สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย ว่า พล.อ.อ.แองกัส ฮูสตัน ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานนานาชาติ เพื่อค้นหาเบาะแสเที่ยวบิน MH370 ของมาเลเซีย แอร์ไลน์ส ที่หายไปในมหาสมุทรอินเดียตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พร้อมผู้อยู่บนเครื่อง 239 คน แถลงว่าเรือเดินสมุทร "โอเชียน ชิลด์" ของออสเตรเลีย ซึ่งบรรทุกเครื่องมือค้นหากล่องบันทึกข้อมูลการบิน หรือกล่องดำที่ยืมมาจากกองทัพเรือสหรัฐ ในชื่อ "ทาวด์ พิงเกอร์ โลเคเตอร์" (ทีพีแอล) และหุ่นยนต์ค้นหาใต้ทะเล "บลูฟิน-21" ตรวจพบคลื่นความถี่ที่มีระดับเดียวกล่องดำของเครื่องบินคือ 37.5 กิโลเฮิร์ตซต่อวินาที จากใต้มหาสมุทรอินเดีย
ทั้งนี้ คลื่นสัญญาณจากใต้ทะเลตอบสนองสัญญาณของทีพีแอล 2 ครั้ง นาน 2 ชั่วโมง 20 นาที และ 13 นาทีตามลำดับ ที่ระดับความลึก 4,500 เมตร และแม้คลื่นสัญญาณจะห่างกันราว 1,800 หลา แต่ทีมงานเชื่อว่า คลื่นสัญญาณทั้งสองครั้งเป็นของวัตถุชิ้นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม พล.อ.อ.ฮูสตัน ย้ำว่า ทีมงานต้องใช้เวลาตรวจสอบพิกัดของคลื่นสัญญาณทั้งหมดอีกครั้ง รวมถึงคลื่นสัญญาณที่เรือไห่ซุน-01 ของจีนตรวจพบก่อนหน้านี้ เพื่อลดกรอบการค้นหาให้แคบลง ซึ่งทันทีที่สามารถระบุตำแหน่งของคลื่นสัญญาณที่แน่นอนได้ ทีมงานจะส่งเรือดำน้ำและหุ่นยนต์ค้นหาใต้ทะเลลงไปตรวจสอบ ว่าที่มาของคลื่นสัญญาณนั้น คือกล่องดำของเครื่องบินโดยสารมาเลเซีย แอร์ไลน์ส จริงหรือไม่
ทั้งนี้ คลื่นสัญญาณจากใต้ทะเลตอบสนองสัญญาณของทีพีแอล 2 ครั้ง นาน 2 ชั่วโมง 20 นาที และ 13 นาทีตามลำดับ ที่ระดับความลึก 4,500 เมตร และแม้คลื่นสัญญาณจะห่างกันราว 1,800 หลา แต่ทีมงานเชื่อว่า คลื่นสัญญาณทั้งสองครั้งเป็นของวัตถุชิ้นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม พล.อ.อ.ฮูสตัน ย้ำว่า ทีมงานต้องใช้เวลาตรวจสอบพิกัดของคลื่นสัญญาณทั้งหมดอีกครั้ง รวมถึงคลื่นสัญญาณที่เรือไห่ซุน-01 ของจีนตรวจพบก่อนหน้านี้ เพื่อลดกรอบการค้นหาให้แคบลง ซึ่งทันทีที่สามารถระบุตำแหน่งของคลื่นสัญญาณที่แน่นอนได้ ทีมงานจะส่งเรือดำน้ำและหุ่นยนต์ค้นหาใต้ทะเลลงไปตรวจสอบ ว่าที่มาของคลื่นสัญญาณนั้น คือกล่องดำของเครื่องบินโดยสารมาเลเซีย แอร์ไลน์ส จริงหรือไม่