ทีมค้นหาเที่ยวบิน MH370 แถลงสรุปในวันพฤหัสบดี (29 พ.ค.) บริเวณที่ตรวจพบสัญญาณเสียง “ping” ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดียเมื่อต้นเดือนที่แล้ว ไม่ใช่จุดตกของเครื่องบินโดยสารของมาเลเซียซึ่งหายสาบสูญไปเกือบ 3 เดือน ทั้งนี้หลังจากยานดำน้ำอัตโนมัติของสหรัฐฯเสร็จสิ้นการฏิบัติการโดยไม่พบร่องรอยใดๆ ของโบอิ้ง 777 ลำนี้เลย ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีรายงานข่าวสับสนจากอเมริกาที่ทำให้เกิดข้อกังขาขึ้นมาอีกว่า สัญญาณเสียงดังกล่าวมาจาก “กล่องดำ” ของ MH370 จริงหรือไม่
ศูนย์ประสานงานร่วม (เจเอซีซี) ของออสเตรเลีย ซึ่งทำหน้าที่ประสานหน่วยงานของชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมการค้นหาเที่ยวบิน MH370 ในมหาสมุทรอินเดีย แถลงเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ยานดำน้ำไร้คนขับ “บลูฟิน 21” ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ได้สิ้นสุดการปฏิบัติภารกิจแล้วตั้งแต่วันพุธ(28) ภายหลังทำการค้นหาในอาณาบริเวณ 850 ตารางกิโลเมตรใต้มหาสมุทรอินเดีย
“ขณะนี้สามารถสรุปได้ว่า บริเวณดังกล่าวไม่ใช่ตำแหน่งสุดท้ายของเที่ยวบิน MH370” คำแถลงของเจเอซีซีระบุ
จากนี้ไป การค้นหาเครื่องบินของมาเลเซีย แอร์ไลนส์ ในเส้นทางกัวลาลัมเปอร์-ปักกิ่ง ที่หายไปตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคมพร้อมผู้โดยสารและลูกเรือ 239 คน ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงการปฏิบัติการในบริเวณใต้สมุทรเพียงทางเดียวอยู่แล้ว จะยุติลงชั่วคราวเพื่อติดตั้งอุปกรณ์โซนาร์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะทำการค้นหาในอาณาบริเวณกว้างขึ้นคือ 56,000 ตารางกิโลเมตร โดยอิงกับการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมเส้นทางบินที่มีแนวโน้มมากที่สุดของ MH370
การวิเคราะห์ดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่เชื่อว่า MH370 จงใจเปลี่ยนเส้นทางและบินลงทางใต้ของมหาสมุทรอินเดีย กระนั้น ไม่เคยมีการค้นพบชิ้นส่วนของเครื่องบินโบอิ้ง 777 ลำนี้แม้แต่ชิ้นเดียว และกลายเป็นหนึ่งในปริศนาลึกลับในวงการการบินโลก
เจเอซีซีแจงว่า ระหว่างนี้เรือสำรวจ “จู เคอเจิ้น” ของจีน จะทำการสำรวจเพื่อทำแผนที่มหาสมุทรเตรียมไว้สำหรับปฏิบัติการค้นหาใต้ทะเลลึกโดยทีมค้นหาเอกชน ที่คาดว่าจะเริ่มต้นในเดือนสิงหาคมและใช้เวลานานถึง 12 เดือน
ก่อนหน้านี้ออสเตรเลียระบุว่า การค้นหาจะมีค่าใช้จ่ายราว 60 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ถึงตอนนี้ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ปฏิบัติการค้นหา MH370 จะมีต้นทุนมากน้อยเพียงใด
ศูนย์ประสานงานร่วม (เจเอซีซี) ของออสเตรเลีย ซึ่งทำหน้าที่ประสานหน่วยงานของชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมการค้นหาเที่ยวบิน MH370 ในมหาสมุทรอินเดีย แถลงเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ยานดำน้ำไร้คนขับ “บลูฟิน 21” ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ได้สิ้นสุดการปฏิบัติภารกิจแล้วตั้งแต่วันพุธ(28) ภายหลังทำการค้นหาในอาณาบริเวณ 850 ตารางกิโลเมตรใต้มหาสมุทรอินเดีย
“ขณะนี้สามารถสรุปได้ว่า บริเวณดังกล่าวไม่ใช่ตำแหน่งสุดท้ายของเที่ยวบิน MH370” คำแถลงของเจเอซีซีระบุ
จากนี้ไป การค้นหาเครื่องบินของมาเลเซีย แอร์ไลนส์ ในเส้นทางกัวลาลัมเปอร์-ปักกิ่ง ที่หายไปตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคมพร้อมผู้โดยสารและลูกเรือ 239 คน ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงการปฏิบัติการในบริเวณใต้สมุทรเพียงทางเดียวอยู่แล้ว จะยุติลงชั่วคราวเพื่อติดตั้งอุปกรณ์โซนาร์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะทำการค้นหาในอาณาบริเวณกว้างขึ้นคือ 56,000 ตารางกิโลเมตร โดยอิงกับการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมเส้นทางบินที่มีแนวโน้มมากที่สุดของ MH370
การวิเคราะห์ดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่เชื่อว่า MH370 จงใจเปลี่ยนเส้นทางและบินลงทางใต้ของมหาสมุทรอินเดีย กระนั้น ไม่เคยมีการค้นพบชิ้นส่วนของเครื่องบินโบอิ้ง 777 ลำนี้แม้แต่ชิ้นเดียว และกลายเป็นหนึ่งในปริศนาลึกลับในวงการการบินโลก
เจเอซีซีแจงว่า ระหว่างนี้เรือสำรวจ “จู เคอเจิ้น” ของจีน จะทำการสำรวจเพื่อทำแผนที่มหาสมุทรเตรียมไว้สำหรับปฏิบัติการค้นหาใต้ทะเลลึกโดยทีมค้นหาเอกชน ที่คาดว่าจะเริ่มต้นในเดือนสิงหาคมและใช้เวลานานถึง 12 เดือน
ก่อนหน้านี้ออสเตรเลียระบุว่า การค้นหาจะมีค่าใช้จ่ายราว 60 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ถึงตอนนี้ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ปฏิบัติการค้นหา MH370 จะมีต้นทุนมากน้อยเพียงใด