ร้อยละ 16.36 ระบุว่า ควรปฏิรูประบบการเลือกตั้ง ร้อยละ 5.76 ระบุว่า ควรพิจารณาคุณสมบัติและที่มาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว. ร้อยละ 4.67 ระบุว่า ควรเพิ่มช่องทางในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจสาธารณะ ร้อยละ 4.06 ระบุว่า ควรเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ร้อยละ 3.40 ระบุว่า ควรป้องกันไม่ให้กลุ่มทุนเข้าครอบงำพรรคการเมือง ร้อยละ 2.61 ระบุว่า ควรสร้างระบบการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร้อยละ 0.14 ระบุว่า อื่น ๆ เช่น การเคารพสิทธิและเสียงในระบอบประชาธิปไตย การเปิดโอกาสให้นักการเมืองรุ่นใหม่ ๆ ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น และควรปฏิรูปไปพร้อม ๆ กันในทุก ๆ เรื่อง และร้อยละ 1.70 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับคุณสมบัติและที่มาของนายกรัฐมนตรีพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.57 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน รองลงมา ร้อยละ 9.74 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 7.50 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. และได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 2.87 ระบุว่า อื่น ๆ เช่น นายกรัฐมนตรี ควรมาจากการแต่งตั้ง และเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และที่สำคัญต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้ และร้อยละ 2.31 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรูปแบบการเลือกตั้ง ส.ส. ที่เหมาะสมกับประเทศไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.04 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบเขตละหนึ่งคน (One Man One Vote) รองลงมา ร้อยละ 25.59 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ ร้อยละ 11.32 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบเขตใหญ่หลายคนแต่ไม่เกิน 3 คนต่อหนึ่งเขต (ระบบพวงใหญ่) ร้อยละ 10.45 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. ตามกลุ่มอาชีพ ร้อยละ 6.36 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อรายจังหวัด ร้อยละ 2.61 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อรายภาค ร้อยละ 0.13 ระบุว่า เป็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบอื่น ๆ เช่น การเลือกตั้งแบบสหรัฐอเมริกา และร้อยละ 5.49 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายสุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความจำเป็นของการสังกัดพรรคการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พบว่า ประชาชนเกินครึ่ง หรือร้อยละ 54.27 ระบุว่า ส.ส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ขณะที่ ร้อยละ 40.86 ระบุว่า ส.ส. จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง และร้อยละ 4.87 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.92 เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.92 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 7.02 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 31.21 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 47.09 มีอายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 14.68 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.45 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมา ร้อยละ 4.07 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.48 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 24.26 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.98 สถานภาพสมรสแล้ว และร้อยละ 1.76 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 27.77 ระบุว่าจบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.53 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.50 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.50 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 6.70 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่าง ร้อยละ 13.01 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.09ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.38 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.40 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.96 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 15.64 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 3.51 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 15.24 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.62 มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.05 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.77 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.54 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.62 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.15 ไม่ระบุ