คณาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เก็บตัวอย่างและเฝ้าระวังติดตามระบบนิเวศ หลังเกิดน้ำมันรั่วบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด และโดยรอบ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่าปริมาณสารไฮโดรคาร์บอนลดลงจากเดิม ปะการังฟื้นตัว และมีสภาพฟอกขาวน้อยลงตามลำดับ สัตว์น้ำเริ่มกลับเข้ามาอยู่ในพื้นที่ และจากการวิจัยร่วมกับนักวิจัยญี่ปุ่น ไม่พบสารพิษที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ที่สะสมอยู่ในปลาที่เก็บตัวอย่างไป
อย่างไรก็ตาม ปริมาณไฮโดรคาร์บอนในตะกอนดินมีปริมาณมากที่สุด คาดว่าอาจจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ปี ที่จะทำให้เข้าสู่ภาวะปกติ
ด้าน ผช.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล กล่าวว่า ปริมาณไฮโดรคาร์บอนที่สำรวจพบจะไม่ส่งผลกับนักท่องเที่ยว และผู้บริโภคสัตว์น้ำ โดยการวิจัยจะดำเนินต่อเนื่อง 3-7 ปี แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คือ การท่องเที่ยวในลักษณะ sea walker ที่อาจทำให้ตะกอนดินที่มีสารพิษฟุ้งกระจายส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมได้
อย่างไรก็ตาม ปริมาณไฮโดรคาร์บอนในตะกอนดินมีปริมาณมากที่สุด คาดว่าอาจจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ปี ที่จะทำให้เข้าสู่ภาวะปกติ
ด้าน ผช.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล กล่าวว่า ปริมาณไฮโดรคาร์บอนที่สำรวจพบจะไม่ส่งผลกับนักท่องเที่ยว และผู้บริโภคสัตว์น้ำ โดยการวิจัยจะดำเนินต่อเนื่อง 3-7 ปี แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คือ การท่องเที่ยวในลักษณะ sea walker ที่อาจทำให้ตะกอนดินที่มีสารพิษฟุ้งกระจายส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมได้