สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นำเสนอผลวิจัย "โฉมหน้าและแนวทางสู่โมเดลใหม่ในการพัฒนาประเทศ" โดยจากการศึกษาพบว่า เศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงการขยายตัวมาประมาณ 15 ปีแล้ว ชี้ให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจบ่อยครั้งขึ้น และผลประโยชน์ของการขยายตัวตกแก่คนไทยน้อยลง ภาพรวมแล้วความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก ติดกับดักรายได้ปานกลาง ขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจสกปรกเพิ่มขึ้น วัดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อจีดีพี ผลวิจัยที่มีการเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลซีย จีน บราซิล ซึ่งพบว่าไทยตามหลังประเทศที่พัฒนาแล้วเกือบทุกปัจจัยในแง่มิติคุณภาพ คือ ด้านการศึกษาและการวิจัยและพัฒนา หรือ อาร์แอนดี ส่วนด้านปริมาณพบว่ามีปัญหาบางปัจจัย เช่น โครงสร้างพื้นฐาน รายจ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนา
ทั้งนี้ ทีดีอาร์ไอเสนอว่า การแก้ปัญหาโครงสร้างต้องดำเนินการหลายด้าน เช่น การจริงจังกับอาร์แอนดี ซึ่งงบประมาณของภาครัฐน้อยและสัดส่วนที่เอกชนให้ความสำคัญก็น้อยเช่นกัน ต้องปฏิรูปการศึกษาให้ถูกทาง โดยพบว่าที่ผ่านมาไทยไม่ประสบความสำเร็จ มีความเหลื่อมล้ำสูงและผลสอบนักเรียนไทยในทุกวิชาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียที่ประสบความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีกว่าไทย ขณะเดียวกัน ต้องเสริมทักษะแรงงาน การเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมสูงอายุ
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ไทยต้องปฏิรูปการคลังเพื่อสังคมและลดความเหลื่อมล้ำ โดยต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ดีว่าใครคือคนจน ซึ่งพบว่านโยบายประชานิยมไม่ได้แก้โจทย์ เรื่องนี้ต้องทบทวน เช่น นโยบายจำนำข้าว เกิดจากมายาคติ หรือความเชื่อว่าชาวนา คือ คนจน แต่ข้อเท็จจริงคือ ชาวนาเพียงครึ่งหนึ่งเป็นคนจน และเงินขาดทุนจำนำข้าวแต่ละปี 150,000 ล้านบาท ถึงมือคนจนเพียง 35,000 ล้านบาท ที่เหลือ 120,000 ล้านบาทไปยังกลุ่มข้าราชการ โรงสี ชาวนาที่ร่ำรวยและชาวนาต่างประเทศ และอื่นๆ ขณะที่หากนำงบส่วนนี้ไปช่วยลดความเหลื่อมล้ำก็จะช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
ทั้งนี้ ทีดีอาร์ไอเสนอว่า การแก้ปัญหาโครงสร้างต้องดำเนินการหลายด้าน เช่น การจริงจังกับอาร์แอนดี ซึ่งงบประมาณของภาครัฐน้อยและสัดส่วนที่เอกชนให้ความสำคัญก็น้อยเช่นกัน ต้องปฏิรูปการศึกษาให้ถูกทาง โดยพบว่าที่ผ่านมาไทยไม่ประสบความสำเร็จ มีความเหลื่อมล้ำสูงและผลสอบนักเรียนไทยในทุกวิชาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียที่ประสบความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีกว่าไทย ขณะเดียวกัน ต้องเสริมทักษะแรงงาน การเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมสูงอายุ
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ไทยต้องปฏิรูปการคลังเพื่อสังคมและลดความเหลื่อมล้ำ โดยต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ดีว่าใครคือคนจน ซึ่งพบว่านโยบายประชานิยมไม่ได้แก้โจทย์ เรื่องนี้ต้องทบทวน เช่น นโยบายจำนำข้าว เกิดจากมายาคติ หรือความเชื่อว่าชาวนา คือ คนจน แต่ข้อเท็จจริงคือ ชาวนาเพียงครึ่งหนึ่งเป็นคนจน และเงินขาดทุนจำนำข้าวแต่ละปี 150,000 ล้านบาท ถึงมือคนจนเพียง 35,000 ล้านบาท ที่เหลือ 120,000 ล้านบาทไปยังกลุ่มข้าราชการ โรงสี ชาวนาที่ร่ำรวยและชาวนาต่างประเทศ และอื่นๆ ขณะที่หากนำงบส่วนนี้ไปช่วยลดความเหลื่อมล้ำก็จะช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย