การส่งเรือรบ เรือยามฝั่ง เรือขนสินค้า กระทั่งเรือตัดน้ำแข็งรวมกว่า 20 ลำเข้าร่วมปฏิบัติการค้นหา MH370 เผยให้เห็นจุดอ่อนของกองทัพแดนมังกรอย่างชัดเจนจากการขาดฐานปฏิบัติการนอกชายฝั่งและท่าเรือพันธมิตร นักวิเคราะห์จำนวนมากยังชี้ว่า กองทัพเรือแดนมังกรต้องใช้เวลาอีกนับสิบปีกว่าจะสามารถเทียบชั้นสหรัฐฯ ในด้านต่างๆ รวมทั้งในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก ไม่เฉพาะเพียงเอเชียที่แดนอินทรีสร้างเครือข่ายพันธมิตรโยงใยกว้างขวาง
เอียน สตอรีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงในเอเชียของสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ระบุว่า จีนรู้ดีว่าต้องเติมเต็มช่องว่างด้านยุทธศาสตร์นี้เพื่อตอบสนองความต้องการสำหรับปฏิบัติการทะเลลึกเต็มรูปแบบในปี 2050 แต่ที่น่าแปลกใจคือ ยังไม่มีแม้กระทั่งการหารือเกี่ยวกับการเข้าถึงท่าเรือของประเทศต่างๆ ทั้งที่ปักกิ่งตัดสินใจเด็ดขาดในการท้าทายความเป็นผู้นำด้านกองทัพเรือของสหรัฐฯ ในเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งต้องการปกป้องผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ของตนเองในมหาสมุทรอินเดียและตะวันออกกลาง
ในทางกลับกัน สหรัฐฯ สร้างเครือข่ายฐานปฏิบัติการเต็มรูปแบบอย่างครอบคลุม โดยมีฐานทัพเรือในญี่ปุ่น กวม และดิเอโกการ์เซีย ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากการเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงและข้อตกลงเข้าถึงและซ่อมแซมกับชาติพันธมิตร ซึ่งรวมถึงท่าเรือเชิงยุทธศาสตร์ในสิงคโปร์และมาเลเซีย
ริชาร์ด บิตซิงเกอร์ นักยุทธศาสตร์การทหารในเอเชียของสถาบันการระหว่างประเทศศึกษา เอส ราชารัตนัมในสิงคโปร์ เสริมว่า แม้จีนมีป้อมปราการในหมู่เกาะและแนวปะการังหลายแห่งในทะเลจีนใต้ แต่ไม่ใหญ่พอใช้เป็นฐานทัพนอกชายฝั่ง และแม้การจัดการเพื่อเข้าถึงท่าเรือของประเทศอื่นทำได้ง่ายมากระหว่างปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมในยามปลอดสงคราม เช่น การค้นหา MH370 แต่การที่จีนมีกรณีพิพาทกับฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน ก็ทำให้โอกาสในการเข้าถึงท่าเรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระยะยาวมีน้อยมาก
เอียน สตอรีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงในเอเชียของสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ระบุว่า จีนรู้ดีว่าต้องเติมเต็มช่องว่างด้านยุทธศาสตร์นี้เพื่อตอบสนองความต้องการสำหรับปฏิบัติการทะเลลึกเต็มรูปแบบในปี 2050 แต่ที่น่าแปลกใจคือ ยังไม่มีแม้กระทั่งการหารือเกี่ยวกับการเข้าถึงท่าเรือของประเทศต่างๆ ทั้งที่ปักกิ่งตัดสินใจเด็ดขาดในการท้าทายความเป็นผู้นำด้านกองทัพเรือของสหรัฐฯ ในเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งต้องการปกป้องผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ของตนเองในมหาสมุทรอินเดียและตะวันออกกลาง
ในทางกลับกัน สหรัฐฯ สร้างเครือข่ายฐานปฏิบัติการเต็มรูปแบบอย่างครอบคลุม โดยมีฐานทัพเรือในญี่ปุ่น กวม และดิเอโกการ์เซีย ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากการเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงและข้อตกลงเข้าถึงและซ่อมแซมกับชาติพันธมิตร ซึ่งรวมถึงท่าเรือเชิงยุทธศาสตร์ในสิงคโปร์และมาเลเซีย
ริชาร์ด บิตซิงเกอร์ นักยุทธศาสตร์การทหารในเอเชียของสถาบันการระหว่างประเทศศึกษา เอส ราชารัตนัมในสิงคโปร์ เสริมว่า แม้จีนมีป้อมปราการในหมู่เกาะและแนวปะการังหลายแห่งในทะเลจีนใต้ แต่ไม่ใหญ่พอใช้เป็นฐานทัพนอกชายฝั่ง และแม้การจัดการเพื่อเข้าถึงท่าเรือของประเทศอื่นทำได้ง่ายมากระหว่างปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมในยามปลอดสงคราม เช่น การค้นหา MH370 แต่การที่จีนมีกรณีพิพาทกับฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน ก็ทำให้โอกาสในการเข้าถึงท่าเรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระยะยาวมีน้อยมาก