คณะนักวิจัยจีนกำลังวิตกกังวล หลังพบไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ H10N8 ที่ทำให้หญิงชราผู้หนึ่งเสียชีวิตเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และพบหญิงอีกคนติดเชื้อเมื่อเดือนที่แล้ว โดยประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือการที่ไวรัสสายพันธุ์นี้กลายพันธุ์จนสามารถแพร่เชื้อในเนื้อเยื่อระดับลึก เช่น ในปอด รวมทั้งความเป็นไปได้ในการแพร่เชื้อจากคนสู่คน
ตามรายงานที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันพุธ (5 ก.พ.) ใน “ลานซิต” วารสารวงการแพทย์ที่ได้รับความเชื่อถือที่สุดของอังกฤษ ระบุว่า ควรต้องติดตามให้ใกล้ชิดไวรัสชนิดนี้ ซึ่งถือเป็นสายพันธุ์ที่ 5 ที่มีการค้นพบในรอบ 17 ปี เนื่องจากมีการกลายพันธุ์จนอาจสามารถติดเชื้อในเนื้อเยื่อภายในปอด และอาจมีคุณสมบัติที่ถ่ายทอดระหว่างคนกับคนได้
ทีมนักวิจัยที่นำโดยเย่ว์หลง ซู จากศูนย์เพื่อการควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ของจีนในปักกิ่ง เตือนในรายงานว่า ไม่ควรประเมินต่ำเกินไปเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการระบาดของไวรัสชนิดใหม่นี้
คำเตือนนี้มีขึ้นหลังการวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อจากหญิงชราวัย 73 ปีที่เสียชีวิตในเมืองหนานชาง มณฑลเจียงซี เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอักเสบรุนแรงและระบบหายใจล้มเหลว
ต่อมาในวันที่ 18 ธันวาคม ทางการจีนประกาศว่า หญิงผู้นี้เสียชีวิตจากไวรัสไข้หวัดนก H10N8
ผลการศึกษาที่รายงานไว้ในลานซิต เปิดเผยว่า พบผู้ติดเชื้อ H10N8 รายที่ 2 ในหนานชาง เช่นกัน เมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ทว่า ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมใดๆ
ผู้ป่วยทั้งสองรายนี้เป็นกรณีการติดเชื้อ H10N8 ในคนครั้งแรกๆ โดยก่อนหน้านี้พบไวรัสสายพันธุ์นี้ 2 ครั้งในจีน ครั้งแรกในตัวอย่างน้ำในทะเลสาบที่มณฑลหูหนานเมื่อปี 2007 ครั้งที่ 2 พบในสัตว์ปีกมีชีวิตในมณฑลกวางตุ้งปี 2012
อย่างไรก็ดี รายงานระบุว่า ไวรัสที่พบครั้งนี้มีความแตกต่างจากไวรัสเมื่อสองครั้งก่อน โดยส่วนสำคัญที่ผิดแผกไปคือการเรียงตำแหน่งทางพันธุกรรมกำลังเกิดการปรับเปลี่ยน สืบเนื่องจากไวรัสสายพันธุ์ H9N2 ซึ่งเป็นไวรัสไข้หวัดนกที่ระบาดในฮ่องกงปี 1999 และเป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์อันตราย H5N1 และ H7N9
ตามรายงานที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันพุธ (5 ก.พ.) ใน “ลานซิต” วารสารวงการแพทย์ที่ได้รับความเชื่อถือที่สุดของอังกฤษ ระบุว่า ควรต้องติดตามให้ใกล้ชิดไวรัสชนิดนี้ ซึ่งถือเป็นสายพันธุ์ที่ 5 ที่มีการค้นพบในรอบ 17 ปี เนื่องจากมีการกลายพันธุ์จนอาจสามารถติดเชื้อในเนื้อเยื่อภายในปอด และอาจมีคุณสมบัติที่ถ่ายทอดระหว่างคนกับคนได้
ทีมนักวิจัยที่นำโดยเย่ว์หลง ซู จากศูนย์เพื่อการควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ของจีนในปักกิ่ง เตือนในรายงานว่า ไม่ควรประเมินต่ำเกินไปเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการระบาดของไวรัสชนิดใหม่นี้
คำเตือนนี้มีขึ้นหลังการวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อจากหญิงชราวัย 73 ปีที่เสียชีวิตในเมืองหนานชาง มณฑลเจียงซี เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอักเสบรุนแรงและระบบหายใจล้มเหลว
ต่อมาในวันที่ 18 ธันวาคม ทางการจีนประกาศว่า หญิงผู้นี้เสียชีวิตจากไวรัสไข้หวัดนก H10N8
ผลการศึกษาที่รายงานไว้ในลานซิต เปิดเผยว่า พบผู้ติดเชื้อ H10N8 รายที่ 2 ในหนานชาง เช่นกัน เมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ทว่า ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมใดๆ
ผู้ป่วยทั้งสองรายนี้เป็นกรณีการติดเชื้อ H10N8 ในคนครั้งแรกๆ โดยก่อนหน้านี้พบไวรัสสายพันธุ์นี้ 2 ครั้งในจีน ครั้งแรกในตัวอย่างน้ำในทะเลสาบที่มณฑลหูหนานเมื่อปี 2007 ครั้งที่ 2 พบในสัตว์ปีกมีชีวิตในมณฑลกวางตุ้งปี 2012
อย่างไรก็ดี รายงานระบุว่า ไวรัสที่พบครั้งนี้มีความแตกต่างจากไวรัสเมื่อสองครั้งก่อน โดยส่วนสำคัญที่ผิดแผกไปคือการเรียงตำแหน่งทางพันธุกรรมกำลังเกิดการปรับเปลี่ยน สืบเนื่องจากไวรัสสายพันธุ์ H9N2 ซึ่งเป็นไวรัสไข้หวัดนกที่ระบาดในฮ่องกงปี 1999 และเป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์อันตราย H5N1 และ H7N9