น.ส.รัตนวิมล นารี ศุกรีเขตร ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ สนใจเข้ามาดูพื้นที่ สำหรับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและการตั้งโรงงานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 ที่การค้าและการลงทุนจะขยายตัวสูง
ล่าสุด นักลงทุนจีนได้เข้ามาทยอยซื้อพื้นที่ใน อ.ท่าพระ จ.ขอนแก่น แล้ว 4,100 ไร่ เพื่อจัดตั้งนิคมฯ สีเขียว โดยมีการตั้งบริษัทร่วมทุนกับไทย ซึ่งพื้นที่เดิมส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลัง โดยกำลังรอการประกาศผังเมืองรวมของจังหวัดอยู่ คาดว่าจะใช้เวลาการพัฒนา 1-2 ปี ขณะเดียวกัน บริษัทเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี ได้รับการส่งเสริมกิจการเขตอุตสาหกรรมพื้นที่ 2,000 ไร่ มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 4,250 ล้านบาท ตั้งโครงการที่อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
น.ส.รัตนวิมล กล่าวว่า การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนที่มีการขยายตัวค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ส่งผลให้ร้านค้าก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ มีการขยายตัวตามค่อนข้างสูง ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการป้อนตลาดภายในประเทศเท่านั้น ยังพบว่ามีแรงซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านที่ติดชายแดนข้ามมาซื้อจำนวนมาก
สำหรับทิศทางการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เดือน ก.ค.2556 มีทั้งสิ้น 6 โครงการ เงินลงทุน 387 ล้านบาท โดยทั้งโครงการและเงินลงทุนขยายตัวเพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันปีก่อน 20% และ 13.56% ตามลำดับ และการลงทุน 7 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ค.2556) มีทั้งสิ้น 36 กิจการ เงินลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ กิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ เดือน ก.ค.ล่าสุด ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางจากธรรมชาติของ บ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ผลิตยางแท่งและยางผสม มูลค่าลงทุน 614 ล้านบาท ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ และนายเกียรติ กิตติกุลเสรีคำ มีกำลังการผลิตยางแท่งและยางผสม มูลค่า 1,715 ล้านบาท ที่จังหวัดอุดรธานี กิจการขยายการผลิตชิ้นส่วนของ บ.พานาโซนิค แมนูแฟกเจอริ่ง (ประเทศไทย) ลงทุน 57.8 ล้านบาท ที่จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น
สำหรับปัญหาแรงงานขณะนี้ ยอมรับว่าได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการในพื้นที่ ว่ายังคงมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั้งระบบมีฝีมือและไร้ฝีมือ แม้ว่าจะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเท่ากัน 300 บาทต่อวันแล้ว ก็ยังไม่ได้จูงใจให้เกิดการย้ายแรงงานกลับภูมิลำเนาเท่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากพบว่าบางจังหวัด เช่น จังหวัดขอนแก่นก็ไม่ได้มีค่าครองชีพที่ต่ำ เมื่อเทียบกับอยู่ในพื้นที่แถบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ขณะเดียวกัน ในมาบตาพุดมีโรงงานค่อนข้างมาก กลับมีโอกาสเคลื่อนย้ายแรงงานได้ง่ายกว่า
ล่าสุด นักลงทุนจีนได้เข้ามาทยอยซื้อพื้นที่ใน อ.ท่าพระ จ.ขอนแก่น แล้ว 4,100 ไร่ เพื่อจัดตั้งนิคมฯ สีเขียว โดยมีการตั้งบริษัทร่วมทุนกับไทย ซึ่งพื้นที่เดิมส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลัง โดยกำลังรอการประกาศผังเมืองรวมของจังหวัดอยู่ คาดว่าจะใช้เวลาการพัฒนา 1-2 ปี ขณะเดียวกัน บริษัทเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี ได้รับการส่งเสริมกิจการเขตอุตสาหกรรมพื้นที่ 2,000 ไร่ มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 4,250 ล้านบาท ตั้งโครงการที่อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
น.ส.รัตนวิมล กล่าวว่า การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนที่มีการขยายตัวค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ส่งผลให้ร้านค้าก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ มีการขยายตัวตามค่อนข้างสูง ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการป้อนตลาดภายในประเทศเท่านั้น ยังพบว่ามีแรงซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านที่ติดชายแดนข้ามมาซื้อจำนวนมาก
สำหรับทิศทางการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เดือน ก.ค.2556 มีทั้งสิ้น 6 โครงการ เงินลงทุน 387 ล้านบาท โดยทั้งโครงการและเงินลงทุนขยายตัวเพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันปีก่อน 20% และ 13.56% ตามลำดับ และการลงทุน 7 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ค.2556) มีทั้งสิ้น 36 กิจการ เงินลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ กิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ เดือน ก.ค.ล่าสุด ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางจากธรรมชาติของ บ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ผลิตยางแท่งและยางผสม มูลค่าลงทุน 614 ล้านบาท ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ และนายเกียรติ กิตติกุลเสรีคำ มีกำลังการผลิตยางแท่งและยางผสม มูลค่า 1,715 ล้านบาท ที่จังหวัดอุดรธานี กิจการขยายการผลิตชิ้นส่วนของ บ.พานาโซนิค แมนูแฟกเจอริ่ง (ประเทศไทย) ลงทุน 57.8 ล้านบาท ที่จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น
สำหรับปัญหาแรงงานขณะนี้ ยอมรับว่าได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการในพื้นที่ ว่ายังคงมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั้งระบบมีฝีมือและไร้ฝีมือ แม้ว่าจะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเท่ากัน 300 บาทต่อวันแล้ว ก็ยังไม่ได้จูงใจให้เกิดการย้ายแรงงานกลับภูมิลำเนาเท่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากพบว่าบางจังหวัด เช่น จังหวัดขอนแก่นก็ไม่ได้มีค่าครองชีพที่ต่ำ เมื่อเทียบกับอยู่ในพื้นที่แถบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ขณะเดียวกัน ในมาบตาพุดมีโรงงานค่อนข้างมาก กลับมีโอกาสเคลื่อนย้ายแรงงานได้ง่ายกว่า