องค์การอนามัยโลก(WHO) ยอมรับในวันพุธ(14) มีความกังวลมากขึ้นต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง (MERS) แต่ยังไม่ประกาศให้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องจากยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนว่ามันสามารถติดต่อจากคนสู่คน
ไวรัสชนิดนี้ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ หายใจติดขัด และมีไข้สูง บางรายก็ถึงขึ้นปอดบวม มีรายงานผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 500 รายทั่วโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ในซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตามมันเริ่มแพร่ระบาดไปยังเหล่าชาติเพื่อนบ้าน เช่นเดียวกับพบผู้ติดเชื้อจำนวนเล็กน้อยในยุโรป เอเชียและสหรัฐฯ ในขณะเดียวกันสำหรับผู้ติดเชื้อนั้น มีถึงร้อยละ 30 ที่ต้องจบชีวิตลง
คณะกรรมการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก ซึ่งหารือกันนานกว่า 5 ชั่วโมง ในเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันอังคาร(13) เปิดเผยในวันพุธ(14) ว่าพวกเขาเคร่งเครียดมากขึ้นต่อสถานการณ์ของไวรัส MERS ที่่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสาธารณชน อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังไม่พบหลักฐานอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการติดต่อจากคนสู่คนของไวรัสตัวนี้ "ด้วยเหตุนี้ ดังนั้นมันยังไม่เข้าเงื่อนไขของภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" WHO ระบุ
MERS ถูกจัดอยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (SARS) ซึ่งเคยแพร่ระบาดในเอเชียเมื่อปี 2003 หลังถูกพบครั้งแรกในจีน โดยหนนั้นมีผู้ติดเชื้อไวรัสซาร์สมากถึง 8,273 คน และร้อยละ 9 เสียชีวิต
เคอิจิ ฟูกูดะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ระบุว่าเหตุผลหลักที่ไม่ประกาศให้ MERS เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข แม้พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆว่า ยังไม่พบหลักฐานว่ามันติดต่อจากคนสู่คนอย่างง่ายดาย "
ไวรัสชนิดนี้ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ หายใจติดขัด และมีไข้สูง บางรายก็ถึงขึ้นปอดบวม มีรายงานผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 500 รายทั่วโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ในซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตามมันเริ่มแพร่ระบาดไปยังเหล่าชาติเพื่อนบ้าน เช่นเดียวกับพบผู้ติดเชื้อจำนวนเล็กน้อยในยุโรป เอเชียและสหรัฐฯ ในขณะเดียวกันสำหรับผู้ติดเชื้อนั้น มีถึงร้อยละ 30 ที่ต้องจบชีวิตลง
คณะกรรมการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก ซึ่งหารือกันนานกว่า 5 ชั่วโมง ในเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันอังคาร(13) เปิดเผยในวันพุธ(14) ว่าพวกเขาเคร่งเครียดมากขึ้นต่อสถานการณ์ของไวรัส MERS ที่่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสาธารณชน อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังไม่พบหลักฐานอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการติดต่อจากคนสู่คนของไวรัสตัวนี้ "ด้วยเหตุนี้ ดังนั้นมันยังไม่เข้าเงื่อนไขของภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" WHO ระบุ
MERS ถูกจัดอยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (SARS) ซึ่งเคยแพร่ระบาดในเอเชียเมื่อปี 2003 หลังถูกพบครั้งแรกในจีน โดยหนนั้นมีผู้ติดเชื้อไวรัสซาร์สมากถึง 8,273 คน และร้อยละ 9 เสียชีวิต
เคอิจิ ฟูกูดะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ระบุว่าเหตุผลหลักที่ไม่ประกาศให้ MERS เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข แม้พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆว่า ยังไม่พบหลักฐานว่ามันติดต่อจากคนสู่คนอย่างง่ายดาย "