นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว.เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 มกราคมนี้ ตนจะไปยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล พร้อมกับขอให้ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการไต่สวนฉุกเฉิน เนื่องจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ของรัฐบาลในวันที่ 22 มกราคม เป็นการกระทำที่เข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (4) ว่าด้วยการไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐ หรือบุคลากรของรัฐ เพื่อกระทำการใดซึ่งจะผลต่อการเลือกตั้ง และไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบของ กกต.กำหนด เพราะหลังจากประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะมีผลทำให้การชุมนุมของฝ่ายที่เห็นต่างกับรัฐบาล คือ กปปส.ต้องมีการยุติการชุมนุม หรือเลิกการวิพากษ์วิจารณ์ในพฤติกรรมของรัฐบาล หรือพรรคเพื่อไทย ที่อาจจะทำให้สังคมได้รับรู้ จะส่งผลกระทบให้ค่านิยมของพรรคเพื่อไทยลดลงในการเลือกตั้ง
นอกจากนั้น ในส่วนที่รัฐบาลเตรียมใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารรวมกันกว่า 12,000 นาย เพื่อดูแลการเลือกตั้ง ถือเป็นการใช้ทรัพยากรของรัฐ แม้จะไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้มีการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งกับรัฐบาลก็ตาม
นายไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เข่าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ที่ระบุว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ก่อการให้ผู้อื่นกระทำการที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และได้มาซึ่ง ส.ว. หรือระเบียบ หรือประกาศของ กกต.ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และถ้าการกระทำของบุคคลดังกล่าวมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็น แต่ไม่ได้ยับยั้งหรือแก้ไข ให้ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองที่ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 โดยกรณีของการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น เห็นชัดว่าคณะรัฐมนตรีที่ร่วมประชุมล้วนเป็นบรรดาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยทั้งสิ้น อาทิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรค เป็นต้น
นอกจากนั้น ในส่วนที่รัฐบาลเตรียมใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารรวมกันกว่า 12,000 นาย เพื่อดูแลการเลือกตั้ง ถือเป็นการใช้ทรัพยากรของรัฐ แม้จะไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้มีการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งกับรัฐบาลก็ตาม
นายไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เข่าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ที่ระบุว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ก่อการให้ผู้อื่นกระทำการที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และได้มาซึ่ง ส.ว. หรือระเบียบ หรือประกาศของ กกต.ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และถ้าการกระทำของบุคคลดังกล่าวมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็น แต่ไม่ได้ยับยั้งหรือแก้ไข ให้ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองที่ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 โดยกรณีของการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น เห็นชัดว่าคณะรัฐมนตรีที่ร่วมประชุมล้วนเป็นบรรดาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยทั้งสิ้น อาทิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรค เป็นต้น