นางสาวปานจิตต์ พิศวง รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคอุตสาหกรรมไทย ทั้งอุตสาหกรรมประมง เครื่องนุ่งห่ม น้ำตาลที่ได้รับผลกระทบต่อการเจรจาทางการค้า โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าประมง ได้แก่ ปลากระป๋อง และกุ้ง ไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกต่อปีมากถึง 70,000 ล้านบาท รองลงมา เป็นตลาดยุโรป ร้อยละ 20 และญี่ปุ่น ร้อยละ 15 แต่หลังจากพบปัญหาโรคในกุ้งในปี 2555 ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาลดปริมาณการนำเข้ากุ้งในไทยในปริมาณลดลง โดยในปีนี้ การส่งออกสินค้าประมงของไทยในเดือนมกราคม มีมูลค่าประมาณ 3,800 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.8 ดังนั้น ไทยจึงต้องเร่งพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ควบคู่ไปกับการจัดมาตรการด้านแรงงานที่สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ไทยถูกจัดให้อยู่ในระดับ เทียร์ ทู สเปเชียล วอตช์ ลิสต์ ในการจัดระดับสภาวะการค้ามนุษย์ ซึ่งอยู่ในภาวะที่ต้องจับตามอง ทั้งนี้ ได้ส่งเอกสารรายการเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ให้กับสหรัฐฯ ไปแล้ว และจะรับทราบผลในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งเชื่อมั่นไทยจะไม่ถูกสหรัฐฯ พิจารณาให้อยู่ในอันดับสภาวะการค้ามนุษย์ลดลง
รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของไทย ว่า หอการค้าไทยได้ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมแก้ไขปัญหา โดยในส่วนของอุตสาหกรรมประมง ได้จัดทำข้อตกลงหยุดใช้แรงงานผิดกฎหมายแล้ว และในกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาล พยายามผลักดันไม่ให้มีการใช้แรงงานเด็ก ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้เร่งแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าว
อย่างไรก็ตาม ไทยถูกจัดให้อยู่ในระดับ เทียร์ ทู สเปเชียล วอตช์ ลิสต์ ในการจัดระดับสภาวะการค้ามนุษย์ ซึ่งอยู่ในภาวะที่ต้องจับตามอง ทั้งนี้ ได้ส่งเอกสารรายการเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ให้กับสหรัฐฯ ไปแล้ว และจะรับทราบผลในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งเชื่อมั่นไทยจะไม่ถูกสหรัฐฯ พิจารณาให้อยู่ในอันดับสภาวะการค้ามนุษย์ลดลง
รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของไทย ว่า หอการค้าไทยได้ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมแก้ไขปัญหา โดยในส่วนของอุตสาหกรรมประมง ได้จัดทำข้อตกลงหยุดใช้แรงงานผิดกฎหมายแล้ว และในกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาล พยายามผลักดันไม่ให้มีการใช้แรงงานเด็ก ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้เร่งแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าว