ประชาชนชาวยูเครนผู้ต้องการบูรณาการกับโลกตะวันตกเกือบ 300,000 คน จัดการชุมนุมใหญ่อีกครั้งเมื่อวันอาทิตย์ (15 ธ.ค.) หลังสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศระงับการเจรจาข้อตกลงประวัติศาสตร์โดยกล่าวหาผู้นำเคียฟไม่จริงใจ นอกจากนี้ฝ่ายค้านยูเครนยังนัดชุมนุมใหญ่อีกรอบวันอังคาร (17) นี้ เพื่อกดดันประธานาธิบดี วิกตอร์ ยานูโควิช ที่มีกำหนดบินไปพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ไม่ให้ลงนามข้อตกลงสหภาพศุลกากรกับมอสโก ขณะที่ฝ่ายหมีขาวเองส่งสัญญาณว่ากำลังจะให้ทั้งเงินกู้และขายก๊าซราคาถูก เพื่อดึงยูเครนเอาไว้ในวงโคจรของตนต่อไป
ในวันอาทิตย์ (15) ชาวยูเครนเกือบ 300,000 คนหลั่งไหลสู่จัตุรัสเอกราช กลางเมืองหลวงเคียฟ ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นยะเยือก เพื่อกดดันเรียกร้องให้รัฐบาลหันหลังให้มอสโก และหันไปคบค้ากับอียูแทน
ผู้ประท้วงยังนัดชุมนุมใหญ่ในวันอังคาร ซึ่งประธานาธิบดี ยานูโควิช มีกำหนดพบปะกับ ปูติน ผู้นำรัสเซียที่มอสโกในวันนั้น เพื่อหารือเกี่ยวกับการที่ยูเครนจะเข้าร่วมในสหภาพศุลกากรกับรัสเซีย ด้วยข้อแลกเปลี่ยนที่จะสามารถปกป้องสถานะทางการเมืองของตนเอง ซึ่งฝ่ายค้านกล่าวหาว่า เป็นการทรยศชาติ
ทั้งนี้ คาดว่าระหว่างการเยือนของยานูโควิชคราวนี้ รัสเซียกับยูเครนจะลงนามข้อตกลงหลายฉบับ เป็นต้นว่า การขายก๊าซราคาถูกให้แก่ยูเครน ถึงแม้ เคียฟยังคงยืนยันว่า จะไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสหภาพศุลกากรแน่นอน
ตลอดระยะเวลา 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้คนนับหมื่นนับแสนคนออกมาชุมนุมบนท้องถนนในกรุงเคียฟและทางภาคตะวันตกของประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ที่นิยมฝ่ายตะวันตก ถือเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับจาก “การปฏิวัติสีส้ม” เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2004
นักวิเคราะห์มองว่า ไม่ว่าจะเลือกทางใด อดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตรายนี้ ก็จะต้องเผชิญความแตกแยก ระหว่างประชาชนกลุ่มที่พูดภาษายูเครนและต้องการรวมตัวกับโลกตะวันตก กับกลุ่มที่พูดภาษารัสเซียซึ่งโน้มเอียงนิยมมอสโก ทั้งนี้กลุ่มหลังนี้ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออกของยูเครน
ในวันอาทิตย์ (15) ชาวยูเครนเกือบ 300,000 คนหลั่งไหลสู่จัตุรัสเอกราช กลางเมืองหลวงเคียฟ ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นยะเยือก เพื่อกดดันเรียกร้องให้รัฐบาลหันหลังให้มอสโก และหันไปคบค้ากับอียูแทน
ผู้ประท้วงยังนัดชุมนุมใหญ่ในวันอังคาร ซึ่งประธานาธิบดี ยานูโควิช มีกำหนดพบปะกับ ปูติน ผู้นำรัสเซียที่มอสโกในวันนั้น เพื่อหารือเกี่ยวกับการที่ยูเครนจะเข้าร่วมในสหภาพศุลกากรกับรัสเซีย ด้วยข้อแลกเปลี่ยนที่จะสามารถปกป้องสถานะทางการเมืองของตนเอง ซึ่งฝ่ายค้านกล่าวหาว่า เป็นการทรยศชาติ
ทั้งนี้ คาดว่าระหว่างการเยือนของยานูโควิชคราวนี้ รัสเซียกับยูเครนจะลงนามข้อตกลงหลายฉบับ เป็นต้นว่า การขายก๊าซราคาถูกให้แก่ยูเครน ถึงแม้ เคียฟยังคงยืนยันว่า จะไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสหภาพศุลกากรแน่นอน
ตลอดระยะเวลา 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้คนนับหมื่นนับแสนคนออกมาชุมนุมบนท้องถนนในกรุงเคียฟและทางภาคตะวันตกของประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ที่นิยมฝ่ายตะวันตก ถือเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับจาก “การปฏิวัติสีส้ม” เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2004
นักวิเคราะห์มองว่า ไม่ว่าจะเลือกทางใด อดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตรายนี้ ก็จะต้องเผชิญความแตกแยก ระหว่างประชาชนกลุ่มที่พูดภาษายูเครนและต้องการรวมตัวกับโลกตะวันตก กับกลุ่มที่พูดภาษารัสเซียซึ่งโน้มเอียงนิยมมอสโก ทั้งนี้กลุ่มหลังนี้ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออกของยูเครน