น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จำนวนมากกว่าในช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่แล้วมากถึงร้อยละ 36 ป่วยไปแล้ว 30,024 คน และมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 50 คน ขณะที่ตลอดปี 2556 ไม่มีผู้เสียชีวิต ทางคณะผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า ส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 หรือ ไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงกว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลสายพันธุ์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน คนส่วนใหญ่ยังมีภูมิต้านทานต่อเชื้อชนิดนี้น้อย จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพบผู้ป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่สายพันธุ์นี้ไม่เคยระบาดมาก่อน และมีแนวโน้มว่า ในสัปดาห์นี้จะชะลอตัว โดยผู้ป่วยเริ่มน้อยลงจากสัปดาห์ละประมาณ 2,000 คน เหลือ 500 กว่าคน แต่คาดว่าจะเริ่มระบาดระลอก 2 มากขึ้นในช่วงฤดูฝน
ขณะนี้เน้น 3 มาตรการหลักได้แก่ 1.ให้ทุกโรงพยาบาลเฝ้าระวังผู้ป่วยทุกชนิด หากมีจำนวนมากขึ้นกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนผู้ป่วยนอกทั้งหมด ให้จัดช่องทางบริการพิเศษเป็นการเฉพาะ ไม่ให้ปะปนกับผู้ป่วยอื่นๆ ให้ผู้ป่วยทุกคนใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อ และจัดเจลแอลกอฮอล์ล้างมือตั้งประจำจุดต่างๆ เช่น ที่แผนกผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วย หน้าลิฟท์
2.ให้เพิ่มการซักประวัติผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไข้หวัด มีอาการไอเจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูก ปวดเมื่อย อาเจียน ท้องเสีย หากมีประวัติป่วย 2 วันแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้นให้นึกถึงโรคไข้หวัดใหญ่รับตัวไว้นอนรักษาที่โรงพยาบาล และให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ทันที เนื่องจากพบว่า ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตปีนี้ 50 คน ร้อยละ 40 เป็นผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว และไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง จึงต้องเริ่มให้ยาต้านไวรัสโดยเร็ว ซึ่งจะให้ผลดีหากให้ยาภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากที่มีอาการป่วย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่เป็นการเฉพาะ 1 ชุด เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้แก่แพทย์ทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมง
และ 3.คือการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับกลุ่มเสี่ยง ส่วนการป้องกันโรคนี้ต้องหมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน เพิ่มการรับประทานอาหาร ผัก ผลไม้สด เพื่อเพิ่มวิตามินซีป้องกันโรค หมั่นล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ เพราะว่าช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ถึงร้อยละ 80 ไม่ใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว และหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด รวมถึงไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยด้วย
ขณะนี้เน้น 3 มาตรการหลักได้แก่ 1.ให้ทุกโรงพยาบาลเฝ้าระวังผู้ป่วยทุกชนิด หากมีจำนวนมากขึ้นกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนผู้ป่วยนอกทั้งหมด ให้จัดช่องทางบริการพิเศษเป็นการเฉพาะ ไม่ให้ปะปนกับผู้ป่วยอื่นๆ ให้ผู้ป่วยทุกคนใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อ และจัดเจลแอลกอฮอล์ล้างมือตั้งประจำจุดต่างๆ เช่น ที่แผนกผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วย หน้าลิฟท์
2.ให้เพิ่มการซักประวัติผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไข้หวัด มีอาการไอเจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูก ปวดเมื่อย อาเจียน ท้องเสีย หากมีประวัติป่วย 2 วันแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้นให้นึกถึงโรคไข้หวัดใหญ่รับตัวไว้นอนรักษาที่โรงพยาบาล และให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ทันที เนื่องจากพบว่า ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตปีนี้ 50 คน ร้อยละ 40 เป็นผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว และไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง จึงต้องเริ่มให้ยาต้านไวรัสโดยเร็ว ซึ่งจะให้ผลดีหากให้ยาภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากที่มีอาการป่วย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่เป็นการเฉพาะ 1 ชุด เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้แก่แพทย์ทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมง
และ 3.คือการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับกลุ่มเสี่ยง ส่วนการป้องกันโรคนี้ต้องหมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน เพิ่มการรับประทานอาหาร ผัก ผลไม้สด เพื่อเพิ่มวิตามินซีป้องกันโรค หมั่นล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ เพราะว่าช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ถึงร้อยละ 80 ไม่ใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว และหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด รวมถึงไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยด้วย