นายราฆพ ศรีศุภอรรถ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรณี บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้นำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ โตโยต้า พริอุส (Toyota Prius) ด้วยการสำแดงเอกสารเสียอากรตั้งแต่ปี 53 เพื่อนำชิ้นส่วนยานยนต์จำนวนมากกว่า 14,000 คัน เพื่อนำเข้ามาประกอบเป็นรถยนต์ทั้งคัน ต่อมาในปี 55 เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรได้ทำหนังสือทักท้วงไปยังโตโยต้าว่า การสำแดงรายการเสียอากรในการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ดังกล่าว ไม่เป็นไปตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA ) ในการได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี ศุลกากรร้อยละ 0-10 จึงเข้าข่ายการหลีกเลี่ยงอากรนำเข้า เพราะเห็นว่าเป็นการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์เกือบทั้งคัน โดยใช้ชิ้นส่วนในประเทศเพียง 2-3 ประเภท เช่น ล้อแม็ก และอุกรณ์บางส่วน จึงเสมือนการนำเข้าชุดสมบูรณ์เพื่อประกอบเป็นรถยนต์ทั้งคัน
สำหรับการจำหน่ายในประเทศ กรมศุลกากรจึงเห็นว่าต้องกลับไปเสียอากรร้อยละ0-80 ของมูลค่ารถ นับว่าเป็นมูลค่าภาษีเสียหายกว่าหมื่นล้านบาท ขณะที่โตโยต้ายังโต้แย้งว่า นำเข้าถูกต้องตามกฎหมายและข้อตกลง จึงได้วางหนังสือเงินค้ำประกันภาษีร้อยละ 80 เพื่อเสียอากร
ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ อยู่ระหว่างการเรียกเอกสารเพิ่มเติมในการตรวจสอบข้อมูล และเชิญทางโตโยต้ามาให้การชี้แจง หากได้ข้อสรุปแล้วจะเสนอคณะกรรมการอุทธรณ์ของกรมศุลกากร โดยมีอธิบดีกรมศุลกากรเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย ตัวแทนจากอัยการสูงสุด กฤษฎีกา นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำวน 10 คน เพื่อพิจารณาคดีดังกล่าว หากผลออกมาเป็นเช่นไร โตโยต้ายังไม่พอใจ ก็สามารถอุทธรณ์ในชั้นศาลภาษีได้ในขั้นต่อไป
สำหรับการจำหน่ายในประเทศ กรมศุลกากรจึงเห็นว่าต้องกลับไปเสียอากรร้อยละ0-80 ของมูลค่ารถ นับว่าเป็นมูลค่าภาษีเสียหายกว่าหมื่นล้านบาท ขณะที่โตโยต้ายังโต้แย้งว่า นำเข้าถูกต้องตามกฎหมายและข้อตกลง จึงได้วางหนังสือเงินค้ำประกันภาษีร้อยละ 80 เพื่อเสียอากร
ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ อยู่ระหว่างการเรียกเอกสารเพิ่มเติมในการตรวจสอบข้อมูล และเชิญทางโตโยต้ามาให้การชี้แจง หากได้ข้อสรุปแล้วจะเสนอคณะกรรมการอุทธรณ์ของกรมศุลกากร โดยมีอธิบดีกรมศุลกากรเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย ตัวแทนจากอัยการสูงสุด กฤษฎีกา นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำวน 10 คน เพื่อพิจารณาคดีดังกล่าว หากผลออกมาเป็นเช่นไร โตโยต้ายังไม่พอใจ ก็สามารถอุทธรณ์ในชั้นศาลภาษีได้ในขั้นต่อไป