เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 3 (ก.ค.-ก.ย.)ปีนี้ มีอัตราเติบโตลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของช่วง 3 เดือนก่อนหน้า สืบเนื่องจากภาวะส่งออกชะลอตัวและการใช้จ่ายของผู้บริโภคซบเซาลง ส่งผลให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความขลังของ “อาเบะโนมิกส์”
เพิ่งจะตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้เอง ที่เศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยซึ่งเคยซีดเซียวกลับสามารถขยายตัวเกินหน้าพวกชาติสมาชิกกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมของโลก (จี 7) ด้วยกัน สืบเนื่องจากนโยบายของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ที่ฉุดค่าเงินเยนลงซึ่งกลายเป็นการส่งเสริมการส่งออก และผลักดันตลาดหุ้นวิ่งฉิว จนนโยบายของเขาได้รับการกล่าวขวัญและขนานนามว่า “อาเบะโนมิกส์”
ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความหวังต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น ทว่า ในวันพฤหัสบดี (14 พ.ย. ) ทางการแดนอาทิตย์อุทัยกลับแถลงว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 3 ของปีนี้ขยายตัวด้วยอัตรา 1.9% ต่อปี ลดฮวบจากระดับ 3.8% ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวถือว่าสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์จากผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่จัดทำโดยวอลล์สตรีท เจอร์นัล ซึ่งอยู่ที่ 1.7% และดัชนีนิกเกอิในวันพฤหัสบดีพุ่งขึ้น 2.12% จากแรงหนุนของการอ่อนตัวของเยน
หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว เศรษฐกิจญี่ปุ่นในรอบ ก.ค.- ก.ย. 2013 จะขยายตัวแค่ 0.5% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เพียงเล็กน้อย แต่ต่ำกว่าไตรมาส 2 ที่ขยายตัว 0.9%
เท่ากับว่าอัตราการเติบโตน่าประทับใจตลอดครึ่งแรกปีนี้ของญี่ปุ่นกำลังตกฮวบ จนกระทั่งตามหลังเศรษฐกิจอเมริกาที่มีอัตราขยายตัวต่อปีอยู่ที่ 2.8 % ในไตรมาส 3
ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์เคยเตือนว่า มาตรการส่งเสริมการเติบโตอย่างห้าวหาญแบบอาเบะโนมิกส์ อันประกอบด้วยแผนกระตุ้นการใช้จ่ายขนาดใหญ่ของรัฐบาลกับนโยบายผ่อนคลายทางการเงินจากธนาคารแห่งประเทศญี่ป่น (บีโอเจ) จะไม่เพียงพอฉุดดึงเศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยให้หลุดจากภาวะเงินฝืดที่ยืดเยื้อมานานปีได้ โดยที่ยังจะต้องมีการปฏิรูปเศรษฐกิจในด้านสำคัญๆ ตามที่รัฐบาลสัญญาไว้ ซึ่งรวมถึงการผ่อนคลายกฎหมายแรงงานเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการจ้างงาน และการลงนามทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศหรือกลุ่มต่างๆ
เพิ่งจะตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้เอง ที่เศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยซึ่งเคยซีดเซียวกลับสามารถขยายตัวเกินหน้าพวกชาติสมาชิกกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมของโลก (จี 7) ด้วยกัน สืบเนื่องจากนโยบายของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ที่ฉุดค่าเงินเยนลงซึ่งกลายเป็นการส่งเสริมการส่งออก และผลักดันตลาดหุ้นวิ่งฉิว จนนโยบายของเขาได้รับการกล่าวขวัญและขนานนามว่า “อาเบะโนมิกส์”
ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความหวังต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น ทว่า ในวันพฤหัสบดี (14 พ.ย. ) ทางการแดนอาทิตย์อุทัยกลับแถลงว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 3 ของปีนี้ขยายตัวด้วยอัตรา 1.9% ต่อปี ลดฮวบจากระดับ 3.8% ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวถือว่าสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์จากผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่จัดทำโดยวอลล์สตรีท เจอร์นัล ซึ่งอยู่ที่ 1.7% และดัชนีนิกเกอิในวันพฤหัสบดีพุ่งขึ้น 2.12% จากแรงหนุนของการอ่อนตัวของเยน
หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว เศรษฐกิจญี่ปุ่นในรอบ ก.ค.- ก.ย. 2013 จะขยายตัวแค่ 0.5% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์เพียงเล็กน้อย แต่ต่ำกว่าไตรมาส 2 ที่ขยายตัว 0.9%
เท่ากับว่าอัตราการเติบโตน่าประทับใจตลอดครึ่งแรกปีนี้ของญี่ปุ่นกำลังตกฮวบ จนกระทั่งตามหลังเศรษฐกิจอเมริกาที่มีอัตราขยายตัวต่อปีอยู่ที่ 2.8 % ในไตรมาส 3
ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์เคยเตือนว่า มาตรการส่งเสริมการเติบโตอย่างห้าวหาญแบบอาเบะโนมิกส์ อันประกอบด้วยแผนกระตุ้นการใช้จ่ายขนาดใหญ่ของรัฐบาลกับนโยบายผ่อนคลายทางการเงินจากธนาคารแห่งประเทศญี่ป่น (บีโอเจ) จะไม่เพียงพอฉุดดึงเศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยให้หลุดจากภาวะเงินฝืดที่ยืดเยื้อมานานปีได้ โดยที่ยังจะต้องมีการปฏิรูปเศรษฐกิจในด้านสำคัญๆ ตามที่รัฐบาลสัญญาไว้ ซึ่งรวมถึงการผ่อนคลายกฎหมายแรงงานเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการจ้างงาน และการลงนามทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศหรือกลุ่มต่างๆ