นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวโดยระบุว่า "สืบเนื่องจากสถานการณ์ความวุ่นวายและความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศยูเครน ที่ได้คร่าชีวิตไปล่าสุด 22 ชีวิต รวมทั้งสิ้น ณ ตอนนี้มียอดผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 77 ราย ทำให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เพิ่งจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศยูเครนลงสู่ระดับ CCC โดยมีแนวโน้มเชิงลบ จากเดิมที่เคยจัดระดับอยู่ที่ CCC+ โดย S&P มองว่าสถานการณ์ทางการเมืองในยูเครนเลวร้ายลงจนก่อให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นต่อความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาล
สำหรับประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทางสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ได้ยืนยันความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวที่ระดับ BBB+ และยืนยันแนวโน้มว่ายังมีเสถียรภาพ เนื่องจากทางรัฐบาลมีโครงสร้างหนี้ที่ดี แต่ได้เตือนว่ากำลังจับตาดูการเมืองไทยว่าจะพัฒนาการไปอย่างไร เพราะความไม่แน่นอนทางการเมือง ผนวกกับเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำมีผลต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ณ ตอนนี้
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย เป็นปัญหาละเอียดอ่อนที่อาจเข้าใจได้ยากในสายตาต่างชาติ แต่สิ่งที่ประจักษ์ต่อประชาคมเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจนก็คือ ปัญหาการเมืองที่ลากยาวมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการปรับคาดการณ์ตัวเลขจีดีพีไทย ที่คาดว่าน่าจะโตได้ประมาณ 3% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ว่าจะโตประมาณ 4% เนื่องจากยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ ทำให้ต้องการเลื่อนการใช้จ่ายงบลงทุนออกไปก่อน รัฐบาลไม่สามารถที่จะเดินหน้าในโครงการโครงสร้างพื้นฐานและการปฏิรูปการศึกษาอย่างที่ควรจะเป็น
ขณะเดียวกัน การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ดังนั้นอาจมีการคาดการณ์ได้ต่อว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะถดถอยลงกว่าที่ได้ปรับแล้ว
ทั้งนี้ นายกิตติรัตน์ ระบุด้วยว่า สิ่งที่ทุกคนหวังก็คือความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยจะไม่ขยายความรุนแรงและยืดยาวไปกว่านี้ เนื่องจากความรุนแรงจะนำเร่งระดับความไม่มั่นคงของประเทศ และส่งผลเสียในระดับที่รุนแรงขึ้นกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
สำหรับประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทางสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ได้ยืนยันความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวที่ระดับ BBB+ และยืนยันแนวโน้มว่ายังมีเสถียรภาพ เนื่องจากทางรัฐบาลมีโครงสร้างหนี้ที่ดี แต่ได้เตือนว่ากำลังจับตาดูการเมืองไทยว่าจะพัฒนาการไปอย่างไร เพราะความไม่แน่นอนทางการเมือง ผนวกกับเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำมีผลต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ณ ตอนนี้
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย เป็นปัญหาละเอียดอ่อนที่อาจเข้าใจได้ยากในสายตาต่างชาติ แต่สิ่งที่ประจักษ์ต่อประชาคมเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจนก็คือ ปัญหาการเมืองที่ลากยาวมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการปรับคาดการณ์ตัวเลขจีดีพีไทย ที่คาดว่าน่าจะโตได้ประมาณ 3% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ว่าจะโตประมาณ 4% เนื่องจากยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ ทำให้ต้องการเลื่อนการใช้จ่ายงบลงทุนออกไปก่อน รัฐบาลไม่สามารถที่จะเดินหน้าในโครงการโครงสร้างพื้นฐานและการปฏิรูปการศึกษาอย่างที่ควรจะเป็น
ขณะเดียวกัน การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ดังนั้นอาจมีการคาดการณ์ได้ต่อว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะถดถอยลงกว่าที่ได้ปรับแล้ว
ทั้งนี้ นายกิตติรัตน์ ระบุด้วยว่า สิ่งที่ทุกคนหวังก็คือความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยจะไม่ขยายความรุนแรงและยืดยาวไปกว่านี้ เนื่องจากความรุนแรงจะนำเร่งระดับความไม่มั่นคงของประเทศ และส่งผลเสียในระดับที่รุนแรงขึ้นกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ