นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ในปี 60 สัดส่วนการผลิตรถยนต์จะเปลี่ยนแปลงจากปัจจุบัน ผลิตจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50 ผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 50 เป็นผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 60 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 40 เพื่อรองรับเป้าหมายการผลิตรถยนต์ 3 ล้านคัน ในปี 60 จากปัจจุบันมียอดการผลิตรถยนต์ 2.45 ล้านคัน ขณะที่ระบบการผลิตจะเปลี่ยนไปสู่การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ และใช้หุ่นยนต์ในการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน และมีค่าจ้างสูงขึ้น
แม้ว่าประเทศอินโดนีเซียจะมียอดการลงทุน และการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นมาก แต่ยอดการผลิตรวมที่น้อยกว่าไทยกว่า 1 เท่าตัว และรถยนต์ที่ผลิตได้เกือบทั้งหมด ก็มีเป้าหมายเพื่อจำหน่ายภายในประเทศเป็นหลักต่างจากประเทศไทยที่ต่างชาติ เข้ามาตั้งฐานการผลิตเพื่อการส่งออก เนื่องจากตลาดรถยนต์ภายในประเทศใกล้ถึงจุดอิ่มตัว และทักษะฝีมือการผลิตก็ก้าวหน้าไปสู่ระดับโลก ต่างจากอินโดนีเซียที่ตลาดยังเปิดกว่างอีกมาก
นอกจากนี้ สศอ.ได้เตรียมมาตรการรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเร่งดำเนินการสร้างบุคลากรทุกระดับ ได้แก่ ระดับแรงงานมีฝีมือ ระดับหัวหน้างาน ระดับวิศวกรทดสอบและวิจัยพัฒนา ซึ่งการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้มีทักษะ ความสามารถการผลิต มีองค์ความรู้ในระดับสูงขึ้น ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อให้ครอบคลุมทั่วทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์
ทั้งนี้ สศอ.ได้ดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ เน้นการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้มีความรู้ความสามารถและทักษะใน การเป็นผู้ฝึกสอน และการพัฒนาบุคลากรในระดับผู้ปฏิบัติงาน ปีละไม่ต่ำกว่า 60 คน โดยโครงการ พัฒนาบุคลากรในปี 57 ในสาขาการผลิตนั้น สำนักงานฯ และสถาบันยานยนต์ จะได้พัฒนาหลักสูตรและพัฒนาผู้สอนในด้านการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาในการผลิต สถานประกอบการ สามารถลดต้นทุนในการผลิต
แม้ว่าประเทศอินโดนีเซียจะมียอดการลงทุน และการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นมาก แต่ยอดการผลิตรวมที่น้อยกว่าไทยกว่า 1 เท่าตัว และรถยนต์ที่ผลิตได้เกือบทั้งหมด ก็มีเป้าหมายเพื่อจำหน่ายภายในประเทศเป็นหลักต่างจากประเทศไทยที่ต่างชาติ เข้ามาตั้งฐานการผลิตเพื่อการส่งออก เนื่องจากตลาดรถยนต์ภายในประเทศใกล้ถึงจุดอิ่มตัว และทักษะฝีมือการผลิตก็ก้าวหน้าไปสู่ระดับโลก ต่างจากอินโดนีเซียที่ตลาดยังเปิดกว่างอีกมาก
นอกจากนี้ สศอ.ได้เตรียมมาตรการรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเร่งดำเนินการสร้างบุคลากรทุกระดับ ได้แก่ ระดับแรงงานมีฝีมือ ระดับหัวหน้างาน ระดับวิศวกรทดสอบและวิจัยพัฒนา ซึ่งการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้มีทักษะ ความสามารถการผลิต มีองค์ความรู้ในระดับสูงขึ้น ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อให้ครอบคลุมทั่วทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์
ทั้งนี้ สศอ.ได้ดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ เน้นการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้มีความรู้ความสามารถและทักษะใน การเป็นผู้ฝึกสอน และการพัฒนาบุคลากรในระดับผู้ปฏิบัติงาน ปีละไม่ต่ำกว่า 60 คน โดยโครงการ พัฒนาบุคลากรในปี 57 ในสาขาการผลิตนั้น สำนักงานฯ และสถาบันยานยนต์ จะได้พัฒนาหลักสูตรและพัฒนาผู้สอนในด้านการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาในการผลิต สถานประกอบการ สามารถลดต้นทุนในการผลิต